การสตรีมวิดีโอหน้าจอของคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนแบบไร้สายไปยังจอโทรทัศน์ หรือเครื่องโปรเจคเตอร์ เป็นเรื่องปกติของคนในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชมภาพยนตร์กันภายในครอบครัว หรือพรีเซนต์งานระหว่างการประชุม มันมีโอกาสที่เราจะต้องใช้การทำ Screencast หรือ Screen Mirroring กันบ้างแหละ
ถึงแม้ว่า 2 เทคโนโลยีนี้จะมีรูปแบบ และวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน แต่มันก็มีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันพอสมควร ในบทความนี้เราก็เลยอยากจะมาอธิบายว่ามันใช้งานต่างกันอย่างไร ?
Screencast เป็นการแบ่งปันหน้าจอจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ โดยอาจจะเป็นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยสัญญาณภาพ และเสียง จะถูกส่งผ่านไปยังหน้าจออื่นแบบไร้สาย หรือมีสายก็ได้ ผ่านเครือข่าย ไวไฟ (Wi-Fi) หรือแลน (Ethernet)
โดยหน้าจอที่เป็นตัวรับสัญญาณส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน้าจอโทรทัศน์ หรือไม่ก็เครื่องโปรเจคเตอร์ หลังจากที่มันได้รับสัญญาณจากการ Screencast เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถควบคุม หรือจัดการกับเนื้อหา ที่ตัวรับสัญญาณได้เลย
ตัวอย่างเช่น คุณทำ Screencast จากโน้ตบุ๊กของคุณส่งพรีเซนเทชันไปยังจอโทรทัศน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างนั้นมีคนทัก Telegram คุณมา คุณก็สามารถตอบกลับข้อความ หรือใช้งานอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่น ๆ ได้ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพที่ปรากฏบนหน้าจอของผู้รับเลย ทางด้านผู้รับก็สามารถใช้อุปกรณ์ของตนเองในการหยุด หรือเลื่อนหน้าของพรีเซนเทชันได้อย่างอิสระ
Screencast เป็นคุณสมบัติที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำงานร่วมกันจากระยะไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักมีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งปันหน้าจอกันเป็นประจำ ในการทำ Screencast ก็จะมีสิ่งที่จำเป็นดังต่อไปนี้
ภาพจาก : https://www.airsquirrels.com/ditto/resources/the-ultimate-screen-mirroring-guide
Screen mirroring หรืออาจจะรู้จักกันในชื่ออื่นอย่าง Display Mirroring หรือ Wireless Display ในระบบปฏิบัติการ Windows 11 มันเป็นคุณสมบัติที่ช่วยสะท้อนหน้าจอ (Mirror หรือ Duplicate) ของอุปกรณ์ทั้งหมด ไปยังหน้าจอของอุปกรณ์ตัวอื่น โดยจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer (P2P) นิยมทำผ่านเครือข่ายไร้สาย ที่น่าจะรู้จักกันดีก็อย่างเช่น Miracast หรือ AirPlay
เมื่อเราสั่งให้ทำ Screen Mirroring ทุกอย่างบนหน้าจอ จะปรากฏบนหน้าจอผู้รับ โดยการแสดงผลทั้งหมดจะเหมือนกันทุกประการ อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมสื่อบนหน้าจอจะทำได้เฉพาะจากฝั่งของโฮสต์ที่เป็นผู้ส่งเท่านั้น ทางผู้รับจะทำได้แค่รับชมเพียงอย่างเดียว
หากไม่มีเครือข่าย มันก็อาจจะเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้งาน Screencast ได้ แต่ Screen Mirroring นั้นเป็นการทำงานแบบ P2P ระหว่างอุปกรณ์โดยตรง จึงมีข้อจำกัดในการใช้งานน้อยกว่า
ไม่ว่าจะเป็น Screencast หรือ Screen Mirroring ต่างก็มีข้อดี และข้อเสียทั้งคู่ การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความเหมาะสมของอุปกรณ์
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |