แม้ยุคนี้จะเป็นยุคที่การบันทึกข้อมูล รับส่งข้อมูลผ่าน อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือใช้ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้งานกันในปัจจุบัน นั่นก็คือ "จานแสง (Optical Disc)" แบบต่าง ๆ เช่น แผ่นซีดี (CD), แผ่นดีวีดี (DVD), แผ่นบลูเรย์ (Blu-Ray Disc) แล้วจานแสงแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ? แม้จะเป็นแผ่นจานสำหรับบันทึกข้อมูล แล้วต้องเลือกแผ่นแบบไหนใช้กับข้อมูลแบบไหน ? ไปหาคำตอบกัน
อันแรกเลยคือ "แผ่น CD" หรือ "Compact Disc" จัดว่าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภท จานแสง (Optical Disc) ประเภทหนึ่ง และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Disc Optical Digital ชนิดหนึ่ง โดยแผ่น CD แผ่นแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) จากนั้น ถูกพัฒนาโดย Philips และ Sony เพื่อจัดเก็บเล่นไฟล์เสียงดิจิทัล เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) เป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
ตัวแผ่น CD ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนตหนา 1.2 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 14–33 กรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.7 นิ้ว แบ่งออกเป็นรูตรงกลางสำหรับแกนหมุน 15 มิลลิเมตร วงแหวน 2 ชั้นที่ประกอบด้วยวงแหวนหนีบและวงแหวนเรียงซ้อน พื้นที่แถบกระจก, พื้นที่สำหรับโปรแกรม ข้อมูล และขอบแผ่น CD ซึ่งพื้นที่สำหรับโปรแกรมด้านในมีรัศมีตั้งแต่ 25 ถึง 58 มิลลิเมตร และเก็บข้อมูลได้ที่ความจุ 650 MB.
นอกจากนี้ แผ่น CD ยังได้ถูกเคลือบด้วยชั้นอลูมิเนียมบาง ๆ เพื่อทำให้พื้นผิวเกิดการสะท้อนแสง ส่วนแผ่น CD ด้านบนจะถูกเคลือบด้วยฟิล์มแล็กเกอร์ ซึ่งแผ่นหน้า CD ที่เป็นสีสัน นั่นคือฉลากที่พิมพ์สกรีนหรือพิมพ์ออฟเซ็ตบนชั้นฟิล์มแล็กเกอร์นั่นเอง
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Optical_disc
ถ้าพูดถึงแผ่น CD ส่วนใหญ่น่าจะคิดถึงแผ่นภาพยนตร์ เพลง เกม หรือแม้แต่การส่งต่อรูปภาพในยุคที่ยังไม่มีแอปพลิเคชันแชท ก้ใช้แผ่น CD นี่แหละ เพราะขนาดไฟล์ส่วนใหญ่ยังไม่ใหญ่ระดับกิกะไบต์ (GB) หรือเทราไบต์ (TB) จึงทำให้แผ่น CD ความจุ 700 MB. เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย พกพา ส่งต่อง่าย มีเครื่องเล่นรองรับมากมาย แม้แผ่นจะเป็นรอย (บ้าง) ก็ยังใช้งานได้อยู่
อย่างไรก็ตาม แผ่น CD ยังแบ่งออกเป็น CD แบบอื่น ๆ อีกมากมาย ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างแผ่น Mini CD ที่ใช้กับอัลบั้มเพลงในไทย
ภาพจาก : https://www.kaidee.com/product-133590866
สำหรับ "แผ่น DVD" นั้น แรกเริ่มเดิมที ย่อมาจากคำว่า "Digital Video Disc" ที่แปลว่า "แผ่นบันทึกวิดีโอดิจิทัล" แต่ภายหลัง มันไม่ได้มีความสามารถในการเก็บบันทึกแค่วิดีโออย่างเดียวเท่านั้น มันสามารถเก็บได้ทั้ง ซอฟต์แวร์ รูปภาพ และข้อมูลอื่น ๆ เขาจริงเปลี่ยนชื่อเต็มมาเป็นคำว่า "Digital Versatile Disc" แปลว่า "แผ่นบันทึกข้อมูลดิจิทัลสารพัดประโยชน์" (คำว่า Versatile แปลว่า "สารพัดประโยชน์" หรือ "อเนกประสงค์") นั่นเอง
โดยแผ่น DVD เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) เป็นแผ่นจานแสงจัดเก็บข้อมูลออปติคัลในรูปแบบดิจิทัล มีความจุสูงกว่าแผ่น CD ภายใต้ขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนใครที่ต้องการความคงทนของข้อมูล แผ่น DVD และข้อมูลภายในสามารถอยู่ได้นานถึง 30 ปีเลยทีเดียว
แม้แผ่น DVD จะมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ มีเพียงแผ่น DVD-5 และแผ่น DVD-9 เท่านั้น เพราะด้วยความจุก็สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไปด้วย
ภาพจาก : https://www.amazon.com/Verbatim-DVD-R-4-7GB-Recordable-Media/dp/B00081A2KY
ส่วนแผ่นบลูเรย์ (Blu-Ray Disc) เป็นจานแสงบันทึกข้อมูลที่มีความจุที่สูงกว่าแผ่น DVD ทั่วไปอยู่พอสมควร โดยแผ่น Blu-Ray มีทั้งความจุ 25 GB. (แผ่น 1 ชั้นเก็บข้อมูล) และความจุ 50 GB. (แผ่น 2 ชั้นเก็บข้อมูล) และยังรองรับไฟล์ความละเอียดสูงกว่า DVD อีกด้วย ปัจจุบัน แผ่นบลูเรย์ยังใช้กับเครื่องฉายภาพยนตร์ความละเอียดสูง เกมคอนโซลบางประเภท เช่น Sony PlayStation 5 เป็นต้น
ภาพจาก : https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C
แผ่น Blu-Ray ถูกพัฒนาโดยกลุ่ม Blu-ray Disc Association (BDA) ส่วนชื่อ Blu-Ray นั้น มีที่มาจากเลเซอร์แสงสีน้ำเงิน ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นนั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของแผ่น Blu-Ray สามารถรองรับคอนเทนต์ที่มี ความละเอียดหน้าจอสูงถึง 1080p (Full HD) เลยทีเดียว
ภาพจาก : https://www.sony.co.th/th/electronics/blu-ray-disc-players/bdp-s1500
ส่วนใครที่เห็นชื่อ "แผ่น HVD" หรือที่ย่อมาจาก "Hologram Versatile Disc" แล้วไม่คุ้นตา ก็ไม่ต้องสงสัย เพราะนี่เป็นเทคโนโลยีจานแสงความจุสูงระดับเทราไบต์ (TB.) ภายใต้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 เซนติเมตร โดยแผ่น HVD ใช้เทคนิคการอ่าน-เขียนข้อมูลที่เรียกว่า Collinear Holography ใช้ลำแสงสีน้ำเงิน-เขียว-แดงอ่านข้อมูลโฮโลแกรม แบ่งออกเป็นลำแสงสีน้ำเงิน-เขียวอ่านข้อมูลเข้ารหัสบนชั้นผิวโฮโลกราฟ ส่วนลำแสงสีแดงใช้อ่านข้อมูล Servo ตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของหัวอ่านแผ่น HVD บนชั้นอะลูมิเนียมแบบแผ่น CD ทั่วไป
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Holographic_Versatile_Disc
แผ่น HVD ในยุคแรก ๆ มีความจุ 150-300 GB. วางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ.2549) แต่ด้วยราคาแผ่น HVD สูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,800 บาท) ซึ่งเทคโนโลยีแผ่น HVD อยู่ภายใต้องค์กร HVD Alliance ที่เป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทฮิตาชิ ฟูจิ มิตซูบิชิ และบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ
องค์กรนี้วางแผนไว้ว่า เปิดตัว HVD 500 GB. ภายในต้นปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) เปิดตัวเครื่องบันทึกภาพสำหรับแผ่น HVD ภายในปี ค.ศ.2009 (พ.ศ.2552) และแผ่น HVD 2 TB. ภายในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) ซึ่งปัจจุบัน แผ่น HVD มีความจุสูงถึง 3.9 TB. ถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็ว 1 กิกะบิต/วินาที เรียบร้อยแล้ว
โครงสร้างของแผ่น HVD
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5
ส่วนใครที่ไม่คุ้นชื่อ "แผ่น AD" หรือที่ย่อมาจาก "Archival Disc" ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนี่เป็นแผ่นดิสก์ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างโซนี่ (Sony) และพานาโซนิค (Panasonic) ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2014 (พ.ศ. 2557) และเปิดตัวครั้งแรกในไตรมาสสองของปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ.2558) ซึ่งแผ่น AD ถูกพัฒนาเพื่อให้ทนทานต่อความชื้น และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นจึงมีอายุการใช้งาน ที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างยาวนาน มากกว่า 50 ปี จึงเป็นเหตุให้เขาเรียกว่า "แผ่นดิสก์จดหมายเหตุ" นั่นเอง
แผ่น AD แบ่งออกเป็น 3 รุ่นหลัก ๆ ตามความจุหลัก ๆ ดังนี้
ปัจจุบัน แผ่น AD ยังถูกพัฒนาโดย Sony และ Panasonic เช่นเคย ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ทาง Sony จัดส่ง Sony Gen3 PetaSite Optical Disc Archive ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความจุมากถึง 2.9 ล้าน GB. (เท่ากับ 29 TB.) เลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) ที่แผ่น CD กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ เพราะ CD ในขณะนั้นสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่าฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ PC เสียอีก ขณะที่ราคาของแผ่น CD อยู่ในระดับที่สามารถซื้อได้ง่าย ถูกจัดเป็นสินค้าอุปโภคทั่วไป ประกอบกับยอดขาย CD เพลง แผ่น CD-ROM และแผ่น CD-R ทั่วโลกมียอดขายถึง 3 หมื่นล้านแผ่น แถมพุ่งสูงขึ้นถึง 2 แสนล้านแผ่นทั่วโลก ภายในปี ค.ศ 2007 (พ.ศ. 2550)
เว็บไซต์ BBC ทางฝั่งอังกฤษให้ข้อมูลไว้ว่า ยอดขายแผ่น CD ลดลงถึง 25% ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) และในปีถัดมา ยอดขายแผ่น CD ตกลงถึง 10 ล้านชิ้น แต่ ณ ปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้งานแผ่น CD แผ่น DVD และแผ่นบลูเรย์อยู่ แม้จะไม่แพร่หลายเท่าเมื่อก่อนก็ตาม
ภาพจาก : https://unsplash.com/photos/iqELIpzpARI
อย่างไรก็ตาม การที่แผ่น CD แผ่น DVD ได้รับความนิยมลดลง ส่วนหนึ่งมาจากคอนเทนต์ ความบันเทิงที่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการสตรีมมิ่งออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่วนการทำงาน รับ-ส่งข้อมูลก็เปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์เก็บข้อมูล เช่น Google Drive, OneDrive แทน ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า ได้พื้นที่มากกว่าในราคาย่อมเยา
การใช้งานแผ่น CD แผ่น DVD และแผ่น Blu-Ray ก็ยังอยู่ในการใช้งานบางแบบ เช่น การดูหนัง เล่นเกม การส่งไฟล์ข้อมูล ซึ่งก็คงอีกนานกว่าที่แผ่นเหล่านี้จะหายไปจากโลกนี้อย่างถาวร
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |
ความคิดเห็นที่ 1
16 กันยายน 2557 09:24:44
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
GUEST |
บูม
ำปนกดกเะ่า
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||