ถ้าคุณกำลังจะซื้อเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner) อาจเคยเห็นตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าว่า มันมี เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter Air Conditioner) และ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา (Non-Inverter Air Conditioner) สงสัยไหมว่า มันแตกต่างกันอย่างไร ? และที่สำคัญแบบที่มีระบบอินเวอร์เตอร์ ราคามักจะสูงกว่าด้วยสิ !
โดยหากมองเผิน ๆ ก็พบว่าทั้ง 2 ประเภทก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน แต่ลึก ๆ แน่นอนว่า การทำงานของมันแตกต่างกันในหลายด้าน ซึ่งบทความนี้เราจะมาแยกความแตกต่างระหว่างเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ และ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดากันครับ
มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ แล้วจะเลือกซื้ออย่างไร ให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน ลองอ่านกันดูได้เลย ...
เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา (Non-Inverter Air Conditioner) เป็นระบบที่ใช้การควบคุมอุณหภูมิห้อง ด้วยวิธีการ เปิด-ปิด การทำงานของระบบคอมเพรสเซอร์แอร์ (Compressor) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ทำความเย็นปรับอากาศให้เรานั่นเอง โดยระบบภายในคอมเพรสเซอร์แอร์ ชนิดนี้ จะไม่สามารถควบคุมการปรับระดับกำลังไฟได้
ภาพประกอบจาก https://ritepriceheatingcooling.com.au/rite-price-carrier-split-system-air-conditioner-pearl-range/
ดังนั้นเวลาเปิดแอร์ มันจึงทำได้แค่ปล่อยความเย็นคงที่ เพื่อปรับอากาศให้อุณหภูมิลดไปถึงจุดที่กำหนด จากนั้นจึงค่อยตัดไฟการทำงาน เพื่อพักรอบให้อุณหภูมิในห้องกลับเป็นปกติ และพอเริ่มสูงขึ้น ก็จะจ่ายไฟเปิดคอมเพรสเซอร์กลับมาทำงานปรับอุณหภูมิอีกครั้ง ทำงานวนไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้ตรงตามที่เราตั้งค่าไว้
ดังนั้น หมายความว่าตัว 'คอมเพรสเซอร์' จะมีการเปิด และ ปิดทำงานเป็นรอบ ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่คุณเปิดแอร์ ทำให้ต้องมีการตัดไฟบ่อย ๆ กินไฟมากขึ้น และ เป็นสาเหตุที่ค่าไฟบ้านคุณแพงครับ
และนอกจากจะกินไฟสูงแล้ว ทั้งหมดนี้คือลักษณะพิเศษของ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา (Non-Inverter Air Conditioner) ที่เราพบได้ ประกอบไปด้วย
เพราะมีการเปิด คอมเพรสเซอร์แอร์แรงสุดเพื่อทำความเย็นให้เร็ว และ มีการตัดไฟเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ดังนั้น จึงสังเกตว่าลักษณะของ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา จะมีการทำงานเสียงดัง เพราะจะมีเสียงตัดไฟ และ จ่ายไฟเปิดเครื่องคอมเพรสเซอร์ ดังออกมาเป็นระยะ ๆ
การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา จะปล่อยความเย็นสูงสุดตามหน่วย BTU ไม่สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ ดังนั้นถ้าใครอยากให้แอร์เย็นเร็ว ๆ แล้วคิดว่าปรับองศาต่ำ ๆ ไว้ก่อนจะมีผล คำตอบคือ ผิดครับ เพราะถึงแม้จะเปิด ความเย็นที่ 18 องศา หรือ 24 องศา การปรับระดับอุณหภูมิก็อยู่ในความเร็วคงที่ตามความสามารถ ไม่มีผลให้ห้องเย็นเร็วขึ้น
ถ้าคุณเคยสงสัยว่า เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา ทำไมบางทีก็ร้อน บางทีก็หนาว นั่นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกิดจากผลของระบบคอมเพรสเซอร์ที่ไม่สามารถปรับระดับการทำงานได้ นอกเสียจากมันจะพัง หรือ คุณเพิ่งเติมน้ำยาใหม่
ดังนั้นมันก็เลยจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิในระยะที่กว้างพอที่จะไม่ต้องเปิด - ปิดการทำงานบ่อย ๆ และ รักษาระดับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงตามที่กำหนด
https://101appliance.com/inverter-vs-non-inverter-aircon-is-it-worth-it/
จากภาพ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา จะมีการปล่อยความเย็นให้อุณหภูมิไปแตะในจุดต่ำกว่ากำหนดประมาณ 2 องศา หรือ มากกว่านั้น จากนั้นมันก็จะรออุณหภูมิกลับขึ้นมาสูงกว่าที่ตั้งไว้ 2 องศา และเปิดตัวคอมเพรสเซอร์ทำงานอีกครั้ง เป็นการรักษาระดับองศาให้ใกล้เคียงตามกำหนด โดยไม่ต้องเปิดปิดการทำงานบ่อย ๆ
กล่าวคือ หากคุณเปิดแอร์ที่ 24 องศา อุณหภูมิของห้องจะวิ่งอยู่ที่ 22 - 26 องศา หรืออาจกว้างกว่านั้น ดังนั้นสรุปก็คือการควบคุมอุณหภูมิของแอร์ธรรมดาจะแกว่ง ไม่คงที่ ทำให้บางครั้ง คุณจะรู้สึกเย็นฉ่ำกว่าปกติ หรือ บางทีก็ร้อน ๆ เหมือนพังเสียอย่างนั้น
ภาพประกอบจาก https://www.pippinbrothers.com/blog/article/can-i-replace-only-the-compressor-or-do-i-need-a-whole-new-air-conditioner
นอกจากการตัดไฟบ่อย ๆ จะกินไฟมากแล้ว การเค้นให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน และ ปิดตัวเอง ก็ทำให้มันเสียหายได้เร็วกว่าด้วย โดยสังเกตได้จากเวลาซื้อแอร์ระบบธรรมดา กับ แอร์อินเวอร์เตอร์ คุณจะเห็นว่าระยะเวลาการรับประกันคอมเพรสเซอร์ เครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา จะน้อยกว่า
อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา ก็เป็นแอร์ที่มีราคามิตรภาพ มากกว่า ถ้าคุณรู้ว่าซื้อมาจะไม่ได้ใช้บ่อยในระยะยาว มันก็จะตอบโจทย์แน่นอน
ภาพจาก https://www.thespruce.com/air-conditioning-chart-1152654
สำหรับ เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter Air Conditioner) นั้นแตกต่างกับอีกแบบ (แบบธรรมดา) เพราะถูกพัฒนาขึ้นมาทีหลัง ทำให้ระบบคอมเพรสเซอร์มีความสามารถในการควบคุมกำลังไฟได้ มันจึงสามารถปรับระดับ หรือ เร่ง รวมไปถึง ชะลอการทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้อง ตัดไฟ หรือ จ่ายไฟเปิดคอมเพรสเซอร์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิห้องเลย ดังนั้นข้อได้เปรียบของแอร์ชนิดนี้อย่างแรกก็คือ การประหยัดไฟที่มากกว่า โดยลักษณะพิเศษของ เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ประกอบไปด้วย
ด้วยความที่มันสามารถควบคุมกำลังไฟที่ตัว คอมเพรสเซอร์ได้ ดังนั้นการทำงานจึงแตกต่างจากอีกประเภท คือมันสามารถเร่งระดับการทำความเย็นได้สูงสุดเพื่อให้ อุณหภูมิไปแตะถึงจุดที่กำหนด จากนั้นก็ปรับกำลังไฟที่ตัวคอมเพรสเซอร์ เพื่อ ปรับระดับการทำงานให้เบาลงและรักษาระดับอุณหภูมิไว้ การทำงานจึงค่อนข้างมีเสียงเบากว่า
ภาพจาก https://www.inventorairconditioner.com/blog/faq/what-is-the-low-noise-level-indication-and-what-is-silent-mode-which-is-the-difference-of-those-two
เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นได้เร็วกว่าเครื่องระบบธรรมดา ที่มีค่า 'BTU' หรือ หน่วยทำความเย็นเท่ากัน นอกจากนี้การทำให้ห้องเย็นเร็วขึ้น ก็ยังขึ้นอยู่กับองศาที่เราเปิดด้วยเช่นกัน สมมติว่าเราเปิดแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ที่ 18 องศาเท่ากับแอร์ธรรมดา ห้องที่จะเย็นเร็วกว่า คือห้องที่ใช้ ระบบอินเวอร์เตอร์เพราะคอมเพรสเซอร์จะปรับระดับการทำงานสูงสุดเพื่อให้อุณหภูมิไปแตะองศาที่กำหนดได้เร็วขึ้น
เพราะความสามารถในการควบคุมระดับการทำงานของคอมเพรสเซอร์ได้นั่นเอง ทำให้ เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่กำหนดมากกว่า ซึ่งอาจจะต่ำหรือสูงกว่า 1 องศา เท่านั้น
ภาพจาก https://101appliance.com/inverter-vs-non-inverter-aircon-is-it-worth-it/
จากภาพ คือ มันจะเร่งการทำงานสูงสุด และค่อยชะลอตัวเมื่ออุณหภูมิถึงตามที่กำหนด และจะมีการเลี้ยงไฟรักษาระดับการทำความเย็นให้ใกล้เคียงกับที่ตั้งค่า ซึ่งจะทำให้ระดับอุณหภูมิคงที่และทำให้คุณรู้สึกสบายตัวมากกว่า
แน่นอนพอไม่ต้องตัดไฟบ่อย ๆ คอมเพรสเซอร์ก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป คอมเพรสเซอร์แอร์ ระบบอินเวอร์เตอร์จะมีระยะเวลารับประกันถึง 10 ปีเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามค่าซ่อมบำรุงก็จะสูงกว่าเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ มีราคาที่แพงกว่าอย่างชัดเจน เพราะด้วยเรื่องของฟังก์ชันต่าง ๆ ที่กล่าวมาแต่ถ้าเทียบความคุ้มค่า หากใช้งานบ่อย ๆ แล้ว ก็คุ้มที่จะเลือกใช้ครับ
แน่นอนว่าหากเป็นการใช้งานก็ต้องเลือกตามความเหมาะสม ถึงแม้ว่า ดูภายนอกแล้วเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์จะค่อยข้างมีประสิทธิภาพกว่าในทุกด้าน แต่หากคิดถึงต้นทุนด้านราคา และ ลักษณะการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็วิเคราะห์ได้ดังนี้
นั้นสรุปว่าเหมาะกับห้องที่ต้องการรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้สบายตัว และ ต้องการเปิดใช้งานต่อเนื่องยาวนาน และเป็นห้องที่ไม่ควรมีการเข้าออกบ่อย ๆ เพื่อให้เครื่องได้รักษาระดับอุณหภูมิไว้ต่อเนื่อง เช่น ห้องนอน, ห้องทำงาน หรือใน ออฟฟิศสำนักงาน เป็นต้น เพราะมีราคาที่สูงกว่า แต่ประหยัดไฟมากกว่า เมื่อคิดถึงระยะยาว ก็น่าจะคุ้มค่าที่สุด
เหมาะกับห้องที่ โล่งกว้าง มีการเข้าออกบ่อย ๆ เช่น ห้องทานข้าว, ห้องครัว, ห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ใน ห้องรับแขก เป็นต้น เพราะเป็นห้องที่เปิดใช้งานเฉพาะกิจ ใช้ไม่กี่ชั่วโมง และการที่ระบบปรับอุณหภูมิไม่คงที่อยู่แล้ว คนเข้าออกบ่อย ก็ไม่ส่งผลมากนัก
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |