หมายเหตุ: บทความนี้เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ผ่านระบบดิจิทัล
ในยุคสมัยปัจจุบันนั้น ค่านิยมในการทำงานได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากหลายปัจจัย เช่น การที่คนที่อยู่ในยุค Gen Y ได้ขึ้นมามีบทบาทเป็นผู้นำองค์กรมากขึ้น, Gen Z เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กร รวมไปถึง การระบาดของ COVID-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างต่อวิถีการทำงานที่จากนั่งออฟฟิศ มาเป็นทำงานจากบ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ ได้กลายมาเป็นเรื่องปกติ, ค่านิยมยุคใหม่ที่ผู้คนเริ่มเอาใจใส่การสิทธิส่วนตัวในการทำงาน การทำงานอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับชีวิตส่วนตัวมากขึ้น เริ่มเล็งเห็นความสำคัญของความสุขในการทำงานมากขึ้นกว่าที่ก่อนที่มุ่งเน้นในเชิงผลิตภาพ (Productivity) แต่เพียงอย่างเดียว
นั่นเป็นเหตุทำให้นำไปสู่การค้นหาหนทางในการสร้างความสุขในการทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมถึงการจัดการงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ผ่านทางระบบดิจิทัล ด้วยแอปพลิเคชัน สำหรับใช้ในธุรกิจ โดยในประเทศไทยก็มีอยู่ถึงอย่างน้อย 2 เจ้าที่แค่เพียงชื่อนั้นก็แสดงถึงความตั้งใจมุ่งเน้นในการสร้างความสุขในที่ทำงานแบบตรงตัว อีกทั้ง ทั้ง 2 ตัวนั้นก็เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาโดยชาวไทยทั้งคู่ด้วย นั่นคือ HappyWork และ Happily.ai นั่นเอง
แต่ถึงแพลตฟอร์มทั้ง 2 ตัวนั้นจะมีชื่อที่คล้ายคลึงกันจนแทบจะจำสลับกัน แต่ทั้งสองนั้นก็มีความคล้าย และแตกต่างอยู่หลายอย่างด้วยกัน โดยคุณจะได้เรียนรู้ผ่านทางบทความนี้
HappyWork (ชื่อเดิมคือ HappyWork Software) เป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Management Software) ที่พัฒนาโดยบริษัท Jenosize ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้าน การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
ต่อมาทางบริษัทได้ค้นพบถึงปัญหาหลายอย่างของการจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กรหลาย ๆ แห่ง ที่นำมาซึ่งความไร้ความสุขของพนักงานในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน, การรับฟังเสียงตอบรับ (Feedback) ในด้านต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาในการทำงาน
นอกจากนี้แล้ว ก็ยังรวมไปถึงกิจกรรมทั่วไปของ HR ที่หลายอย่างนั้นแทนที่จะทำได้ง่าย กลับทำยุ่งยาก และไม่รองรับสไตล์การทำงานยุคใหม่ เช่น การทำการจ่ายเงินเดือน (Payroll), เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ, แจ้งขาด ลา มาสาย ตลอดถึง การเช็คอินเช็คเอาท์เพื่อออกจากงาน พนักงานที่ทำงานอยู่กับบ้าน หรือ กลุ่มฝ่ายขายที่ออกไปพบลูกค้าอาจไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความอึดอัดให้หลายฝ่าย ดังนั้น HappyWork จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงจุดนี้
ภาพจาก https://apps.apple.com/th/app/happy-work/id1342166833
ตัวแอปพลิเคชัน HappyWork นั้นจะเน้นหนักไปในด้านการสร้างความสุขในการทำงานด้วยการทำให้ ตัวงานของทาง HR สามารถปฏิบัติการได้อย่างยืดหยุ่นและสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งฟีเจอร์พื้นฐานที่ทางบริษัท Jenosize นำเสนอนั้นจะมีดังนี้
เช็คอิน เช็คเอาท์ เข้าออกงานด้วยวิธีการที่หลากหลายยืดหยุ่น พร้อมด้วยการใช้ระบบ Beacon ให้เช็คเข้าออกได้หลายคนไม่ต้องต่อคิว, การใช้ระบบ QR, เช็คเข้าออกงานผ่านระบบ GPS ช่วยติดตามการทำงานไปในตัว
การอนุมัติลางาน แก้เวลาผิดพลาด เบิกค่าใช้จ่ายง่ายกว่าเดิม เพราะทุกอย่างรวมศูนย์บน Dashboard เดียวผ่านการทำงานแบบออนไลน์ ทำให้ทั้งพนักงานสามารถแจ้ง และ HR สามารถดำเนินการได้ทุกที่ทุกเวลา
การสร้างรายงานประจำวัน รวมทั้งการติดตามงานของพนักงานทำได้ไม่ยากอีกต่อไป
ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้ทางฝ่าย HR สามารถจัดการเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงาน การออกสลิปเงินเดือนได้อย่างคล่องตัว
การทำแบบประเมินและประมวลผลการประเมินจะไม่ยากอีกต่อไปด้วยเครื่องมือสร้างแบบประเมินและประมวลผลครบวงจร ใช้วัดผลปฏิบัติการของพนักงานอย่าง
การแจ้งข้อมูลข่าวสารในองค์กรจะไม่กระจัดกระจายอีกต่อไป ด้วยการรวมศูนย์มาอยู่ใต้ระบบเดียว
รวมข้อมูลพนักงานในองค์กร รองรับการนำเข้าส่งออกข้อมูลที่ทำได้ง่ายแค่นิ้วคลิ๊ก
ที่พิเศษสุด และเป็นอีกหนึ่งจุดขายที่ทาง HappyWork พยายามนำเสนอว่าแอปพลิเคชันนี้แตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นในตลาดนั่นคือ ฟีเจอร์ที่จะเข้ามาช่วยให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้นด้วยการให้คะแนนเพื่อนร่วมงานซึ่งกันและกัน รวมทั้งสะสมเหรียญเพื่อไปแลกของรางวัลได้ด้วย
ภาพรวมแล้ว Happywork นั้นจัดได้เป็นเครื่องมือด้าน Human Resource Management ที่มีเครื่องมือด้านการจัดการที่ครบครัน ที่เก็บได้แทบจะครบทุกมุมของการทำงานของ HR แต่อาจไม่ต่างจากเครื่องมือสำหรับ HR ตัวอื่นๆ อย่าง Empeo เท่าไหร่ นอกจากด้านการจัดการ Employee Engagement ที่เพิ่มเติมขึ้นมาที่ทำให้ตัวแอปพลิเคชันมีความน่าสนใจจากการใช้งานในเชิงลึกมากขึ้น แต่เมื่อเทียบในแง่มุมนี้นั้น มีอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่เน้นหนักไปทางนี้ตรงๆเลย นั้นคือ Happily.ai
ภาพจาก : https://www.happily.ai/
Happily.ai นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยคุณ Tareef Jafferi ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 5 ของบริษัทเครื่องเขียนชื่อดัง DHA Siamwalla โดยทางคุณ Tareef นั้นได้สำเร็จการศึกษาระดับ MBA จาก MIT โดยระหว่างการศึกษาทางคุณ Tareef ก็ได้มีการศึกษาในวิชาด้านการวิเคราะห์บุคคล (People Analytics) ด้วย
โดยเขาได้ค้นพบว่า ความสุขของพนักงานนั้นมีผลมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ตามหลักพฤติกรรมศาสตร์นั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ประกอบด้วยเครื่องมือในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง พนักงานต่อพนักงาน และ พนักงานต่อองค์กร จะช่วยให้พนักงานนั้นรู้สึกมีคุณค่า และตัวองค์กรจะมีความเป็นสถานที่ ที่พนักงานอยากจะมาทำงานกันมากขึ้น นำมาสู่การสร้างแอปพลิเคชัน Happily.ai นี้
สำหรับฟีเจอร์ของ Happily.ai นั้นเรียกว่าต่างจาก Happywork อย่างสิ้นเชิง โดยเน้นหนักไปทางด้านการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึก การเข้าถึงเข้าใจพนักงาน และการสร้างความสนุกในการทำงานที่มากขึ้นมากกว่า ซึ่งฟีเจอร์คร่าว ๆ หลัก ๆ จะมีดังนี้
เข้าถึงใจของพนักงานได้ทุกวันว่าพวกเขาสบายดีอยู่ไหม ด้วยคำถามสั้น ๆทุกเช้า ทำให้คุณวัด Employee Engagement ของพนักงานได้ทุกวัน ฉีกกฎการวัดผลครึ่งปี หรือปีละครั้ง แบบที่องค์กรส่วนใหญ่ทำได้เลย
Daily Check-in ยังมีคำถามแบบปลายเปิดให้พนักงานทำ ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความเห็น มุมมองต่าง ๆ ถึงหัวหน้าของพวกเขาได้ด้วยตรง ซึ่งถ้าไม่สบายใจ พนักงานยังสามารถปิดไม่ให้เห็นได้ด้วยว่าใครเป็นคนส่ง
พนักงานสามารถเลือกเพื่อนร่วมงานที่จะมารีวิวตนเองได้เดือนละ 2 คน สร้างแรงผลักดันในการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น
พนักงานสามารถให้เหรียญเพื่อชื่นชมเพื่อนร่วมงานได้ สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนคนทำงาน และเหรียญยังสามารถนำไปแลกรับรางวัลได้อีกด้วย
ฝ่ายบริหารจัดการ สามารถเข้าถึงข้อมูลการวัดผลรายวัน จากทั้งการตอบคำถามและกิจกรรมการใช้งาน ซึ่งนอกจากจะวัดความสุขของพนักงานได้แล้ว ยังวัดได้ลึกถึงโครงข่ายความสัมพันธ์ของพนักงานต่อคนในที่ทำงานได้ระดับรายบุคคลได้เลยทีเดียว
ส่วนที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ที่มีมากมายของ Happily.ai โดยถ้าผู้อ่านสนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนาได้โดยตรง
Happily.ai นั้นถึงแม้จะไม่มีเครื่องมือพื้นฐานด้าน HR เลย อาจจะไม่เหมาะสำหรับองค์กรที่อยากหาเครื่องมือพื้นฐานด้าน HR มาใช้ แต่ค่อนข้างตอบโจทย์ด้านการสร้าง สังคมการทำงานยุคสมัยใหม่ ด้วยฟีเจอร์ด้าน community ที่มากมายก่ายกอง รวมถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างพนักงานของหัวหน้าด้วย direct feedback ที่มีความเป็นส่วนตัว พร้อมหน้าตาการใช้งานที่เป็นมิตรกับเหล่าคาแรคเตอร์น่ารักๆ สร้างความผ่อนคลายให้กับพนักงาน ทั้งยังมีระบบวัดผลที่ค่อนข้างดีครบทุกมุมอีกด้วย เป็นแอปที่เหมาะสำหรับฝ่ายจัดการและบริหารที่ต้องการทราบข้อมูลความรู้สึกของพนักงานในองค์กรในระดับที่ลึกซึ้ง มากกว่าแค่มาคาดเดาจากการปั้นหน้าเจอกันที่ออฟฟิศ จนกว่าจะรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นก็สายไปเสียแล้ว
ถึงแม้ทั้ง 2 แอปพลิเคชัน จะใช้ชื่อว่า Happy และมุ่งเน้นถึงความสุขของพนักงานเหมือนกัน แต่ฟีเจอร์ รวมถึงจุดมุ่งหมายของแอปฯ ต่างเป็นการสร้างความสุขในการทำงานที่ต่างแง่มุมกันโดยสิ้นเชิง (โดยนอกเหนือจากฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Employee Engagement และ Reward นั้น แทบจะไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย)
ซึ่ง Happy Work นั้นจะเหมาะสำหรับองค์กรที่อยากปรับตัวเป็น Digital หาเครื่องมือมาช่วยให้งาน HR ยืดหยุ่นมากขึ้น สอดรับกับสไตล์การทำงานในยุคสมัยใหม่ เรียกว่าเป็นเครื่องมือสำหรับ HR ยุคใหม่อย่างแท้จริง โดยมีการจัดการในส่วน Engagement เล็กน้อย
แต่ Happily.ai นั้นปราศจากเครื่องมือพื้นฐานของ HR อย่างสิ้นเชิง แต่จะเน้นไปในด้านการจัดการด้านความสัมพันธ์ของพนักงาน การให้องค์กรใกล้ชิดกับพนักงานมากขึ้นผ่านคำถามต่างๆ ระบบวิเคราะห์ที่ทำให้องค์กรสามารถสร้างความ รวมถึงกิจกรรมของพนักงานผ่านเกมต่างๆที่มีอยู่บนฟีเจอร์ ถึงแม้โดยมากหน่วยงานที่ใช้ในองค์กรจะเป็น HR แต่ความจริงเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในระดับสูงในการเช็คถึงสภาพที่แท้จริงในองค์กรมากกว่า
|