การทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือ การเรียนจากที่บ้าน (Study from Home) ถือเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่เข้ามามีส่วนอย่างมากกับชีวิตเราในปัจจุบัน ซึ่งการเรียน การสอน หรือการประชุมงานยามเช้านั้นหลายๆ คนก็คงจะประสบกับปัญหา “ห้องรก” จนไม่อยากให้เพื่อนร่วมงานหรืออาจารย์เห็น ซึ่งถ้าหากเป็นวิชาที่อาจารย์ใจดีก็ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรนักเพราะสามารถที่จะเลือก "ปิดกล้อง" ได้ แต่บางครั้งที่ไม่สามารถจะปิดกล้องได้นั้น การมีภาพพื้นหลังมาปิดบังความรกของห้องก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีเช่นกัน
ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) สำหรับประชุมงานหรือเรียนออนไลน์ต่างๆ นั้นมีฟีเจอร์นี้อยู่ แต่อาจยังไม่ทราบว่ามันเปิดใช้ยังไงบ้าง วันนี้เราก็เลยนำเอาวิธีการเปลี่ยนภาพพื้นหลังของบริการต่างๆ อย่าง Zoom Meeting, Microsoft Team และ Google Meet ที่เป็นบริการยอดนิยมของคนทำงาน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ มาฝากกัน มาดูเลย
บริการยอดนิยมอย่าง Zoom Meeting นั้นถือได้ว่าเป็นเป็นเจ้าแรกๆ ที่เปิดให้ใช้งานฟีเจอร์นี้กันเลยก็ว่าได้ โดยผู้ใช้สามารถที่จะเลือกเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้ทั้งภาพพื้นหลังเสมือน (Virtual Background) ที่มีให้ในระบบ หรือ การอัปโหลดภาพด้วยตนเอง
สั่งซื้อบริการ Zoom Meeting สำหรับองค์กรจาก Thaiware :
Zoom Meeting คืออะไร ? พร้อมวิธีสมัคร Zoom Meeting ด้วยตัวเอง และวิธีใช้งานเบื้องต้น
โดยการอัปโหลดภาพพื้นหลังด้วยตนเองนั้นจะรองรับการอัปโหลดภาพทั้งไฟล์ JPG, GIF และไฟล์ (24 บิต) PNG เลยทีเดียว (ภาพ PNG ที่พื้นหลังเป็นแบบโปร่งใสจะมีการแสดงผลเป็นสีขาว) และขนาดที่แนะนำในการใช้งานจะอยู่ที่ 960 x 1920 พิกเซล (16:9) รองรับขนาดไฟล์สูงสุดที่ 5 MB.
1. เปิดใช้งานและล็อกอิน Zoom บน PC จากนั้นไปที่หน้าการตั้งค่า (ไอคอนรูปเกียร์)
2. ไปที่ "เมนู Virtual Background" เพื่อเลือกภาพพื้นหลังจำลอง และจะเห็นได้ว่ามีรูปพื้นหลังบางส่วนที่ผู้ใช้สามารถกดเพื่อเลือกใช้งานได้เลย
3. หากต้องการอัปโหลดรูปภาพที่ต้องการใช้งานด้วยตนเองให้กดไปที่ [ + Add Image / Add Video ] และเลือกรูปหรือวิดีโอที่ต้องการเพื่ออัปโหลดก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว
ภาพจาก : https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/210707503-Virtual-Background
4. เมื่อเลือกรูปที่ต้องการได้แล้วให้ "กด Join with Video" เพื่อทำการเริ่มประชุม (เข้าประชุม) จะเห็นว่าภาพพื้นหลังได้เปลี่ยน
และสำหรับผู้ที่มีฉากเขียวกรีนสกรีน (Green Screen) ให้เลือกที่ "ช่อง I have a green screen" ด้านล่างเพื่อให้การประมวลผลภาพสมจริงมากยิ่งขึ้นได้
เมื่อผู้ใช้กดไปที่เมนูเพิ่มเติม [ ^ ] ของวิดีโอและเลือก "เมนู Choose a Virtual Background" ก็จะปรากฏหน้าเมนูเลือกพื้นหลังขึ้นมา จากนั้นก็สามารถเลือกภาพพื้นหลังที่ต้องการได้ทันที
บน Microsoft Team นั้น นอกจากผู้ใช้จะสามารถเลือกเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้ทั้งภาพพื้นฐานในระบบและการอัปโหลดรูปด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถเลือกที่จะ “เบลอพื้นหลัง” ได้อีกด้วย
ภาพจาก : https://www.microsoft.com/en-us/microsoft-365/blog/2020/04/09/remote-work-trend-report-meetings/
กดที่เมนูเพิ่มเติม [ ⋯ ] กลางหน้าจอและเลือกที่ Show Background Effect ก็จะขึ้นหน้าจอ Background Setting มาให้เลือกบริเวณด้านขวามือของหน้าจอ แต่ภาพพรีวิวจะอยู่ในกรอบเล็กๆ ด้านขวาล่างของเมนู Background Setting จากนั้น "กด Apply / Apply and turn on video"
ภาพจาก : https://sea.pcmag.com/how-to-work-from-home/37163/how-to-change-your-background-in-microsoft-teams
สำหรับ Google Meet เองก็มีทั้งการเปลี่ยนภาพพื้นหลังของระบบ, อัปโหลดภาพ และเบลอพื้นหลังคล้ายกับบน Microsoft Team แต่ผู้ใช้จะสามารถเลือกระดับการเบลอพื้นหลังได้ทั้งการเบลอทั้งหมดและเบลอพื้นหลังเพียงบางส่วน
Google Meet คืออะไร ? พร้อมวิธีสมัครใช้งาน Google Meet ด้วยตนเอง และประชุมออนไลน์ง่ายๆ
ผู้ใช้สามารถกดที่เมนูเพิ่มเติม [ ⋮ ] และเรียกใช้เมนูเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้ตามต้องการเหมือนกับก่อนเริ่มเข้าประชุม (ระบบจะเปิดกล้องให้อัตโนมัติเมื่อเปลี่ยนภาพพื้นหลัง)
ส่วนใครที่คิดว่าแค่การเปลี่ยนพื้นหลังมันดู “ธรรมดา” เกินไปแล้วละก็ การเพิ่มสีสันระหว่างการเรียนหรือประชุมงานด้วย Snap Camera ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะฟีเจอร์ของ Snap Camera นี้มีทั้งฟิลเตอร์ หรือลูกเล่นที่สามารถแต่งหน้า, เพิ่มพร็อพประกอบฉาก, เปลี่ยนภาพพื้นหลัง หรือเพิ่มเอฟเฟคต่างๆ ก็มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้งยังสามารถใช้งานร่วมกับบริการ Video Conference ได้อย่างครอบคลุม
โดยหลังจากที่ผู้ใช้ทำการ ติดตั้ง Snap Camera แล้วนั้นก็สามารถทดลองเล่นฟิลเตอร์ต่างๆ ได้เลย และหากต้องการใช้งานฟิลเตอร์ Snap Camera ขณะประชุมหรือเรียนออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting, Google Meet, Microsoft Team และบริการอื่นๆ ก็สามารถทำได้โดยการเลือกปรับการตั้งค่ากล้องที่เมนูการตั้งค่า (Setting) จากนั้นกดไปที่ Camera/ Device → Snap Camera ก็จะสามารถเรียกใช้ฟิลเตอร์ต่างๆ ของ Snap Camera ได้แล้ว (โดยที่ผู้ใช้จะต้องเปิดโปรแกรม Snap Camera ควบคู่กันไปด้วย)
หรือหากต้องการใช้งาน โปรแกรม Snap Camera เป็นค่าเริ่มต้นของการเปิดใช้งานกล้องก็สามารถเข้าไปตั้งค่าบนโปรแกรม Snap Camera ได้โดยไปที่หน้าจอการตั้งค่า (Setting) และกดเปิดการทำงานของ Run Snap Camera on System Startup
ภาพจาก : https://sea.pcmag.com/videoconferencing/38250/how-to-use-snapchat-filters-on-zoom
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |