ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ บลูทูธ (Bluetooth) เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่แพร่หลาย และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนวัตกรรมน่าสนใจล่าสุดที่ได้รับการเพิ่มเข้าไปคือ "Auracast" คุณสมบัติใหม่ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงการส่งสัญญาณเสียงผ่าน Bluetooth ได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
บทความนี้จะพาทุกท่านมารู้จักเทคโนโลยี Auracast ว่ามันคืออะไร ? มีประโยชน์ และการประยุกต์ใช้งานที่สามารถพลิกโฉมการสื่อสารในอนาคตได้อย่างไรบ้าง ?
ลองจินตนาการว่า เรากำลังนั่งรอไฟลต์บินอยู่ในสนามบินที่เต็มไปด้วยผู้คนกำลังรอขึ้นเครื่องบินอยู่ แล้วมองไปที่กลุ่มคนจำนวนมากที่กำลังนั่งล้อมรอบจอโทรทัศน์เพื่อดูการแข่งขันกีฬาที่น่าตื่นเต้น แต่ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เพราะทีวีในสนามบินจะเปิดให้ชมแค่ภาพ แต่ไม่ได้เปิดเสียงเอาไว้ด้วย แต่ด้วยเทคโนโลยี Auracast ทุกคนที่มีหูฟังบลูทูธจะสามารถเชื่อมต่อไปที่จอโทรทัศน์เพื่อฟังเสียงได้
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 (พ.ศ.) Bluetooth Special Interest Group (SIG) เป็นองค์กรที่ดูแลเทคโนโลยี Bluetooth ได้ประกาศมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า "Bluetooth Low Energy Audio (LE Audio)" ออกมา ซึ่งถือเป็นการอัปเดตครั้งใหญ่ของเทคโนโลยีการส่งสัญญาณเสียงผ่านอุปกรณ์ Bluetooth
โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงาน} ลดความล่าช้า (ดีเลย์) และเพิ่มคุณสมบัติใหม่ที่ทั้งผู้ผลิต และผู้ซื้ออุปกรณ์เสียงสามารถใช้ประโยชน์จาก Bluetooth ได้มากขึ้น หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การมาถึงของ โปรโตคอล (Protocol) สำหรับการกระจายสัญญาณเสียง ทำให้เกิดรูปแบบการแชร์เสียงใหม่
การกระจายสัญญาณเสียงแบบใหม่นี้ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเปิดเมนู Bluetooth เพื่อจับคู่ระหว่างอุปกรณ์สองชิ้นด้วยกันเหมือนที่เราเคยเชื่อมระหว่างสมาร์ทโฟน กับหูฟังไร้สาย แต่อุปกรณ์ Bluetooth จะกระจาย หรือรับสัญญาณเสียงเหมือนกับการทำงานของ วิทยุ AM หรือ FM แบบดั้งเดิม ทาง SIG ได้ตั้งชื่อคุณสมบัติการกระจายสัญญาณเสียงแบบใหม่นี้ว่า "Auracast Broadcast Audio"
อันที่จริง Auracast ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่สักทีเดียว เพราะมันเป็นการนำเอาคุณสมบัติ Audio Sharing มาพัฒนาคุณสมบัติการทำงานให้ดีกว่าเดิม แล้วรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อใหม่
ภาพจาก : https://www.bluetooth.com/wp-content/uploads/2024/05/2403_Auracast_Overview.pdf
Auracast มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ ตัวส่งสัญญาณ (Transmitter), ตัวรับสัญญาณ (Receiver) และผู้ช่วย (Assistant) บางอุปกรณ์สามารถทำหน้าที่ทั้งหมดนี้ได้ ในขณะที่บางอุปกรณ์อาจจำกัดไว้เพียง 1 หรือ 2 องค์ประกอบเท่านั้น
สองส่วนแรกการทำงานค่อนข้างชัดเจนตามชื่อของมันเลย โดยอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณ Auracast ผ่าน Bluetooth LE ได้ จะเรียกว่า "ตัวส่งสัญญาณ" ในขณะที่ "ตัวรับสัญญาณ" จะสามารถเชื่อมต่อกับการส่งสัญญาณนั้นเพื่อให้คุณได้ยินเสียงที่มาจากตัวส่งได้
ส่วน "ผู้ช่วย" จะทำหน้าที่เป็น อินเตอร์เฟส (Interface) ในการค้นหา และเชื่อมต่อกับการส่งสัญญาณเหล่านั้นในกรณีที่ตัวรับสัญญาณที่คุณมีไม่สามารถค้นหาคลื่นที่ต้องการเชื่อมต่อได้นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.bluetooth.com/auracast/how-it-works/
ยกตัวอย่างเช่น
ภาพจาก : https://www.digitaltrends.com/home-theater/bluetooth-auracast-le-audio-lc3-codec/#dt-heading-what-is-auracast
Auracast จะใช้ Codec "LC3" ซึ่งเป็นข้อกำหนดของอุปกรณ์ Bluetooth LE Audio ทุกชนิดในการทำงาน ข้อดีของ LC3 คือ ความหน่วงที่ต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า การกระจายสัญญาณเสียงจะไม่มีปัญหาเรื่องภาพไม่ตรงกับเสียง เวลาที่รับชมวิดีโอ หรือการบรรยายต่าง ๆ
การกระจายสัญญาณเสียงของ Auracast ยังมีการแบ่งคุณภาพออกเป็น 2 ระดับ คือ มาตรฐาน และคุณภาพสูง
จะสามารถทำงานได้ทั้งในฝั่งตัวส่ง และตัวรับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานที่ครอบคลุม แม้แต่อุปกรณ์ช่วยฟังที่ใช้พลังงานต่ำ ก็สามารถถอดรหัสการกระจายสัญญาณระดับมาตรฐานได้
สามารถส่งสัญญาณเสียงคุณภาพสูงถึงระดับ แผ่น CD สำหรับใช้งานในเวลาที่ต้องการความละเอียดที่ดีที่สุด หากอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณรองรับสัญญาณคุณภาพสูง เราก็จะสามารถตั้งค่าเป็นระดับนี้ได้
สำหรับอุปกรณ์ที่จะสามารถใช้งาน Auracast ได้ จะต้องรองรับ Bluetooth 5.2 หรือใหม่กว่า ซึ่งหูฟัง และลำโพงไร้สายรุ่นใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ก็ใช้เวอร์ชันนี้กันแล้ว และต้องรองรับการทำงานของโปรไฟล์ Public Broadcast Profile (PBP) ที่อยู่ในมาตรฐาน LE Audio ด้วย อย่างไรก็ตาม การที่อุปกรณ์รองรับ Bluetooth 5.2 ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะรองรับ Auracast เสมอไป
วิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างแน่นอนคือ การตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ผลิตระบุไว้ โดยให้มองหาสัญลักษณ์ Auracast บนกล่องผลิตภัณฑ์
ภาพจาก : https://www.amazon.com/Moerlab-hearClear-Bluetooth-Seamlessly-Effortless/dp/B0CYBCYM3V
อย่างไรก็ตาม ถึงอุปกรณ์จะบอกว่ารองรับ Auracast ได้ แต่เรื่องน่าปวดหัวคือ เรามาต้องดูด้วยว่า มันทำอะไรได้ เพราะอย่างที่เราได้อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้ Auracast มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ
มีหลากหลายชนิด เช่น โน้ตบุ๊ก (Notebook), สมาร์ทโฟน, ลำโพง Bluetooth, ไมโครโฟนไร้สาย, สมาร์ททีวี (Smart TV) ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังมีอุปกรณ์อีกหลายชนิดที่สามารถทำหน้าที่นี้ได้
ตัวรับสัญญาณ (Receivers) โดยทั่วไปคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้คุณได้ยินเสียงจากตัวส่งสัญญาณได้ เช่น หูฟังรูปแบบต่าง ๆ, ลำโพง, ซาวด์บาร์ หรือแม้แต่เครื่องช่วยฟัง ก็นับเป็นตัวรับสัญญาณได้เช่นกัน
ผู้ช่วยของ Auracast คือ สิ่งที่สามารถแสดงข้อมูลการกระจายสัญญาณที่มีอยู่ในพื้นที่ได้ เหมือนกับการค้นหาจุดเชื่อมต่อ ไวไฟ (Wi-Fi) แต่ระยะทางของ Bluetooth มักจะสั้นกว่า
ผู้ช่วยไม่จำเป็นต้องเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเท่านั้น สมาร์ทวอทช์ก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้ ตราบใดที่มันมีการจับคู่กับหูฟังที่รองรับ Auracast
หรือมันอาจอยู่ในรูปแบบของฮาร์ดแวร์ที่เรียบง่าย อาจมีเพียงปุ่มเลื่อนช่องขึ้น/ลง ให้เราใช้เลื่อนดูการกระจายสัญญาณ Auracast ที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น หูฟังไร้สาย JBL Tour Pro 3 มีหน้าจอสัมผัสในกล่องชาร์จ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย Auracast ได้ นอกจากนี้ กล่องชาร์จของ Tour Pro 3 ยังสามารถใช้เป็นตัวส่งสัญญาณ Auracast ได้อีกด้วย ทำให้หูฟัง JBL นี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ไม่กี่ตัวในท้องตลาดที่สามารถทำหน้าที่ทั้งหมดของ Auracast ได้
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=RwsV_Cj9wmA
ไม่เพียงเท่านั้น SIG ยังระบุว่า ผู้ช่วย (Assistant) ของ Auracast ยังสามารถใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) ในการรับรายละเอียดของการกระจายสัญญาณ Auracast ได้ โดยการแตะที่แท็ก NFC หรือจะใช้การสแกน รหัสคิวอาร์ (QR Code) โค้ดด้วยสมาร์ทโฟนก็สามารถทำได้เช่นกัน
Bluetooth แบบดั้งเดิม มักทำงานแค่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์หนึ่ง กับอีกอุปกรณ์หนึ่ง แต่ Auracast ช่วยให้การแชร์เสียงกับผู้ฟังจำนวนมากเป็นเรื่องง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น การส่งประกาศในสนามบิน, การใช้งานในสถานที่สาธารณะ, โรงเรียน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคตเราน่าจะเห็นการใช้งาน Auracast กันมากขึ้นอย่างแน่นอน ...
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |