ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/e-book-layout-design-draft-graphic_16462129.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,181
เขียนโดย :
0 7+%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A+%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C+%28Content+Marketer%29
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ทักษะที่จำเป็นสำหรับ Content Marketing ยุคใหม่

ในอดีต หากผู้ที่เป็นนักทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ (Content Marketer) และมีความต้องการ ในการทำคอนเทนต์ (Content) ให้ปังประสบความสำเร็จได้ ส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยการทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลลงไป ตราบใดที่บริษัทสามารถผลิตคอนเทนต์ที่คุณภาพดีออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ โอกาสที่ลูกค้าจะมองเห็น เปลี่ยนจากผู้ชมมาเป็นผู้ซื้อก็มากขึ้นไปโดยปริยาย

บทความเกี่ยวกับ Marketing อื่นๆ

แต่สำหรับการทำคอนเทนต์ในยุคนี้ ได้มี เทคโนโลยี AI เข้ามาทลายกำแพงดังกล่าว หรืออย่างน้อยกำแพงก็บางลงกว่าเดิมเยอะ เพราะ AI ได้ช่วยให้การผลิตคอนเทนต์ง่ายขึ้น และใช้เงินทุนลดลง

ผลก็คือการทำ Content Marketing ยุคนี้ไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งง่าย ๆ ด้วย "จำนวน" ได้อีกต่อไป

นั่นหมายความว่าการทำคอนเทนต์ในตอนนี้ Content Marketing จะต้องเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้พัฒนาคอนเทนต์ให้เกิดความแตกต่าง และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น มาอ่านกันดีกว่ามัทักษะอะไรที่น่าสนใจบ้าง ? ที่ Content Marketing ในยุคนี้ควรทำได้

1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)

ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณเทคโนโลยี Artifact intelligence (AI) ที่ส่งผลให้ปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือที่ Content Marketing สามารถเลือกใช้งานได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

เครื่องมือเหล่านี้ก็เป็นเหมือนอาวุธสำหรับใช้ต่อสู้กับศัตรู Content Marketing จำเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ สามารถใช้เครื่องมือใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นนั้นแล้วคุณอาจจะตามคู่แข่งไม่ทัน ลองนึกภาพว่าคุณยังคงใช้ดาบเป็นอาวุธ แต่ศัตรูของคุณเปลี่ยนไปใช้ปืนไรเฟิลกันหมดแล้วดูสิ 

การตลาดในยุคนี้หมุนเร็วมาก แผนยุทธศาสตร์ (Marketing Strategy) ที่คุณเตรียมไว้เมื่อไม่กี่เดือนก่อน อาจไม่สามารถทำงานได้ดีในวันนี้ ก็เป็นหน้าที่ของ Content Marketing ที่ต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ตัวอย่างที่น่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนคือ ในอดีต Content Marketing มักจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อทำ SEO (Search Engine Optimization) แต่ในปัจจุบันนี้ เป้าหมายหลักได้เปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับการปั้นแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย หรือวิดีโอสั้นแทน

แล้วเราจะฝึกความสามารถในการปรับตัวได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นเราต้องสามารถวิเคราะห์แนวโน้มคอนเทนต์ที่เป็นกระแสได้ และรู้ว่าจะแยกแยะเนื้อหาหลัก ออกจากเนื้อหาที่ไม่จำเป็นออกได้อย่างไร ?

หมั่นสนทนากับผู้อื่นในที่ประชุม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ว่าพวกเขาใช้เครื่องมือใหม่ตัวไหนบ้าง ? และนำไปประยุกต์ใช้งานกันอย่างไร ?

นอกจากนี้ อย่ากลัว หรือขี้เกียจที่จะมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ มาทดลองใช้งานด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

2. ความเชี่ยวชาญ ในการป้อนข้อมูลให้ AI (AI Prompt Proficiency)

มีเครื่องมือ AI หลายตัวที่มาไวไปไว แต่ AI อย่าง ChatGPT ดูเหมือนจะผ่านการพิสูจน์ตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ว่าความสามารถในการตอบคำถาม และการสร้างเนื้อหาของมัน ดีพอที่จะช่วยให้นัก Content Marketing ทำงานได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน AI อย่าง ChatGPU, Microsoft Copilot, Copy.ai, Google Bard ฯลฯ ให้สร้างเนื้อหาออกมาได้ดีนั้น ผู้ใช้ก็ต้องรู้จักวิธีการป้อน Prompt ที่ดีด้วย

ผู้ใช้ทั่วไปสามารถป้อน Prompt ที่ให้คำตอบถูกต้องแม่นยำได้ก็จริง แต่หากคุณชำนาญ รู้หลักการกำหนดค่าลงใน Prompt ด้วย คุณจะสามารถสั่งให้ AI สร้างคำตอบที่มีมุมมองในแบบของคุณเอง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการป้อน Prompt แบบผู้ใช้ทั่วไป

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)

และนี่คือการป้อน Prompt ในแบบที่เพิ่มความเจาะจงให้คำตอบมากขึ้น

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)

จะสังเกตเห็นได้ว่า พอเรากำหนดรูปแบบ และทิศทางลงไปใน Prompt ด้วย คุณภาพของคำตอบก็จะมีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

3. การวิเคราะห์ผู้เข้าชม (Audience Research)

สำหรับนัก Content Marketer ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ KPIs อย่างค่าจำนวนผู้เข้าชม (Traffic) และการมีส่วนร่วม (Engagement) เป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว 2 ค่านี้ ไม่ใช่ค่าที่ดีที่สุดเสมอไปสำหรับใช้วัดความสำเร็จ เนื่องจากค่าเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าแนวทางที่คุณคิดสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้หรือเปล่า ?

ถึงแม้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณไม่ได้เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการของบริษัทเลยก็ตาม แต่มันก็ดีกว่าหากคุณจะพิจารณาว่าใครเป็นลูกค้าที่คุณสามารถดึงดูดให้มาเสียเงินได้ในอนาคตด้วย

ดังนั้น การทำวิจัยสำรวจข้อมูลลูกค้าด้วยข้อมูลคำถามในเชิงว่า ลูกค้ามักถามคำถามอะไร ? ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ว่าเนื้อหาแบบไหน ที่สามารถเชื่อมโยงกับคำถามของลูกค้าได้

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระดับการรับรู้ (Awareness) ของลูกค้าที่คุณพยายามดึงดูดความสนใจอยู่ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะค้นหาข้อมูลของสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ หากเรารู้ว่าลูกค้าขาดข้อมูลส่วนไหนไป ? แล้วเติมความรู้ดังกล่าวให้ลูกค้าได้ โอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อก็จะเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การลดขั้นตอนในการป้อนข้อมูลก็จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วมากขึ้นด้วย ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า "Keyword funnel" (ช่องทางคีย์เวิร์ด) ยิ่งทำให้ลูกค้าไหลเข้าช่องทางการขายได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสซื้อก็จะเพิ่มมากขึ้น

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)
ภาพจาก : https://www.outsourcesem.com/blog/a-complete-guide-to-keyword-funnel.html

ตัวอย่างง่าย ๆ  เช่น หากคุณต้องการขายซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส แทนที่จะให้ข้อมูลลูกค้าว่า "จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสยี่ห้อไหนดี ?" ก็เปลี่ยนเป็นยี่ห้อที่คุณต้องการทำตลาดเลย เช่น "McAfee กับ Panda เลือกซื้อตัวไหนดี ?" แทนไปเลย

คำถามที่ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบถาม เราสามารถเตรียมคำตอบไว้รับมือล่วงหน้าได้จากการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต หรือฝ่ายสนับสนุนของบริษัท แต่ในความเป็นจริง ลูกค้าแต่ละคนก็มักจะมีคำถามที่คุณคาดไม่ถึง ทำให้คุณอาจไม่สามารถตอบได้ในทันที

นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมการวิเคราะห์ผู้ชม (Audience) ถึงมีความสำคัญ เพราะมันจะช่วยให้คุณรับมือกับลูกค้าได้ดีมากขึ้น สิ่งที่ Content Marketer สามารถทำได้ก็อย่างเช่น

  • ส่งอีเมลไปหาผู้ชม (Audience) เพื่อสอบถามปัญหาที่พวกเขามี
  • เพิ่มแรงจูงใจด้วยการมอบบัตรของขวัญ (Gift card) หรือส่วนลด ให้กับผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถาม และอธิบายปัญหาที่พวกเขามีอยู่
  • แลกเปลี่ยนข้อมูลกับฝ่ายสนับสนุนลูกค้า (Customer Support) เพื่อสรุปข้อตำหนิ และปัญหาที่ลูกค้าส่งเข้ามา
  • นำ AI หรือเครื่องมือใด ๆ ก็ตามที่วิเคราะห์ข้อมูลได้ มาช่วยสรุปข้อมูลปัญหาที่ลูกค้าพบเจอเป็นประจำ
  • เข้าไปอ่านกระทู้ที่ลูกค้านิยมเข้าไปปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ในระดับโลกก็อย่างเช่น Reddit ส่วนประเทศไทยก็อาจจะเป็น Pantip หรือตามกลุ่มบน Facebook
  • ทำแบบสอบถามสำรวจลูกค้า โดยอาจมีผลประโยชน์มอบให้ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ลูกค้าตอบแบบสอบถาม

4. การวิเคราะห์ข้อมูล และทำแบบทดสอบแบบ A/B (Data Analysis and A/B Testing)

ถึงแม้คุณจะมีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยผู้เข้าเยี่ยมชม (Audience Research) และเข้าใจปัญหาของผู้ชมเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่การนำข้อมูลมาใช้ และทดสอบ ก็ยังคงมีความสำคัญต่อแผนการทำคอนเทนต์อยู่ดี

มันเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการบริหารทีม เพราะมนุษย์มักตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ โดยมีอคติแฝง มันดีกว่าถ้าหากเราจะให้ข้อมูลช่วยนำร่องการตัดสินใจแทนในเวลาที่ทีมมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน

ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ทำการทดสอบมีอยู่หลายอย่าง อย่างเช่น

  1. Title tags และรายละเอียด Meta
  2. ภาพ Thumbnail
  3. ประเภทของเนื้อหา เช่น Blog, วิดีโอ, โพสต์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ฯลฯ
  4. คีย์เวิร์ดของหัวข้อที่คุณตั้งเอาไว้

การเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) สามารถเริ่มจากการเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐานอย่าง Google Searchh Console และ Google Analytics หรือบนโซเชียลมีเดียอย่าง YouTube หรือ Facebook ก็มีเครื่องมือวิเคราะห์ของตัวเองให้เราเข้าไปใช้งานได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของ Content Marketer ที่ต้องเข้าใจวิธีการทำงานของเครื่องมือเหล่านี้ได้

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)
ภาพจาก : https://agencyanalytics.com/integrations/google-analytics

5. การวางกลยุทธ์ (Strategic Planning)

ผู้สร้างคอนเทนต์มือใหม่มักจะสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเพื่อสื่อข้อมูลอะไรสักอย่างออกไปถึงลูกค้า แต่ผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีประสบการณ์จะใช้คอนเทนต์เป็นสื่อกลางในการดึงดูดลูกค้าตลอดเส้นทาง Customer Journey (เส้นทางการเดินของลูกค้าตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักแบรนด์ จนถึงขั้นตอนตัดสินใจซื้อ)

ความแตกต่างระหว่างมือใหม่ กับมือเก๋าคือ ผู้ที่มีประสบการณ์จะมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนกว่า รู้ว่าคอนเทนต์แต่ละชิ้นจะสร้างคุณค่าให้กับแผนได้อย่างไรบ้าง นั่นทำให้ทักษะในการวางแผนคอนเทนต์ (Content strategy) เป็นทักษะที่สำคัญต่อผู้ที่เป็น Content Marketer เป็นอย่างยิ่ง

หากต้องการเป็นนักวางแผนคอนเทนต์ที่ดี จะต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จาก Audience Research และ Customer Journey สามารถตั้งคำถามกับลูกค้าเพื่อสอบถามประสบการณ์ตั้งแต่เริ่มจนจบได้ รวมไปถึงการเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงโจทย์ของทุกปัญหา

หลังจากนั้น ก็มาเรียบเรียงลำดับเนื้อหา เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่สามารถตอบโจทย์สอดคล้องไปกับ Customer Journey ได้อย่างมีแบบแผน

ตัวอย่างคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับการทำ Customer journey

  ขั้นตอน 1 ขั้นตอน 2

ขั้นตอน 3

ปัญหาของลูกค้า ไม่รู้ว่ามีสินค้า XX แบบไหนบ้าง ? และแบบไหนดีที่สุด ? แล้วสินค้า XX ยี่ห้อไหนดีที่สุดที่ฉันควรเลือก

โอเค ตอนนี้ฉันสนใจ ยี่ห้อ A และยี่ห้อ B ยี่ห้อไหนดีกว่ากัน ?

คอนเทนต์ที่เราจะสร้าง

คู่มือการเลือกซื้อสินค้า XX ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานทุกรูปแบบ

ยี่ห้อสินค้า XX ที่ดีที่สุดในปีนี้ รีวิวเปรียบเทียบข้อเสีย-ข้อเสีย ระหว่างยี่ห้อ A และ B

นอกจากนี้ อย่าลืมว่าตัวคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น จะต้องช่วยผลักดันลูกค้าให้เคลื่อนไหวไปตาม Keyword funnel ด้วย เพระาท้ายที่สุดแล้ว เราไม่ได้ต้องการบอกวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า แต่เราต้องการ "ขาย" วิธีแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าต่างหาก นอกเสียจากคุณจะทำงานอยู่ในองค์กรการกุศล

6. การบริหารทีม (Team Management)

ไม่ว่าคุณจะทำงานได้เก่งกาจเพียงใด แต่คนเราก็มีความถนัดที่แตกต่างกัน นักสร้างคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเชี่ยวชาญทักษะอยู่ 1-3 ด้าน และต่อให้คุณอัจฉริยะทำได้มากกว่านั้นก็ตาม แต่ด้วยเวลาที่จำกัด คุณก็ไม่สามารถรับผิดชอบงานทั้งหมดด้วยตัวคนเดียวให้ออกมาดีได้ภายในเวลาที่มีจำกัด

หัวใจสำคัญที่ทำให้คอนเทนต์เติบโตได้อย่างรวดเร็วคือ ทีม และผู้จัดการทีมที่ดี

การเป็นผู้จัดการทีมที่ดีนั้นมีความแตกต่างจากการเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ที่ดีอย่างมาก

อย่างแรก คุณต้องมีทักษะแมวมองในการแสวงหาครีเอทีฟที่มีพรสวรรค์ และเรียกเขามาเข้าร่วมทีมของคุณให้ได้ หนึ่งในวิธีการที่อาจฟังดูเลวร้าย แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาในวงการนี้คือ ศึกษาคอนเทนต์ของคู่แข่ง และดึงตัวพนักงานจากคู่แข่งให้มาทำงานกับบริษัทของเราโดยตรง ด้วยเงื่อนไขการว่าจ้างที่ดีกว่าเดิม หรือจะไปควานหาเอาจากบริษัทที่เป็น Creative agencies เลยก็ได้

วิธีการนี้เหมาะสำหรับพนักงานระดับจูเนียร์ (Junior) ที่พวกเขายังมีความสด เต็มเปี่ยมไปด้วยไอเดีย แต่ขาดโอกาสในการแสดงฝีมือ

ในกรณีที่คุณยังไม่พร้อมสำหรับการว่าจ้างพนักงานแบบฟูลไทม์ ก็อาจปรึกษาเพื่อหาทางออกเป็นการรับงานเสริมแบบพาร์ทไทม์ก็ได้ เมื่อคุณรวมทีมได้สำเร็จแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการละลายพฤติกรรมให้พวกเขาสามารถร่วมมือร่วมใจกันสร้างคอนเทนต์ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นคอนเทนต์จะกระจัดกระจายไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เพื่อให้ทีมทำงานร่วมกันง่ายขึ้น ควรหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการอย่าง Trello, ClickUp ฯลฯ เข้ามาช่วย เพื่อให้การแจกจ่าย, ติดตามความเคลื่อนไหวของงานได้สะดวกมากขึ้น ตรวจสอบว่าใครรับผิดชอบงานไหนอยู่บ้าง ? ทำได้อย่างเป็นระบบ

7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับ นักการตลาดสายคอนเทนต์ (Content Marketer)
ภาพจาก : https://www.simplilearn.com/how-to-use-clickup-tutorial-article

7. ทักษะการเล่าเรื่อง และความคิดสร้างสรรค์ (Storytelling Skills and Creativities)

หากต้องการให้คอนเทนต์มีคนเข้าถึงในวงกว้าง ต้องเข้าใจธรรมชาติของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย และที่สำคัญคือการนำเสนอจะต้องมีความน่าสนใจด้วย โดยปกติแล้วตัวแพลตฟอร์มจะดึงเนื้อหาที่ผู้ใช้งานให้ความสนใจมาแสดงผลก่อนเป็นหลัก เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มนานที่สุด

ดังนั้น หากคอนเทนต์ของคุณได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ตัวแพลตฟอร์มก็ยินดีที่จะจะช่วยดันคอนเทนต์ของคุณไปนำเสนอให้กับผู้ชมรายอื่น ๆ มากขึ้นด้วย

นอกจากหัวข้อเรื่องแล้ว วิธีการเล่าเรื่องก็มีส่วนช่วยดึงดูดผู้ชมเอาไว้ได้

หลักการเล่าเรื่องสำหรับธุรกิจขั้นพื้นฐานก็จะประกอบไปด้วย

  • เล่าเรื่องว่าปัญหาคืออะไร ?
  • แนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา และความท้าทายที่ต้องเผชิญ
  • ปณิธาน และการให้ความช่วยเหลือ

8. การโปรโมทเนื้อหา (Content Promotion)

แม้เราจะสร้างเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับแพลตฟอร์มแล้ว แต่มันก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่ามันจะรักษาฐานผู้ชมของคุณเอาไว้ได้เสมอไป เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าทางแพลตฟอร์มมักจะปรับอัลกอริทึมอยู่บ่อยครั้ง วันดีคืนดี โพสต์ของคุณก็จะเสีย Engagement ไปอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย

ดังนั้น เพื่อรักษายอดผู้ชมเอาไว้ และเพิ่มฐานผู้ชมด้วย การโปรโมตเนื้อหา (Content Promotion) จึงเป็นทักษะที่ขาดไปไม่ได้เลย

การโปรโมตเนื้อหา (Content Promotion) มีความเกี่ยวข้องกับงานหลายด้าน แม้แต่การรักษาความสัมพันธ์กับอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) เพื่อทำงานร่วมกันด้วย อย่างเช่น Webinars, Podcasts, สร้างความน่าเชื่อถือในวงการ ฯลฯ เคล็ดลับสำคัญในการทำงานร่วมกันที่ดีคือ ทั้งสองฝ่ายควรจะได้รับประโยชน์ และไม่สร้างความยากลำบากให้กับอีกฝ่ายด้วย

9. เปิดกว้างความเห็น และคำติชม (Seek Feedback and Be Receptive)

การทำ Content Marketing มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแทบทุกเดือน ซึ่ง Content Marketer ก็จะต้องปรับตัวตามให้ทัน หากแคมเปญที่ปล่อยออกไปไม่ประสบความสำเร็จ ก็ควรกล้าที่ยอมรับข้อผิดพลาด นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาข้อผิดพลาด เพื่อปรับปรุงแผนให้เหมาะสม ซึ่งข้อมูลที่ Content Marketer สามารถนำมาใช้งานได้ สามารถหามาจากทีมงาน, ลูกค้า และข้อมูลที่เก็บสะสมมาได้

วิธีเก็บข้อมูลที่ง่ายที่สุดคือ การสอบถามทีมที่เกี่ยวข้องในระหว่างการประชุมประจำวัน หรือประจำสัปดาห์ ส่วนข้อมูลจากลูกค้าก็สามารถหาได้จากการสอบถามลูกค้าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม, แบบสำรวจ หรือติดต่อไปหาลูกค้าผ่านอีเมล หรือการโทรศัพท์

เมื่อได้ผลตอบรับกลับมาแล้ว ต้องตระหนักว่าความคิดเห็นนั้นบอกวัตถุประสงค์อะไรให้กับเรา อย่ามองในแง่ลบว่ามันเป็นการสะท้อนความผิดพลาดของเรา สิ่งที่ต้องทำก็แค่ยอมรับมัน และปรับแผนไปตามผลตอบรับที่ได้มาเท่านั้นเอง


และทั้งหมดนี้ก็คือทักษะที่จำเป็นต่อ Content Marketer ในปัจจุบัน หากรู้สึกว่าเรายังขาดทักษะด้านไหนไป สมัยนี้ความรู้หาได้ง่ายมาก หรือไปเรียนคอร์สเสริมความรู้เพิ่มได้ ขอให้ Content Marketer ทุกท่าน สนุกกับการทำงานนะครับ :)


ที่มา : copyblogger.com

0 7+%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A+%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C+%28Content+Marketer%29
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น