นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) แพลตฟอร์ม แพลตฟอร์ม YouTube.com (ยูทูบดอทคอม) ได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จนในปัจจุบัน หากใคร ๆ พูดถึงเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวิดีโอ หรือ แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ ก็คงจะหนีไม่พ้นเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "แพลตฟอร์ม YouTube"
แพลตฟอร์ม YouTube นั้นมียอดผู้ใช้งานอยู่เป็นประจำมากกว่า 1 พันล้านรายในแต่ละวัน และ เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า ? ทุก ๆ 1 นาที จะมีผู้คนจากทั่วโลกอัปโหลดวิดีโอกว่า 500 ชั่วโมง ! ขึ้นไปบน แพลตฟอร์ม YouTube เพื่อแบ่งปัน และ เผยแพร่ ให้คนอื่น ๆ ที่อยู่มุมต่าง ๆ ได้รับชมวิดีโอผ่านทาง แพลตฟอร์ม YouTube กัน
ถึงแม้เราจะรู้ว่า แพลตฟอร์ม YouTube นั้นดัง และมีคนใช้งานเยอะมากแค่ไหน แต่สำหรับบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เมื่อเราอัปโหลดไฟล์วิดีโอขึ้นไปบน แพลตฟอร์ม YouTube จะเกิดกระบวนการอะไรบ้าง ? ซึ่งในบทความนี้เอง จะมาบอกเกี่ยวกับการทำงานของเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม YouTube ว่ามันทำงานอย่างไร วิดีโอที่มีเก็บอยู่ที่ไหน และขั้นตอนที่เกิดขึ้นของ แพลตฟอร์ม YouTube เป็นอย่างไร
แพลตฟอร์ม YouTube เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Google ทุก ๆ ไฟล์วิดีโอที่ถูกอัปโหลดขึ้นไปบน แพลตฟอร์ม YouTube จะถูกเก็บไว้ในสถานที่ ที่เรียกว่า ศูนย์เก็บข้อมูลกูเกิล (Google Data Center) ที่ทาง Google เอง ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง หลายประเทศทั่วโลกนั่นเอง
โดยสถานที่แห่งนี้จะมีการจัดการและดูแลด้วยเซิร์ฟเวอร์คุณภาพสูง ที่คงระดับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 27 องศาตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของเซิร์ฟเวอร์จะใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ ส่วนภายในมีการจัดการข้อมูลที่เข้มงวด มีการสำรองข้อมูลอย่างต่ำสองชั้น และมีการป้องกันภัยศูนย์ข้อมูลอย่างแน่นหนาอยู่หลายชั้น
วิดีโอบน แพลตฟอร์ม YouTube ถูกเก็บไว้ในศูนย์เก็บข้อมูลของ Google
ภาพตัวอย่าง : ศูนย์จัดเก็บข้อมูล Google Data Center แห่งหนึ่ง
ขอบคุณรูปภาพจาก : Google/Connie Zhou
ในส่วนของศูนย์ข้อมูล มันสามารถสื่อสารกันระหว่างศูนย์ข้อมูลแต่ละแห่งได้ เมื่อผู้ใช้งานทำการอัปโหลดไฟล์วิดีโอ ตัววิดีโอจะถูกส่งไปยังศูนย์ข้อมูลที่ใกล้ที่สุด และเมื่อมีผู้ชมเปิดดูวิดีโอตัววิดีโอจะถูกส่งไปยังศูนย์ข้อมูลที่ใกล้ผู้ชมเหล่านั้นมากที่สุด เพื่อให้การรับชมเป็นไปอย่างไหลลื่น เข้าถึงได้ง่าย หากเกิดกรณีที่ศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุ ก็ยังมีข้อมูลสำรองอยู่ที่อื่น ๆ อีก เป็นการป้องกันข้อมูลหายได้อีกด้วย
ทีนี้เรามาดูขั้นตอนการทำงานของแพลตฟอร์ม YouTube กันบ้าง เมื่อผู้ใช้งานอัปโหลด (Upload) และ มีผู้ชมดูวิดีโอ (Download) จะเกิดขั้นตอนอะไรขึ้น ? ซึ่งหลัก ๆ จะมีรายละเอียดดังนี้
ภาพตัวอย่าง : การทำงานของ แพลตฟอร์ม YouTube
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.howitworksdaily.com
ผู้สร้าง - อัปโหลด (Upload)
| ผู้ชมดู - ดาวน์โหลด (Download)
|
ผู้ใช้งาน แพลตฟอร์ม YouTube ทุกคนสามารถอัปโหลดวิดีโอได้ 15 นาที
และสูงสุดถึง 12 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ยืนยันตัวตน
จากที่เราได้เห็น ไม่ว่าเราจะเป็นผู้สร้างอัปโหลดวิดีโอ หรือ ผู้ชมที่ดาวน์โหลดวิดีโอ รับชมวิดีโอบน แพลตฟอร์ม YouTube ในเบื้องหลังนั้นก็มีขั้นตอนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายก่อนที่เราจะอัปโหลดวิดีโอ และ รับชมวิดีโอบน แพลตฟอร์ม YouTube ได้
เบื้องหลังการทำงานที่รวดเร็วของ แพลตฟอร์ม YouTube มีการใช้ระบบ CDN (Content Delivery Networks) เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงรับชมวิดีโอต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้เร็วยิ่งขึ้น แทนการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์หลัก
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.cloudflare.com/nl-nl/learning/cdn/what-is-a-cdn/
ถ้าใครสงสัยว่า CDN คืออะไร ? ระบบ CDN คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้จะเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตและเก็บข้อมูลไว้ระหว่างทางก่อนจะทำการส่งต่อข้อมูลไปยังผู้ใช้งานปลายทางให้เร็วที่สุด
ยกตัวอย่างวิดีโอที่มีผู้ชมเข้าดูเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การรับชมเป็นไปอย่างไหลลื่น ตัววิดีโอที่ได้รับความนิยมจะถูกเก็บไว้อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ผู้ชมเหล่านั้นมากที่สุด ทำให้การรับส่งข้อมูลทำงานได้ดีไม่มีสะดุด เป็นการแบ่งเบาภาระของการโหลดข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หลัก
การจะค้นหาวิดีโอนับล้านให้เจอวิดีโอที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องง่าย ทาง แพลตฟอร์ม YouTube จึงมีเครื่องมือการค้นหาที่ฉลาด เพื่อทำให้ผู้ใช้งานเจอวิดีโอที่ต้องการค้นหาทาง แพลตฟอร์ม YouTube ได้สร้าง อัลกอริทึม (Algorithm) ที่มีความซับซ้อนขึ้นมา ตัวระบบอัลกอริทึมจะทำหน้าที่ตัดสินใจว่าผลการค้นหารูปแบบไหนจะแสดงให้ผู้ชมเห็นและมีการโชว์อันดับก่อนหลัง จากรายการวิดีโอที่ไม่ซ้ำกันนับหมื่นนับแสนวิดีโอ จะถูกเรียงผลระบบนี้ก่อนจะแสดงให้เห็นผู้ชมเห็น
โดยหลัก ๆ แพลตฟอร์ม YouTube จะให้ความสำคัญกับ ความสัมพันธ์ของเนื้อหา, การมีส่วนร่วม, และ คุณภาพ เพื่อเป็นการประเมินและคัดกรองเนื้อหา เพื่อเป็นผลลัพธ์ให้แก่วิดีโอที่ผู้ชมค้นหา ซึ่งเหตุผลนี้เองทำให้การค้นหาของแต่ละคนมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป
ยกตัวอย่าง เช่น การค้นหาคำที่มีหลายความหมาย อย่างคำว่า "Cricket" คำนี้เป็นได้ทั้งกีฬาคริกเก็ต และ เป็นได้ทั้งจิ้งหรีด หากผู้ใช้งานมีประวัติการรับชมวิดีโอเกี่ยวกับกีฬา การแสดงผลการค้นหาก็จะเจอกับวิดีโอกีฬา แทนที่จะเป็นวิดีโอเกี่ยวกับแมลงจิ้งหรีด นั่นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก : แพลตฟอร์ม YouTube.com
นอกจากนี้ ระบบอัลกอริทึม ยังเป็นระบบที่ช่วยเหลือในเรื่องการวิเคราะห์พฤติกรรมคนดูและหาผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ เพื่อจะเข้าไปปรับแต่งหน้าการแสดงผลวิดีโอ และแนะนำวิดีโอตามความสนใจที่แตกต่างกันไปของผู้ชมแต่ละคน เพื่อให้ผู้ชมได้พบเจอวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของผู้ใช้นั้น ๆ อยู่ตลอดเวลาได้อีกด้วย
ในเบื้องหลังของการคัดเลือกวิดีโอ นอกเหนือจากระบบอัลกอริทึมที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมคนดู ก็ยังมีระบบจัดการตรวจสอบเนื้อหาแบบอัตโนมัติ หากเนื้อหาใดมีความไม่เหมาะสม มีความรุนแรง สร้างความเกลียดชัง เป็นเนื้อหาที่ขัดต่อกฎและนโยบายของ แพลตฟอร์ม YouTube จะถูกลบออกจากเว็บไซต์ และ ระงับการใช้งานของผู้ใช้งาน
ยกตัวอย่าง วิดีโอที่มีการใช้ความรุนแรงต่อคน สัตว์ สิ่งมีชีวิต จะถูกระบบตรวจจับและทำการระงับการเผยแพร่ ในบางส่วนอาจจะมีการได้รับการรายงานจากผู้ใช้ สำหรับเนื้อหาที่สร้างความไม่เหมาะสมต่อประเทศของผู้ใช้งาน ก็จะถูกลบระงับการแสดงผลออกจาก แพลตฟอร์ม YouTube เพื่อเป็นการควบคุมความปลอดภัยของเนื้อหาให้เหมาะกับผู้ใช้งานทุกคน
ด้านลิขสิทธิ์ก็เช่นกัน ถ้าหากคลิปวิดีโอที่อัปโหลดขึ้นไปบน แพลตฟอร์ม YouTube มีการอัปโหลดซ้ำ หรือ ใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ นำมาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตัวแพลตฟอร์ม YouTube เองก็มีระบบตรวจสอบ ผ่าน Content ID ของเจ้าของเนื้อหา ซึ่ง จะใช้ระบบการสแกนวิดีโอเก่าที่มีอยู่ เพื่อระบุวิดีโอที่ตรงกัน หากตรวจพบวิดีโอที่ซ้ำกัน วิดีโอใหม่ที่อัปโหลดโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกแจ้งเตือน และระงับการใช้งานหากถูกแจ้งเตือนเกิน 3 ครั้ง
|
It was just an ordinary day. |