คำว่า Grayware (หรือ Greyware) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูชาวไทยเรากันมากนัก นิยามของตัวมันเองอาจไม่ใช่มัลแวร์ (Malware) โดยตรง โดยคำว่า Grayware จะใช้เมื่อเราเอ่ยถึงกลุ่มซอฟต์แวร์ที่อยู่ระหว่างความเป็นมัลแวร์ กับซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย คือพฤติกรรมของมันอาจไม่ได้อันตรายถึงขึ้นที่จะเป็นมัลแวร์ แต่มันก็สามารถสร้างความรำคาญ หรือทำอะไรบางอย่างที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการ แม้แต่ ซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนโฆษณา (Adware) หรือ ซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็น (Bloatware) อะไรพวกนี้ ก็สามารถนับเป็น Grayware ได้เช่นกัน
ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึง Grayware ให้เข้าใจมากขึ้นกัน
อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า Grayware ตัวมันเองนั้นอาจไม่ใช่มัลแวร์โดยตรง แต่ในเมื่อสุดท้ายแล้วมันก็ยังถูกนับว่าเป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่ง แล้วเราจะจำแนกมันได้อย่างไร ?
ด้วยความที่จำนวนซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันที่มีความสามารถในการสร้างความน่ารำคาญเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ คำว่า Grayware จึงเริ่มถูกนำมาใช้เมื่อผู้ใช้ต้องการกล่าวถึงซอฟต์แวร์ที่ "สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้" แต่ "ไม่ได้ทำอันตรายแก่ผู้ใช้" ซึ่งมันก็มีอยู่หลายประเภทมาก ๆ เช่น Adware, Bloatware หรือแม้แต่พวกแอปแกล้งคน อย่างไรก็ตาม Grayware สามารถบ่อเกิดอันตรายได้ในทางอ้อม เพราะมันมักจะมีช่องโหว่ให้มัลแวร์อย่าง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) และ ม้าโทรจัน (Trojan Horse) ใช้โจมตีเข้ามาได้
จากรายงานของ Symantec ในปี ค. ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ได้ระบุว่า มีจำนวน Grayware เพิ่มสูงขึ้นถึง 20% ซึ่งจากจำนวนทั้งหมด 3,655 ตัว ที่ได้รับการสำรวจพบว่า
เนื่องจาก Grayware เป็นเหมือนคำที่ใช้เรียกกลุ่มของแอปพลิเคชันที่สร้างความรำคาญ หรือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง มันจึงไม่มีที่มาที่ไปแน่ชัดว่าใครสร้างเป็นคนแรก หรือซอฟต์แวร์ตัวไหนที่ถูกเรียกว่าเป็น Grayware ตัวแรก
อย่างไรก็ตาม คำว่า Grayware เท่าที่พบหลักฐาน นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นเดือนกันยายนในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) เมื่อพูดถึงซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์ (Potentially unwanted programs (PUPs))
การแบ่งประเภทของ Grayware จะมีความคลุมเครืออยู่บ้าง เพราะมันเป็นชื่อกลุ่มของมัลแวร์หลายตัว ดังนั้น เราจะแบ่งโดยยกมาเฉพาะซอฟต์แวร์ที่จัดเป็น PUPs เท่านั้น
เป้าหมายของ Adware คือการสร้างรายได้จากการโฆษณาโดยเฉพาะ ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งตัว Adware เองก็มีทั้งแบบที่ไม่เก็บข้อมูลของผู้ใช้ และแบบที่เก็บข้อมูลส่งไปยัง 3rd-Party
การทำงานของ Adware นั้นมักจะพยายามแสดงหน้าต่างโฆษณามากวนใจผู้ใช้ นอกจากนี้ ยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรเครื่อง, แบตเตอรี่ และโควต้าอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
ภาพจาก https://sosafe-awareness.com/glossary/adware/
มันก็คือ Adware แต่ถูกพัฒนามาเพื่อทำงานบนสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่มักพบได้ในแอปพลิเคชันฟรี ที่พึ่งพารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก คุณสมบัติของ Madware ส่วนใหญ่จะมีดังนี้
เป้าหมายของ Trackware คือตามชื่อของมันเลย มันพัฒนาขึ้นมาติดตาม และบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณทำผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน โดยจะเก็บเพื่อส่งไปยัง บุคคลที่สาม (3rd-Party) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการทำการตลาดแบบดิจิทัล ทั้งนี้ พวก Trackware มักจะเก็บข้อมูลโดยไม่ขออนุญาต หรือไม่ก็ขอแบบคลุมเครือเพื่อสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้
ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมมาให้ นอกเหนือจากที่ค่าเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการมีให้ อาจจะเป็นซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตเอง หรือเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นพันธมิตร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีความจำเป็นต่อผู้ใช้เลย เราเรียกซอฟต์แวร์หรือ แอปพลิเคชันเหล่านี้ว่า Bloatware
ซึ่ง Bloatware ส่วนใหญ่จะไม่มีอันตรายต่อระบบคอมพิวเตอร์ แต่มันสามารถทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณช้าลงได้ และยังเปลืองพื้นที่เก็บข้อมูลที่อยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) ของคุณอีกด้วย นอกจากนี้ Bloatware ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์แบบทดลองใช้ ที่จะขยันส่งแจ้งเตือนมาให้เราจ่ายเงินแทบทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ถือเป็น Spyware ตัวแรก ๆ ของโลก ปรากฏขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) มันถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Claria Corporation เพื่อใช้เก็บเกี่ยวข้อมูลผู้ใช้ออนไลน์ จากนั้นจะยิงโฆษณามาถล่มผู้ใช้ทั่วโลก
นี่เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอดส่องชีวิตคู่ ว่าคู่ชีวิตของคุณนอกใจหรือไม่ เล่นชู้หรือเปล่า หรือใช้แอบติดตามสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการกระทำของมันค่อนข้างล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวของคนที่ออนไลน์อยู่ในยุค Y2K
แพร่ระบาดในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) มันจะจารกรรมการทำงานของตัวเว็บเบราว์เซอร์ให้เปิดหน้าผลลัพธ์การค้นหา และข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อพาผู้ใช้ไปหน้าโฆษณาเพื่อสร้างรายได้ มีเหยื่อหลายล้านคนทั่วโลก
ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) บริษัท Gamma Internatial ได้พัฒนาสปายแวร์ระดับเทพขึ้นมา เพื่อขายให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฏหมาย และหน่วยงานของรัฐ มันมีเป้าหมายเพื่อจับตามองอุปกรณ์ของประชาชน โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง
Rafotech เป็นบริษัทที่ทำการการตลาดดิจิทัลในประเทศจีน ที่พัฒนา มัลแวร์ Fireball ขึ้นมา มันจะเปลี่ยนเว็บเบราว์เซอร์ให้กลายเป็นเครื่องปั๊มยอดชมโฆษณา มีการประมาณการเอาไว้ว่า มีคอมพิวเตอร์มากถึง 250,000,000 เครื่องทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบ และมันก็ส่งผลให้การจราจรของอินเทอร์เน็ตได้เป็นอัมพาตไปบางส่วนเลยทีเดียว
มาดูอะไรที่ใกล้ตัวกันบ้าง เพราะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในบ้านเราหลายคน ถูกรัฐบาลใช้มัลแวร์ตัวนี้ในการแอบจับตาประชาชนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม มันมีชื่อว่า Pegasus พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท NSO Group มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยบริษัทอ้างว่า เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจจับผู้ค้ายาเสพติด แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีใครรู้ว่ารัฐบาลเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง และปัจจุบันนี้มันก็ยังมีขาย และถูกใช้อยู่
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |