ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทาง HR ใช้ AI ในการช่วยคัดคน สัมภาษณ์งาน ?

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทาง HR ใช้ AI ในการช่วยคัดคน สัมภาษณ์งาน ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 2,467
เขียนโดย :
0 %E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99+%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87+HR+%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+AI+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%99+%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทาง HR ใช้ AI สัมภาษณ์งาน ?

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้อ่านอาจจะได้เห็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี AI อย่างมากมายถึงความสามารถอันมหาศาลของมัน ทั้งวาดรูป, แต่งนิยาย, แต่งรูป หรือแม้แต่ช่วย เขียนโปรแกรม จนหลายคนเริ่มหวาดหวั่นว่าตัวเองอาจจะตกงานเพราะบริษัทเอาเอไอมาใช้ทำงานแทน

บทความเกี่ยวกับ Artificial Intelligence อื่นๆ

แล้วในทางกลับกัน มันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีการนำเอาเอไอเข้ามาใช้ในการสัมภาษณ์งานเพื่อรับคนเข้า ? จะเป็นเรื่องที่ดีหรือแย่กันแน่ ? แล้วมันจะเวิร์กจริง ๆ น่ะหรือ ? ทางเราของสรุปประเด็นที่คุณอาจคาใจนี้จากบทความของ The Guardian กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้คุณได้พิจารณาว่า ควรจะตื่นเต้น ควรจะกังวล ควรจะกลัว กับกรณีนี้หรือไม่ ?

เนื้อหาภายในบทความ

เรื่องราวของ Ty กับการสัมภาษณ์อันแปลกประหลาด ทางโทรศัพท์ (The Story of Ty's Bizarre Phone Interview)

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทาง HR ใช้ AI ในการช่วยคัดคน สัมภาษณ์งาน ?
ภาพจาก : https://www.ttnews.com/articles/using-ai-for-job-interviews

ผู้สมัครงานในงานสายธนาคารรายหนึ่งซึ่งไม่ได้ปรากฎชื่อเต็ม เปิดเผยแต่เพียงว่าชื่อ Ty ได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการสมัครงานแปลก ๆ ว่า ในช่วงแรกที่เขาได้รับเชิญให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์นั้น เขาคิดว่าจะเป็นการสัมภาษณ์กับทางทรัพยากรบุคคลแบบทั่วไป แต่ก็ต้องพบว่า

"เสียงสัมภาษณ์ของปลายสายคล้ายกับ Siri (แอปแชทบอทถามตอบอัตโนมัติ) มาก "ผมรู้สึกกระอักกระอ่วนกับสิ่งที่เจอจริง ๆ"

โดยประสบการณ์ที่ Ty เจอมานั่น เขาได้เล่าว่าการสัมภาษณ์ของ AI ที่เรียกตัวเองว่า Jaime นั้นมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่เหมาะสม ค่อนไปทางหยาบคาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่การด่าผรุสวาท แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิด เช่นการถามคำถามที่ควรจะเป็นไปอย่างปกติ อย่าง ถามว่าสไตล์การจัดการเป็นอย่างไร? คุณคิดว่าทำไมตัวคุณถึงเหมาะกับงานนี้? แต่ตัวเอไอกลับไม่ยอมฟังคำตอบของ Ty จนหมดก่อนกลับตัดบทสนทนาเข้าคำถามถัดไปแทน ทั้งยังตัดการสัมภาษณ์จบแบบดื้อๆอีกต่างหาก

จากแบบสอบถามโดยเว็บไซต์ Resume Builder พบสถิติที่น่าตกใจว่า "ในปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) นี้ มีถึง 4 ใน 10 บริษัท ที่นำเอา AI มาใข้ในการสัมภาษณ์งาน" จากกรณีนี้นั้น Laura Michelle Davis นักเขียนประจำสำนักข่าว CNET ได้เขียนถึงบนบทความของเธอว่า "มีผู้สมัครหลายรายโดน AI คัดทิ้งก่อนที่จะได้คุยกับคนจริง ๆเสียอีก"

ความเป็นมนุษย์ที่เหือดหายไป (Humanity has Disappeared)

จากการสอบถามนายจ้างหลายรายที่นำเอา AI มาใช้ในการคัดเลือกคนนั้น พบว่า AI ได้ทำการคัดคนออกจากการแสกนงานรูทีนที่ไม่ได้สำคัญ และเมื่อพบบนรีซูเม่ก็จะทำการคัดคนทิ้งออก ทำให้ตัดคนที่สมัครออกไปได้มากนับพันคน จนเมื่อถึงผู้สมัครระดับ Top 10 คน ถึงจะเข้าขั้นตอนในการนำเอาคนเข้ามาสัมภาษณ์จริงๆ

สำหรับฝั่งนายจ้างการใช้เอไอคัดเลือกคนนั้นอาจช่วยลดการใข้แรงงานในการคัดใบสมัครเพื่อไปโฟกัสกับงานสำคัญอื่นๆ แต่สำหรับผู้สมัครนั้น การใช้เอไอมาคัดกลับไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาแฮปปี้นัก

ผู้สมัครรายอื่นเช่น Adele Walton ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์สัมภาษณ์กับ AI ว่า เมื่อคลิกเข้าไปในลิงค์แชทกลับปรากฎว่ามีเพียงเธออยู่ในห้องแชทคนเดียว ให้ความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติอย่างมากในการสัมภาษณ์ และเมื่อมีคำถามปรากฎขึ้นบนจอก็มีเวลาเพียง 60 วินาทีในการตอบคำถามเท่านั้น และต้องตอบอย่างกระอักกระอ่วนเพราะ "เวลาที่ฉันตอบคำถามนั้นไม่เห็นใครอยู่ต่อหน้าเลย เห็นแต่หน้าฉันคนเดียวบนจอ ทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจอย่างมาก และฉันคิดว่าจะทำได้ดีกว่าถ้ามีคนจริง ๆ มาสัมภาษณ์ด้วย" 

"นอกจากนั้นแล้วเอไอยังไม่มีระบบการวัดผลอย่างอื่นเหมือนคนจริง ๆ เช่นการทำความเข้าใจการแสดงออกทางใบหน้า ท่าทาง หรือแม้แต่การส่งซิกที่ไม่เป็นคำพูด สิ่งที่เป็นแบบที่คนจริง ๆ ตอนพูดคุยกันทำกัน"

ผู้สัมภาษณ์ โกงระบบ ได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า ? (Is it easier for interviewers to cheat the system ?)

ไม่ใช่แต่เพียงฝั่งนายจ้างเท่านั้นที่สามารถใช้ AI ได้ ทางฝั่งผู้สมัครในตอนนี้ก็มีศักยภาพในการเข้าถึง AI หลายตัวในการใช้เพื่อช่วยในการสมัครงานเช่นเดียวกัน โดยเบื้องต้นนั้นหลายคนได้นำเอา AI เข้ามาใช้ในการช่วยเขียนรีซูเม่ เพื่อต่อสู้กับฝั่งนายจ้างที่ใช้ระบบเอไอและคอมพิวเตอร์เข้ามาคัดเลือกรีซูเม่ โดยให้ AI ช่วยเขียน ตัดแต่ง เพิ่มเติม ให้ตรงกับแนวทางที่เครื่องมือของอีกฝั่งจะตรวจจับและคัดว่าเป็นผู้สมัครที่ดี เช่น ใช้คีย์เวิร์ด หรือ รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม

ในบางครั้งก็มีคนได้พยายามแฮ็กหาเทคนิคในการเอาชนะ AI โดยเมื่อราว ๆ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีดาว TikTok คนหนึ่งได้กล่าวถึงเทคนิคในการนำเอา Job Description ของงานที่ต้องการทำมาคัดลอกลงบนรีซูเม่แล้วเปลี่ยนฟอนต์ให้ดูเนียน แต่ในปัจจุบันผู้แนะนำก็ยอมรับว่า ไม่ได้รับการเชิญเข้าสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อีกแล้ว เพราะ AI ยุคปัจจุบันอาจจะพัฒนาจนฉลาดขึ้นมากกว่าแต่ก่อนแล้ว

นาย Michael G จาก Final Round AI ได้กล่าวถึงกรณีผู้สมัครอาจจะพยายามโกง AI ว่า "เพราะการนำ AI เข้ามาใช้ในตอนนี้ทำให้พูดลำบากว่า สิ่งไหนที่โกง สิ่งไหนที่ไม่เป็นการโกง" "แต่ในฐานะนายจ้างแล้วผมอยากจะจ้างคนที่มีความรู้ในการใช้ AI มากกว่า เพราะเป็นพนักงานที่นำพามาซึ่งคุณค่าใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มผลิตภาพในการทำงานภายในองค์กร"

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทาง HR ใช้ AI ในการช่วยคัดคน สัมภาษณ์งาน ?
ภาพจาก : https://chromewebstore.google.com/detail/final-round-ai/lfbbdphejjjanjiohlmkdbapdmfoaeem?pli=1

โดย Final Round AI นั้นเป็นเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบ "Interview Copilot" ที่จะฟังคำถามของผู้สัมภาษณ์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากรีซูเม่ของผู้สมัคร มารวมกันเพื่อเขียนเป็นบทที่ปรับแต่งมาให้เหมาะสมกับผู้สมัครที่เข้าสัมภาษณ์ในรูปแบบที่คล้ายกับเครื่องบอกบทสำหรับนักแสดงในกองถ่าย (Teleprompter)

"ดารานักแสดงจำนวนมากยังต้องใช้เครื่องบอกบทในกองถ่ายเป็นเรื่องปกติ แล้วทำไมคนธรรมดาจะใช้บ้างไม่ได้ นี่ไม่ได้แปลว่าคุณมองเครื่องบอกบอกแล้วท่องออกมาแบบทื่อ ๆ เสียหน่อยนะ" Michael G กล่าวย้ำถึงสิ่งที่เป็นประเด็นดังกล่าวในการที่ฝั่งผู้สมัครนำเอา AI เข้ามาช่วยบ้าง

AI ก็มีอคติได้ (AI can be Biased)

สิ่งที่เป็นที่น่ากังวลใจสำหรับนายจ้างมากที่สุดคือ AI นั้นได้กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกฝังอคติลงไว้ได้ง่าย ๆ และทำตามอคตินั้นอย่างเคร่งครัด เช่นในกรณีล่าสุดที่ทาง Amazon ได้ยกเลิกการใช้ AI ในการคัดคนที่ทางบริษัทสร้างขึ้นมา เพราะตัว AI นั้นถูกฝึกมาจนกลายเป็นเครื่องมือที่มีอคติทางเพศ ให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่า และพร้อมที่จะปัดตกใบสมัครที่มีคำว่า "Women" บนใบสมัครนั้นได้ทันที

โดยในกรณีนี้ Rory Mir รองผู้อำนวยการการสื่อสารองค์กรแห่ง Electronic Frontier Foundation ได้กล่าวว่า "เอไอในปัจจุบันทำงานอยู่บนฐานของความเป็นไปได้ ซึ่งตัวเอไอเรียนรู้มาจากข้อมูลในอดีตที่ป้อนเข้าไปฝึกสอน" "แต่ถ้าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่มีอคติ การทำงานของเอไอก็จะทำอย่างมีอคติตามข้อมูลเหล่านั้นไปด้วย"

แต่ในกรณีอคติ ก็ต้องยอมรับว่าอคตินั้นก็มีอยู่ในตัวคนอย่างเป็นปกติเช่นเดียวกัน เช่นกรณีจากรายงานโดยนิตยสาร Fortune พบว่า นายจ้างหลายคนได้คัดชื่อของผู้สมัครที่น่าจะเป็นคนดำหรือคนผิวสีออกจากรายชื่อบุคคลที่จะได้เข้าสัมภาษณ์ ซึ่ง คุณ Julia Pollak ผู้บริหารแห่ง ZipRecruitter ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่าสามารถเกิดขึ้นกับ AI ได้เช่นเดียวกัน โดยทางบริษัทจำเป็นต้องตัดสิ่งที่ทำให้ระบุตัวตนผู้สมัครได้ออกเช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขที่ไปรษณีย์ ก่อนนำเข้าระบบ AI แต่ถ้าบนรีซูเม่ยังมีข้อมูลประวัติการศึกษาอยู่ ก็เป็นไปได้สูงที่ AI จะคัดคนที่มีประวัติจบจากมหาวิทยาลัยกลุ่ม Ivyu League มากกว่าคนที่จบจากมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ก็ยังแนะนำให้ผู้สมัครใส่ข้อมูลด้านการศึกษาบนรีซูเม่อยู่ เพราะเป็นข้อมูลที่นายจ้างต้องการจะทราบ

บทสรุป (Conclusion)

สำหรับฝั่งนายจ้าง การนำเอา AI เข้ามาช่วยในการคัดเลือกคนนั้นอาจช่วยย่นระยะเวลา แต่ไม่ส่งผลดีในหลายประเด็น ถึงกระนั้นแนวโน้มในปัจจุบันก็จะเป็นอย่างที่กล่าวไว้บนบทความคือ บริษัทมีแนวโน้มจะเอาเอไอเข้ามาใช้ในการรับผู้สมัครมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ถ้าคุณผู้อ่านเป็นผู้สมัคร ทางเราขอให้คุณเตรียมการรับมือในการเอาชนะการคัดออกของ AI โดยคุณอาจศึกษาผ่านทางคอมมูนิตี้ต่าง ๆ และเพื่อไม่ให้กลัวกับ AI มากเกินไป ทางเราแนะนำให้คุณลองไปงานอีเวนท์เกี่ยวกับเอไอบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อเรียนรู้ถึงพัฒนาการและสร้างความคุ้นเคยชินกับเทคโนโลยีนี้ และทางเราขอให้คุณโชคดีกับอนาคตการสมัครงาน


ที่มา : www.theguardian.com

0 %E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99+%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87+HR+%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+AI+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%99+%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น