เชื่อว่า "แอป Sheets" น่าจะเป็นหนึ่งในบริการของ Google ที่ใครหลายคนนิยมใช้งานสเปรดชีต (Spreadsheet) หรือแผ่นตารางทำงานกัน แน่นอนว่า มันมีความสามารถไม่แพ้ โปรแกรม Excel ของ Microsoft เลย แถมยังใช้งานฟรี ที่สำคัญคือมันเป็น บริการคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสลับการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
อ่านบทความ : Excel กับ Sheets เลือกใช้งานอะไรดี ?
โดยบทความนี้เราก็เลยมีสูตรน่าสนใจสำหรับใช้งานบน Google Sheets มาแนะนำกัน จะมีสูตรอะไรบ้างมาดูกันเลย
หมายเหตุ เราคัดเลือกสูตรที่น่าสนใจมาเพียงบางสูตรเท่านั้น Google Sheets มีสูตรให้ใช้งานเพียบ สามารถดูข้อมูลทั้งหมดได้ที่ : https://support.google.com/docs/table/25273?hl=en&ref_topic=3105411
โดยปกติแล้ว เวลาจะใส่ภาพลงใน Cell คนส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้วิธี "อัปโหลดรูป" ซึ่งมันก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดอะไร แต่มันก็ค่อนข้างเสียเวลามากทีเดียว เพราะต้องคลิกเข้าเมนูหลายชั้น ซึ่งมันมีอีกวิธี คือ การใส่ URL หรือที่อยู่ของภาพเข้าไปใน Cell โดยตรงเลย
คำสั่งสำหรับใส่รูปลงใน Cell จะมีรูปแบบดังนี้
IMAGE(url, [รูปแบบ], [ความสูง], [ความกว้าง]) |
ในส่วนของรูปแบบ จะมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ 1,2,3,4
หากมี Cell ที่มีข้อมูลอยู่หลายชนิดในนั้น แล้วเราต้องการแยกข้อมูลออกมาเช่นจาก วันเวลา ให้ช่องหนึ่งเป็นวัน และช่องหนึ่งเป็นเวลา หรือชื่อนามสกุล ก็คลิกคลุมช่องที่เราต้องการแยก จากนั้นก็คลิกเลือก "เมนู" ตามด้วย "แบ่งข้อความเป็นคอลัมน์" มันก็จะแยกข้อมูลให้เราอัตโนมัติ แต่เราก็สามารถเลือกวิธีการแยกตามที่ต้องการได้เช่น แยกด้วย "," หรือแยกด้วยช่องว่าง
เราสามารถสร้าง QR Code ให้ข้อมูลภายใน Cell ได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้คำสั่ง
=image("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="&ชื่อCell) ตัวอย่างเช่น =image("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="&A1) |
สูตร UNIQUE() สามารถใช้คัดกรองข้อมูลที่ซ้ำกันได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้สูตร
=UNIQUE(cell ที่ต้องการ) |
เวลาที่เราต้องการนำข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของตาราง (อย่างในภาพด้านล่าง) บนเว็บไซต์ต่างๆ มาใช้บน Google Sheets การจะมานั่ง คัดลอกและวาง (Copy & Paste) ทำเองทีละ Cell คงไม่สนุกแน่ ๆ
อย่างเช่น ในหน้า https://tips.thaiware.com/1339.html นี้ จะมี ตารางอยู่ 4 ตาราง (ในภาพด้านล่างเป็นตารางที่ 3)
Google Sheets จะมีสูตรสำหรับดึงตารางมาให้เราใช้อยู่แล้ว นั่นก็คือ คำสั่ง IMPORTHTML( ) หรือ IMPORTXML( ) รูปแบบคำสั่ง คือ
IMPORTHTML(URL, query, index) ตัวอย่างสูตรการดึงตารางจากเว็บ Thaiware มาก็จะเป็น =IMPORTHTML("https://tips.thaiware.com/1339.html","table",3) |
หากหน้าเว็บนั้นมีตารางอยู่หลายอัน เราก็เปลี่ยนลำดับตารางจาก 1 เป็น 2, 3, ... แทน และถ้าหากอยากดึงลิสต์ก็สามารถใช้คำสั่ง List แทน Table ได้ด้วยนะ
ใน Sheets นั้นมีสูตรสำหรับตรวจด้วยนะว่า ภาษาใน Cell เป็นภาษาอะไร ? ด้วยการใช้สูตร
=DETECTLANGUAGE( ) |
อย่างไรก็ตามผลลัพธ์จะอยู่ในลักษณะของตัวย่อมาตรฐาน ISO 639-1 สามารถตรวจสอบการย่อได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_ISO_639-1_codes
ในเมื่อตรวจหาภาษาได้แล้ว จะแปลภาษาได้ด้วยก็ไม่แปลกอะไร โดยใช้สูตร
GOOGLETRANSLATE(Cell, "ภาษาเดิม", "ภาษาที่ต้องการ") ตัวอย่างเช่น =GOOGLETRANSLATE(A1, "th" , "en") |
สูตร ISEMAIL( ) สามารถใช้ตรวจข้อมูลใน Cell ได้ว่าเป็นรูปแบบอีเมลที่ถูกต้องหรือไม่ ด้วยสูตร
ISEMAIL( ) ตัวอย่างเช่น =ISEMAIL(A1) |
สูตร ISURL รูปแบบการทำงานเหมือนสูตรตรวจอีเมล แต่เปลี่ยนเป็นตรวจ URL แทน ด้วยสูตร
ISURL( ) ตัวอย่างเช่น =ISURL(A1) |
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
25 กุมภาพันธ์ 2563 17:19:34
|
||
พี่ค่ะ หนูจะกรองค่าที่ซ้ำกันใน google sheet ยังไงค่ะ
เลือกฉะเพราะตัวที่ซ้ำกัน ขอบคุณค่ะ |
||