โดยส่วนตัว ในยุคอินเทอร์เน็ตแบบนี้ เราเชื่อว่าเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทุกบ้านนิยมติดตั้ง เพื่อใช้ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi (ชื่อเต็ม "Wireless Fidelity") ช่วยให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม การจะติดตั้งเราเตอร์ให้สามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ก็ไม่ยาก หากว่าเราเข้าใจธรรมชาติของมัน
ในบทความนี้เราเลยจะมาแนะนำเทคนิคการติดตั้งเราเตอร์ หรือ วางเราเตอร์ ให้มันสามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดกันเลย โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 หัวข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
ก่อนจะไปเรื่องฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับวางเราเตอร์ เรามาทำความรู้จักกับ Wi-Fi แต่ละเวอร์ชันกันก่อน โดยที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้จะมีอยู่ 6 เวอร์ชันนะ (เวอร์ชัน 7 มีข่าวออกมาแล้ว แต่คาดว่ากว่าจะได้ใช้งานกันน่าจะปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567 โน่นเลย)
อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะรองรับ Wi-Fi 4 และ Wi-Fi 5 เป็นหลัก ส่วน Wi-Fi 6 ก็เริ่มมีใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ทั้งในสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์
Generation/IEEE Standard | อัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุด | เริ่มใช้งาน | ความถี่ |
---|---|---|---|
Wi‑Fi 6 (802.11ax) | 600-9608 Mbit/s | 2019 | 2.4/5 GHz |
Wi‑Fi 5 (802.11ac) | 433-6933 Mbit/s | 2014 | 5 GHz |
Wi‑Fi 4 (802.11n) | 72-600 Mbit/s | 2009 | 2.4/5 GHz |
Wi‑Fi 3 (802.11g) | 3-54 Mbit/s | 2003 | 2.4 GHz |
Wi‑Fi 2 (802.11a) | 1.5-54 Mbit/s | 1999 | 5 GHz |
Wi‑Fi 1 (802.11b) | 1-11 Mbit/s | 1999 | 2.4 GHz |
จากตารางด้านบนสังเกตว่า ความเร็วของ Wi-Fi แต่ละเวอร์ชันนั้นไม่เท่ากันนะครับ แน่นอนว่าเวอร์ชันใหม่ย่อมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเวอร์ชันเก่า ถ้าเชื่อม Wi-Fi แล้วรู้สึกเล่นอินเทอร์เน็ตได้ช้ามาก บางทีอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่สัญญาณไม่แรง แต่เกิดจากการที่คุณเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่เป็นเวอร์ชันเก่าอยู่ก็เป็นได้
โดยธรรมชาติแล้วเราเตอร์จะปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ออกมารอบตัวเครื่อง โดยมีเราเตอร์เป็นจุดศูนย์กลาง และเมื่อคลื่นถูกปล่อยออกจากเสาแล้ว คลื่นจะวิ่งต่ำลงสู่ด้านล่าง
ดังนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมกับการวางเราเตอร์จึงควรจะอยู่บริเวณตรงกลางบ้าน และติดตั้งในตำแหน่งที่สูงที่สุดเท่าที่จะติดตั้งได้ ในกรณีที่บ้านมีหลายชั้นก็อาจจะพิจารณาจากชั้นที่เราใช้งานเป็นหลัก และเขยิบตำแหน่งที่จะติดตั้งเราเตอร์มาให้ใกล้กับบริเวณที่เราทำงานเป็นหลักก็ได้
ภาพจาก https://blog.roku.com/en-gb/8-tips-to-improve-your-wireless-internet-connection
หากเราเตอร์ที่คุณใช้ออกแบบมาให้เสาส่งสัญญาณอยู่ภายใน (Internal antenna) เราก็ควรพยายามวางมันในแนวที่มันออกแบบมา สมมติเช่น เราเตอร์มีขาเพื่อให้เราวางในแนวตั้ง เราก็อย่าจับมันวางในแนวนอน อะไรทำนองนั้น แต่เราเตอร์บางรุ่นอาจจะมีขาวางให้หลายด้าน ก็แสดงว่าเขาออกแบบมาให้วางได้อย่างอิสระ ถ้าเป็นแบบนั้นก็วางทิศทางตามใจชอบได้เลย
ส่วนเราเตอร์ที่มีเสาภายนอก (ส่วนใหญ่ที่ใช้กันน่าจะเป็นแบบนี้) Alf Watt อดีตวิศวกรด้าน Wi-Fi ของ Apple ได้ให้คำแนะนำว่า ควรตั้งเสาให้เป็นมุมฉาก อันนึงแนวตั้ง และอันนึงแนวนอน เนื่องจากตัวรับคลื่นวิทยุจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อทั้งตัวรับ (Client) และตัวส่ง (Access point) อยู่ในระนาบเดียวกัน
ซึ่งอุปกรณ์ที่เป็น Client แต่ละรุ่นก็มีการออกแบบที่แตกต่างกัน บางรุ่นวางตัวรับสัญญาณในแนวตั้ง บางรุ่นวางในแนวนอน การที่เราจัดเสาเราเตอร์ในรูปแบบนี้ ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์จะสามารถรับสัญญาณ Wi-Fi ได้ดีที่สุดแน่ๆ
ภาพจาก https://www.macobserver.com/tmo/answers/4-wi-fi-tips-from-former-apple-wi-fi-engineer
แม้เราจะระบุว่า จุดศูนย์กลางของบ้าน คือ ตำแหน่งที่ดีที่สุดในการติดตั้งเราเตอร์ แต่มันก็มี "อุปสรรค" อื่น นอกเหนือไปจากพวกเสา หรือเฟอร์นิเจอร์ที่จะบังสัญญาณแล้ว ต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกันนะครับ
Wi-Fi นั้นใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งสัญญาณ ซึ่งถูกรบกวนได้ง่ายเมื่อมันเจอกับกำแพง หรือพื้นที่มีความหนา ยิ่งมีกำแพงขวางกั้นระหว่างคุณ กับเราเตอร์มากเท่าไหร่ สัญญาณก็จะอ่อนแรงมากขึ้นเรื่อย ดังนั้น ตำแหน่งที่ดีในการวางเราเตอร์จึงไม่ควรมีอะไรกีดขวาง หรือถ้ามีก็ควรจะน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ภาพจาก https://www.hellotech.com/blog/the-best-place-to-put-your-wifi-router
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหลายชนิด ก็ส่งผลกระทบต่อสัญญาณ Wi-Fi ได้นะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เตาไมโครเวฟ" เนื่องจากมันจะปล่อยคลื่นที่อยู่ในย่าน 2.4 GHz ออกมาขณะทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านความถี่ที่เราเตอร์ใช้ในการรับส่งสัญญาณ Wi-Fi ด้วย หากเราวางเราเตอร์ไว้ใกล้กับเตาไมโครเวฟ สัญญาณก็จะตีกันเอง ทำให้สัญญาณ Wi-Fi อ่อนแรงลงได้
นอกจากเตาไมโครเวฟแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีก ที่ส่งผลกระทบต่อสัญญาณ Wi-Fi ได้ ซึ่งก็จะเป็นพวกอุปกรณ์ที่มีการปล่อยคลื่นวิทยุออกมาขณะทำงาน อย่างเช่น
ภาพจาก https://flic.kr/p/vmGJ9N
น้ำในตู้ปลาก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ส่งผลต่อการเดินทางของสัญญาณ Wi-Fi รวมถึงพื้นผิวที่มีความสะท้อนแสงด้วย เพราะเมื่อสัญญาณตกกระทบมันจะถูกกระจายให้สัญญาณอ่อนแรงลง แน่นอนว่ารวมไปถึงพวกกระจกหน้าต่าง, กระจกเงา, โต๊ะสแตนเลสเงา ฯลฯ อะไรพวกนั้นด้วย
ภาพจาก https://www.mantarayofhope.com/6-tips-for-setting-up-a-new-fish-tank/
ในกรณีที่บ้านเรามีพื้นที่กว้าง, มีหลายชั้น หรืออุปสรรคเยอะ การจะให้ Wi-Fi สามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมด้วยเราเตอร์เพียงตัวเดียวเป็นเรื่องยากมาก ในปัจจุบันนี้ก็จะมีทางแก้ปัญหาอยู่ 2 วิธี คือ
ทั้งสองอย่างนี้มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ช่วยขยายระยะสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น แต่ทั้งคู่มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันนะ
ข้อดี
| ข้อเสีย
|
Wi-Fi extender เป็นอุปกรณ์ที่จะรับสัญญาณ Wi-Fi จากพื้นที่อื่นมาปล่อยซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขยายระยะให้ไกลขึ้น (เหมือนปลั๊กไฟเรายาวไม่พอ แล้วเราเลยต้องต่อปลั๊กพ่วงเพิ่มน่ะ)
ในการใช้งาน Wi-Fi extender จะต้องเชื่อมต่อกับเราเตอร์ตัวเดิมผ่านสาย Ethernet หรือ Wi-Fi เพื่อสร้างเครือข่ายแยกออกมาใหม่ที่มีสัญญาณแรงขึ้น
ภาพจาก https://www.amazon.co.uk/Wodgreat-Wireless-Repeater-Amplifier-Universal/dp/B081RBSBND
ข้อดี
| ข้อเสีย
|
Mesh network เป็นระบบ Wi-Fi ในบ้าน ที่จะใช้เราเตอร์หลายตัวกระจายทั่วบ้าน เพื่อทำตัวเป็น Node แยกกัน ซึ่งแต่ละ Node จะมีการเชื่อมต่อหากันเพื่อขยายสัญญาณ W-Fi ให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น ซึ่ง Multi-node จะมาแทนที่ระบบเครือข่าย Wi-Fi เดิมของเราเลย (Wi-Fi extender เป็นการสร้างเครือข่ายใหม่จากเครือข่ายเดิม)
ภาพจาก https://www.wsj.com/articles/kill-your-wi-fi-dead-zones-the-best-mesh-systems-for-your-home-1544027154
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
15 กรกฎาคม 2563 13:01:04
|
||
GUEST |
KuLiKo
เขียนเข้าใจง่ายมากครับ ขอบคุณสำหรับบทความ
|
|