ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

DHCP คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย

DHCP คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/computer-technology-isometric-icon-server-room-digital-device-set-element-design-pc-laptop_4103157.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 8,972
เขียนโดย :
0 DHCP+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

DHCP ในเครือข่ายคืออะไร ?

ระบบโฮสต์บนเครือข่ายใดก็ตาม จะสามารถกำหนดค่าของ หมายเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) แบบแมนนวล หรือจะเป็นแบบอัตโนมัติ (Dynamic) ก็ได้ อย่างในบ้านคนธรรมดาก็จะมักจะเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ 2-3 เครื่อง การจะกำหนดค่า IP Address แบบแมนนวลด้วยตนเองก็คงไม่ใช่เรื่องยาก 

บทความเกี่ยวกับ Network อื่นๆ

แต่หากเป็นระบบเครือข่ายของบริษัทที่มีคอมพิวเตอร์หลายร้อยเครื่อง ถ้าต้องมากำหนดค่า IP Address แบบแมนนวลด้วยตัวเองทุกเครื่อง มันก็เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายของผู้ดูแลระบบ (Administrator) เลยก็ว่าได้ หรือต่อให้คุณมีความถึกที่จะทำมัน แต่ว่า IP Address ของแต่ละเครื่องนั้นห้ามซ้ำกันแม้แต่เครื่องเดียว ซึ่งมนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เมื่องานมีปริมาณมาก เราก็มีโอกาสจะทำพลาดได้เสมอ ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ "Dynamic Host Configuration Protocol" หรือ "DHCP" นั่นเอง

โดยเนื้อหา ในบทความนี้ เราก็อยากจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับการทำงานของ DHCP กันให้มากขึ้น ส่วนมันจะเป็นอย่างไรนั้น มาดูกันเลย ...

เนื้อหาภายในบทความ

DHCP คืออะไร ? (What is DHCP ?)

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) เป็นระบบบริหาร โปรโตคอล (Protocol) ของเครือข่ายที่ใช้ในการกำหนด IP Address แบบไดนามิค (Dynamically) ให้กับอุปกรณ์ หรือโหนด (Node) ใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อให้มันสามารถสื่อสารหากันได้ผ่านระบบ IP

โดย DHCP นั้นเป็นศูนย์รวมการจัดการ IP Address และจะทำงานแบบอัตโนมัติ โดยระบบ DHCP สามารถนำไปใช้ได้ตั้งเครือข่ายขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ระดับองค์กร

DHCP จะคอยกำหนดค่า IP Address ใหม่ให้กับทุกตำแหน่งเมื่ออุปกรณ์มีการย้ายตำแหน่งจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่จำเป็นต้องมาตั้งค่า IP Address ที่ยังว่างอยู่ให้กับอุปกรณ์ใหม่ทุกครั้ง เมื่อมีการย้ายตำแหน่ง เพื่อป้องกันปัญหา IP Address ชนกัน

ในปัจจุบันนี้ DHCP รองรับการใช้งานทั้งกับ IP เวอร์ชัน (IPv4) และ IP เวอร์ชัน 6 (IPv6) ซึ่ง IPv6 ได้เริ่มเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม หลังจาก IPv4 ถูกใช้มาหลายสิบปีจนเลข IP กำลังจะหมดไป แม้ว่าการปรับเปลี่ยนมาใช้ IPv6 จะเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่จากการเก็บสถิติของ Google ในปัจจุบันนี้ IPv6 ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีการใช้งานสูงถึง 43% แล้ว

DHCP คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย

DHCP ทำงานอย่างไร ? (How does DHCP work ?)

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) จะทำงานอยู่ใน แอปพลิเคชันเลเยอร์ (Application Layer) ของ TCP/IP คอยทำหน้านี่กำหนด IP Address และจัดสรรการตั้งค่า TCP/IP ให้กับอุปกรณ์ที่เป็น DHCP Client ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลจำพวก Subnet Mask, ค่าเริ่มต้นของ Gateway IP Address และ DNS Address ด้วยเช่นกัน

DHCP คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
ภาพจาก : https://networkingforbeginners.weebly.com/blog/the-application-layer-in-detail

เราสามารถกล่าวได้ว่า DHCP เป็นเหมือนเซิร์ฟเวอร์ที่รวบรวมค่า Unique IP Address และข้อมูลการตั้งค่าต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อ Client เอาไว้ เพื่อคอยแจกจ่ายค่าไปยังอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระบบเครือข่าย โดยเมื่ออุปกรณ์ Client ที่รองรับ DHCP เชื่อมต่อเข้าไปยังระบบเครือข่าย มันจะส่งคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์ DHCP เพื่อรับค่ากลับมา

ในจุดนี้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดระยะเวลาในการใช้ IP Address ได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการทำ "Lease" ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว อุปกรณ์จะต้องส่งคำร้องมาขอ IP Address ใหม่อีกครั้งเพื่อต่ออายุการเชื่อมต่อ ในการรีเฟรชการเชื่อมต่อที่ว่านี้ ข้อมูลคำร้องจะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ทางเซิร์ฟเวอร์ DHCP อาจจะส่ง IP Address เป็นหมายเลขใหม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกฏข้อบังคับที่ผู้ดูแลสร้างเอาไว้

DHCP คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
ภาพจาก : http://srisailamsps.blogspot.com/2016/12/dhcp.html

ภายในเซิร์ฟเวอร์จะบันทึกค่า IP Address ทั้งหมดที่ถูกจัดสรรเอาไว้ให้แก่ทุก Node ถ้าหาก Node ใดก็ตามมีการเปลี่ยนตำแหน่ง เซิร์ฟเวอร์ก็จะรับรู้ได้ด้วยการตรวจสอบจากค่า Media Access Control (MAC) address เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา IP Address ชนกัน

อย่างไรก็ตาม DHCP ไม่ใช่โปรโตคอลที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ หรือมีความปลอดภัยสูง และมันก็มีข้อจำกัดด้านการใช้งานตรงที่ใช้งานแค่ภายใน Local area network ที่กำหนดเท่านั้น ก็คือ 1 เซิร์ฟเวอร์ DHCP ต่อ 1 วง LAN หรืออาจจะมี 2 เซิร์ฟเวอร์ต่อ 1 วง LAN ก็ได้ สำรองเผื่อไว้ในกรณีที่มีเซิร์ฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งล่ม

ในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ Wide area network (WAN) ที่ภายในระบบมีหลายวง LAN ก็เลยจำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ DHCP หลายตัวเพื่อใช้ทำงานร่วมกัน

ส่วนสาเหตุที่เราบอกว่า DHCP ไม่ปลอดภัย ก็เพราะว่าในกระบวนการที่ Client กับเซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่อหากันนั้น จะไม่มีขั้นตอนการตรวจสอบยืนยันตัวตนเลย ทำให้มีโอกาสที่จะถูกแฮกเกอร์แฝงตัวเข้ามาอยู่บนเครือข่ายได้ง่าย ๆ

องค์ประกอบหลักของ DHCP (DHCP Main Components)

ในระบบการทำงานของ DHCP นั้นจะมีองค์ประกอบในการทำงานอยู่หลายส่วน แต่ว่าหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย

  • DHCP Server : อาจจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ หรือเราเตอร์ เป็นที่เก็บเลข IP Address และข้อมูลการตั้งค่าในการเชื่อมต่อ
  • DHCP Client : หมายถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ DHCP เช่น คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น
  • DHCP Relay : จะถูกใช้ในกรณีที่ต้องการจัดการเครือข่ายที่มีความซับซ้อน หรือแยกประเภทของเครือข่าย

องค์ประกอบหลักของ DHCP (DHCP Main Components)
ภาพจาก : https://timigate.com/2018/08/configure-cisco-dhcp-relay-agents-using-packet-tracer-in-two-minutes.html

นอกจากนี้ ยังอาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานของ DHCP ที่ใช้ เช่น IP Address Pool, Subnet, Lease, Renewal, Gateway Address ฯลฯ

ข้อดี และข้อสังเกตของ DHCP (DHCP Pros and Cons)

ข้อดี

  • รวมศูนย์การจัดการ IP Address
  • ตั้งค่า TCP/IP แบบอัตโนมัติ
  • ง่ายต่อการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่เข้ามาในเครือข่าย
  • ใช้ IP Address อย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า
  • ทำให้การสลับ IP Address ที่เกิดขึ้นบ่อย เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
  • ตั้งค่าง่าย ไม่ซับซ้อน
  • ช่วยให้ผู้ดูแลจัดการเครือข่ายได้จากศูนย์กลางอย่างง่ายดาย

ข้อสังเกต

  • อาจเกิดปัญหาที่ขัดแย้งกันในการจัดการ IP Address ได้ เพราะ Client สามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ไหนก็ได้ หากไปเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ใกล้เคียง ตัว Client อาจได้รับการตั้งค่าที่ผิดพลาดได้
  • Client ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ หากเซิร์ฟเวอร์มีปัญหา
  • ชื่ออุปกรณ์ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แม้จะเปลี่ยน IP Address แล้วก็ตาม

 


ที่มา : www.techtarget.com , www.geeksforgeeks.org , afteracademy.com

0 DHCP+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
17 กันยายน 2566 20:01:57
Profile Pictureสมาชิก : Member
Comment Bubble Triangle
ขอบคุณครับ