เราเตอร์อินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบ Dual Band กันหมดแล้ว ส่วนแบบ Single Band นี่ไม่เห็นมีวางจำหน่ายแล้วนะ เราเตอร์แบบ Dual Band หมายถึง เราเตอร์ที่รองรับการปล่อยสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุทั้งคลื่น คลื่นวิทยุ 2.4 GHz และก็ 5 GHz เป็นต้น
หากลองสังเกตดูง่าย ๆ เวลาที่เราติดตั้งอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว เมื่อเลือกเชื่อมต่อผ่านระบบสัญญาณ Wi-Fi จะมี 2 ตัวเลือก ส่วนใหญ่ก็จะตั้ง SSID (Service Set Identifier) ให้ลงท้ายด้วยย่านความถี่ เช่น THAIWARE_2.4GHz กับ THAIWARE_5GHz ซึ่งเวลาใช้งานเราสามารถเลือกเชื่อมต่อไปยัง SSID ตัวไหนก็ได้
ส่วน Wi-Fi 6 GHz ที่ถูกใช้ในมาตรฐาน Wi-Fi 6E เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดที่เพิ่งมา และเริ่มใช้งานในบางประเทศ สำหรับในประเทศไทย Wi-Fi 6 GHz อาจจะยังมาไม่ถึง แต่ก็ใกล้แล้วล่ะ เห็นข่าวว่าทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังพิจารณาประเมินกฏเกณฑ์ข้อบังคับในการเปิดอนุญาตให้ใช้งานอยู่ อาจจะได้เห็นในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ในบทความนี้จึงขออนุญาตไม่กล่าวถึง Wi-Fi 6 GHz มากนัก
คำถามที่หลายคนน่าจะสงสัย คือ แล้วทั้งคู่เหมือนกันหรือเปล่า ? ถ้าไม่เหมือน มันแตกต่างกันอย่างไร ?แล้วควรเลือกเชื่อมต่อไปที่ย่านความถี่ไหน ? ถึงจะได้การเชื่อมต่อที่ดีที่สุด บทความนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน ...
ปัจจุบันนี้ Wi-Fi จะทำงานอยู่บนคลื่นวิทยุอยู่ 3 ย่านความถี่ คือ 2.4 GHz, 5 GHz และ 6 GHz (อย่าสับสนระหว่างย่านความถี่กับ มาตรฐาน Wi-Fi นะครับ)
Wi-Fi 2.4 GHz | Wi-Fi 5 GHz | Wi-Fi 6 GHz |
จุดเด่น
จุดอ่อน
ความเร็วสูงสุด
ระยะส่งสัญญาณไกลสุด
| จุดเด่น
จุดอ่อน
ความเร็วสูงสุด
ระยะส่งสัญญาณไกลสุด
| จุดเด่น
จุดอ่อน
ความเร็วสูงสุด
ระยะส่งสัญญาณไกลสุด
|
จากตารางด้านบน เราก็จะเห็นธรรมชาติการทำงาานของคลื่น Wi-Fi แต่ละย่านความถี่แล้ว โดย Wi-Fi 2.4 GHz จะเดินทางไปได้ระยะไกลที่สุด ครอบคลุมพื้นที่กว้างสุด แต่ก็มีข้อเสียตรงที่มีความเร็วต่ำสุดเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพวกอุปกรณ์ประเภทอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things - IoT) ส่วนใหญ่ก็จะรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi แค่มาตรฐานเดียว คือ มาตรฐาน 2.4 GHz ด้วยเหตุผลที่มันรัศมีการทำงานกว้างทะลุทะลวงผนังต่าง ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงมากอยู่แล้ว
ดังนั้น เราก็พอจะสรุปการทำงานได้ดังนี้ ...
หากอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ไม่ได้อยู่ไกลจากเราเตอร์มากนัก ไม่ได้มีการโยกย้ายตำแหน่งใช้งานบ่อย ๆ คลื่นความถี่ 5 GHz เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะได้ความเร็วในการทำงานที่มากกว่า และหากกิจกรรมที่คุณทำต้องการแบนด์วิธค่อนข้างสูง อย่างการเล่นเกมออนไลน์, ดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่, รับชมสตรีมมิ่งต่าง ๆ การหาตำแหน่งที่ใกล้เราเตอร์ และใช้คลื่น ความถี่ 5 GHz จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีที่สุด (แต่ถ้าทำได้ก็เลือกใช้สาย LAN เถอะ)
ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์ที่ไม่ค่อยอยู่กับที่ มีการพกพาไปใช้ระหว่างเดินไปเดินมาตลอดเวลา (เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต) การใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz ก็จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า เพราะความครอบคลุม และอำนาจในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางที่สูง จะทำให้คุณใช้งานระหว่างเดินไปเดินมาได้อย่างไม่มีสะดุด หรือหากอุปกรณ์อยู่ไกลจากเราเตอร์ค่อนข้างมาก คลื่นความถี่ 2.4 GHz ก็จะมีสัญญาณที่คุณภาพดีกว่า แม้ความเร็วจะน้อยกว่าก็ตาม
Wi-Fi 6 GHz ที่ มาตรฐาน Wi-Fi 6E ใช้ในการทำงาน ออกแบบมาให้มีชาแนล และแบนด์วิดขนาดใหญ่ ทำให้รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม คลื่นความถี่ Wi-Fi 6 GHz นั้นแม้จะมีความเร็วสูง แต่ก็เร็วเท่ากับ Wi-Fi 5 GHz อยู่ดี แถมยังมีระยะการทำงานที่ใกล้มากอีกด้วย มันจึงเหมาะกับการใช้ภายในพื้นที่จำกัดมากกว่า
ถ้าตอนซื้อจำไม่ได้ว่า ซื้อเราเตอร์ที่มีสเปกแบบไหนมา กล่องก็หายไปแล้ว เราสามารถตรวจสอบคลื่นความถี่ ที่เราเตอร์ตัวนั้นสามารถรองรับได้ง่าย ๆ ด้วยการเข้าไปที่หน้าตั้งค่าของเราเตอร์ (ปกติก็จะเข้าผ่านเว็บเบราว์เซอร์ที่ https://192.168.1.1/ ลองตรวจสอบที่สติกเกอร์บนเราเตอร์ดูอีกที)
สังเกตตรงที่ให้ตั้งค่า Wi-Fi จะมีให้กำหนดค่า SSID ของแต่ละคลื่นความถี่อยู่ครับ ในภาพ คือ รองรับแค่ Wi-Fi 2.4 GHz และ 5 GHz
ไหน ๆ ก็ไหน ๆแล้ว เมื่อพูดเรื่องความถี่แล้วก็ขออนุญาตพาดพิงไปถึง มาตรฐานของ Wi-Fi อีกสักเล็กน้อย เพื่อเป็นการทิ้งท้าย
มาตรฐานของ Wi-Fi ที่ใช้งานในปัจจุบัน จะทำงานอยู่บนความถี่ทั้ง 3 คลื่นที่เรากล่าวไว้ข้างต้นนี่แหละ ชื่อมาตรฐาน Wi-Fi แต่ก่อนก็จะเรียกด้วยชื่อ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เช่น 802.11n, 802.11ac Wave 2, 802.11ax ฯลฯ อะไรประมาณนี้
แต่ว่าในปัจจุบัน เพื่อให้คนปกติอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ทางกลุ่มผู้ดูแลมาตรฐาน Wi-Fi Alliance ก็เลยเปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว รายละเอียดก็จะเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้ครับ
IEEE | 802.11n | 802.11ac Wave 2 | 802.11ax | |
ชื่อ | (Wi-Fi 4) | (Wi-Fi 5) | (Wi-Fi 6) | (Wi-Fi 6E) |
เปิดตัว (ค.ศ.) | 2009 | 2013 | 2019 | 2020 |
ความถี่ | 2.4 GHz & 5 GHz | 5 GHz | 2.4 GHz & 5 GHz | 6 GHz |
Channel Bandwidth | 20MHz, 40MHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz, 80+80MHz & 160MHz | 20MHz/40MHz @2.4 GHz, 80MHz, | 20MHz, 40MHz, 80MHz,80+80MHz & 160MHz @6 GHz |
FFT Sizes | 64, 128 | 64, 128, 256, 512 | 64, 128, 256, 512, 1024, 2048 | |
Subcarrier Spacing | 312.5kHz | 312.5kHz | 78.125 kHz | |
Highest Modulation | 64-QAM | 256-QAM | 1024-QAM | |
Data Rates | 9.02Mb/s | 3.5Gb/s | 9.6Gb/s (1.5Gb/s ต่ออุปกรณ์) | 9.6Gb/s (2.3Gb/s ต่ออุปกรณ์) |
SU/MU-MIMO-OFDM/A | SU-MIMO-OFDM | SU-MIMO-OFDM | MU-MIMO-OFDMA |
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 2
12 มีนาคม 2564 19:13:33
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
GUEST |
ไอ้ซ็กม็กแอบจิต
ขอบคุณมากครับมีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะเลยในพอมีพอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 1
20 มีนาคม 2563 17:18:49
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากเลยครับ ^_^
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||