ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า ? แต่เหมือนคนรอบตัวผู้เขียนจะเริ่มมีคนเปลี่ยนมาใช้งาน ระบบปฏิบัติการ macOS กันมากขึ้น อาจจะด้วยที่ราคาของ MacBook ตัวเริ่มต้นมันถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก อย่างเช่น Macbook Air M1 ราคาตอนนี้ไม่ถึงสามหมื่นด้วยซ้ำ แต่อัดมาด้วยสเปกที่น่าสนใจ ทำให้หลายคนที่อยากลองประสบการณ์ใหม่ควักกระเป๋าจ่ายเงินได้ไม่ยากนัก
โดยระบบปฏิบัติการ macOS ในปัจจุบันนี้ใช้งานง่ายมาก แม้คุณจะอยู่กับระบบปฏิบัติการ Windows มาทั้งชีวิต ก็สามารถปรับตัวมาใช้งานได้ไม่ยาก ในบทความนี้เราก็จะมาแนะนำเทคนิคการใช้งาน macOS ขั้นพื้นฐานที่น่าสนใจ จะมีอะไรบ้าง ? มาอ่านกัน
หากคุณสวมใส่ Apple Watch คุณสามารถให้มันปลดล็อกเครื่อง Mac ของคุณอัตโนมัติ โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาใส่รหัสผ่าน หรือใช้งาน Touch ID เลย โดยเงื่อนไขในการใช้งานจะมีดังนี้
หากคุณเคยใช้งาน เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) อย่าง Google Chrome มาก่อน น่าจะรู้ดีว่าช่อง Address ของมันมีประโยชน์ในการคำนวณเป็นอย่างมาก สามารถคำนวณเลข, แปลงหน่วยวัด, แปลงค่าเงิน ฯลฯ ซึ่งเราสามารถทำอย่างเดียวกันได้ในช่อง Spotlight Search ของระบบปฏิบัติการ macOS เช่นกัน ด้วยการกด "ปุ่ม Command (⌘) + Spacebar" แล้วพิมพ์โจทย์ที่คุณต้องการคำนวณลงไปได้เลย
การแบ่งครึ่งพื้นที่บนหน้าจอ เพื่อใช้งาน 2 แอปพลิเคชัน พร้อมกันบน ระบบปฏิบัติการ macOS แทนที่เราจะมานั่งลากปรับขนาดหน้าต่างเอง คุณสามารถเอสพอยเตอร์ไปชี้ค้างเอาไว้ที่ "ปุ่มวงกลมสีเขียว" ที่อยู่ด้านซ้ายบนของหน้าต่างโปรแกรม แล้วจะมีตัวเลือกปรากฏออกมา 3 เมนู
ก็เลือกจัดระเบียบเอาตามสะดวกเลย อย่างภาพด้านล่างนี้ ผู้เขียนตั้งให้ Safari อยู่ทางด้านซ้าย และ YouTube Music อยู่ทางด้านขวา
สำหรับหน้าจอเดสก์ท็อป (Desktop Screen) ก็เหมือนกับพื้นที่โต๊ะทำงานในชีวิตจริง การมีหลายหน้า Desktop (หลายโต๊ะทำงาน) ช่วยสร้างระเบียบให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น หรือบางคนอาจต้องการแยกหน้าสำหรับทำงาน กับหน้าสำหรับใช้งานส่วนตัวออกจากกัน การสร้างก็ไม่ยากให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
ในระบบปฏิบัติการ macOS จะมีคุณสมบัติ Hot Corners โดยเป็นเมนูลัดที่เมื่อผู้ใช้เอาพอยเตอร์ไปเข้ามุมใดมุมหนึ่งของหน้าจอ จะเป็นการสั่งงานตามที่กำหนดเอาไว้ได้ เช่น ให้สร้างโน้ต, เข้าโหมดพักหน้าจอ, ออกจากระบบ ฯลฯ แล้วแต่ที่ผู้ใช้จะกำหนดค่า
การตั้งค่า Hot Corners สามารถทำได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
ตั้งแต่ ระบบปฏิบัติการ macOS Monterey เป็นต้นมา ผู้ใช้สามารถใช้เครื่อง Mac เป็นตัวรับสัญญาณ AirPlay ได้แล้ว การใช้งานไม่มีอะไรซับซ้อน หากอุปกรณ์อยู่ในเครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน และใช้ Apple ID เดียวกันอยู่ สามารถเล่นเพลง หรือวิดีโอผ่าน AirPlay ได้ทันที
หากมีไฟล์ที่ชื่อมีรูปแบบคล้ายกันอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วเราต้องการเปลี่ยนชื่อมัน เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขชื่อทีละไฟล์ ให้คุณเลือกไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการแก้ไขทั้งหมด จากนั้นก็คลิกขวา แล้วเลือก "เมนู Rename" จะมีตัวเลือกว่าคุณอยากจะ Replace (แทนที่), Add (เพิ่ม) หรือ Format (รูปแบบ) ข้อความ หลังจากตั้งค่าที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกที่ "ปุ่ม Rename" ได้เลย
สำหรับ Dock และแถบเมนู (Menu Bar) จัดว่าเป็นสองสิ่ง ที่กินพื้นที่บนหน้าจอแสดงผลของคุณ สำหรับคนที่รู้สึกรำคาญ หรือต้องการพื้นที่ทำงานเพิ่ม ก็สามารถตั้งค่าให้มันซ่อนการแสดงผลได้
อย่าง Dock เราสามารถกำหนดให้มันแสดงผลต่อเมื่อเราเอาพอยเตอร์เคลื่อนลงไปที่ด้านล่างของหน้าจอเท่านั้น ส่วน Menu Bar ก็จะมีให้เลือกว่าจะแสดงผลต่อเมื่อกำลังทำงานอยู่ในโหมดไหน เช่น แสดงเฉพาะเมื่อโปรแกรมแสดงผลเต็มหน้าจอ ฯลฯ โดยการตั้งค่าทำได้ ดังนี้
ถ้าจำรหัสผ่าน Wi-Fi หรือบริการต่าง ๆ ไม่ได้ เพราะบันทึกเอาไว้ในระบบ แล้วไม่ได้กรอกนานแล้วจนลืม คุณสามารถกดดูรหัสผ่านได้ผ่านแอปพลิเคชัน Keychain Access ด้วยขั้นตอนดังนี้
ผู้ใช้มือใหม่บางคนอาจจะรู้แล้วว่าภาพพื้นหลังของ ระบบปฏิบัติการ macOS จะมีการปรับการแสดงผลตามโหมด Dark/Light ได้ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าภาพพื้นหลังแบบ Dynamic มันคืออะไร ?
ภาพพื้นหลังแบบ Dynamic หรือ Dynamic Wallpapers เป็นภาพพื้นหลังที่จะมีการปรับการแสดงผลตามช่วงเวลาในการใช้งานทั้งวัน ตัวอย่างเช่น แสงพระอาทิตย์จะสว่างขึ้นในยามเช้า และท้องฟ้าจะเปลี่ยนไปในยามบ่าย ก่อนที่พระอาทิตย์จะหายไปเมื่อถึงเวลากลางคืน ก็เป็นลูกเล่นด้านความสวยงามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำมาได้สวยงามทีเดียว
สามารถตั้งค่าใช้งาน ynamic Wallpapers ได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังนี้
หากคุณไม่สะดวกที่จะพิมพ์ หรือพิมพ์มาทั้งวันจนเมื่อยนิ้วแล้ว คุณสามารถใช้งานคุณสมบัติ Dictation เพื่อพิมพ์ด้วยเสียงได้ เพียงกด "ปุ่ม F5" จะมีรูปไมโครโฟนขึ้นมา จากนั้นก็เริ่มพูดเพื่อพิมพ์ได้ทันที รองรับทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่สำคัญลูกเล่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานด้วยนะ
เมื่อไหร่ก็ตามที่อยากรู้ว่ามีงาน หรือโปรแกรมอะไรที่ถูกเปิดอยู่บ้าง สามารถรู้คำตอบได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้คุณสมบัติ "Mission Control" โดยคีย์ลัดในการเปิดคือใช้ 3 นิ้วปัดขึ้นที่ Trackpad หรือกด "ปุ่ม F3" ก็ได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถคลิกลากหน้าต่างที่ต้องการไปยังหน้า Desktop อื่นได้ด้วยทันที
คุณสมบัตินี้ก็เหมือนกับการกด "ปุ่ม Alt + Tab" ในระบบปฏิบัติการ Windows เลย เพียงแต่เปลี่ยนเป็นกดด้วย "ปุ่ม Command + Tab" แทน
ภาพจาก : https://www.xda-developers.com/macos-tips-and-tricks/
ปุ่มจัดการหน้าต่างของ ระบบปฏิบัติการ macOS เป็นอะไรที่มือใหม่อาจจะงงกัน โดยเฉพาะปุ่มสีแดง กับปุ่มสีเหลือง เรามาทำความเข้าใจกับปุ่มควบคุมหน้าต่างของ macOS กันก่อนสักเล็กน้อย
ทีนี้ถ้าเราอยากปิดโปรแกรมไปเลย และรู้สึกว่าการเลื่อนพอยเตอร์ไปหาปุ่มสีแดงสุดจิ๋วนั้นเป็นเรื่องยาก สามารถใช้คีย์ลัด "ปุ่ม Command + Q" เพื่อปิดโปรแกรมได้ทันที
การลบไฟล์ของ ระบบปฏิบัติการ macOS ก็ไม่ต่างจากระบบปฏิบัติการ Windows คือไฟล์จะถูกย้ายไปลงถังขยะก่อน แต่ถ้าเราอยากลบไฟล์ทิ้งถาวรเลย โดยที่ขี้เกียจไปกดล้างถังขยะ ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยการกด "ปุ่ม Command + Option + Delete" แทนที่จะกด "ปุ่ม Command + Delete" เหมือนการลบปกติเท่านั้นเอง
การจับภาพหน้าจอ หรือบันทึกวิดีโอหน้าจอบน ระบบปฏิบัติการ macOS สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยจะมีคีย์ลัดที่ใช้งานเป็นประจำอยู่ 3 รูปแบบคือ
ในระบบปฏิบัติการ macOS จะมีแอป Dictionary (พจนานุกรม) อยู่ในตัว แต่เวลาที่เราจะใช้งานเราไม่จำเป็นต้องเปิดมันขึ้นมาก็ได้ เพียงทำไฮไลต์คำที่อยากรู้นิยาม หรือความหมาย แล้วเลือก "เมนู Look Up" เพื่อดูนิยาม หรือ "เมนู Translate" เพื่อดูความหมายได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ในส่วนของนิยาม บางคำอาจจะมีนิยามเป็นภาษาอังกฤษแค่เพียงอย่างเดียวนะ แต่บางคำก็มีนิยามภาษาไทยให้ด้วย
โดยปกติแล้ว เราสามารถคลิกที่วัน/เวลาที่มุมขวาบนของหน้าจอ เพื่อเรียกหน้าต่างของศูนย์แจ้งเตือน (Notification Center) ออกมาได้ แต่อันที่จริงมันมีวิธีที่เร็วกว่านั้น แค่ใช้ "2 นิ้ว" ปัดที่ "ขอบ" ของ Trackpad จากซ้ายไปขวา หน้าต่าง Notification Center ก็จะเด้งขึ้นมาทันที และปัดขวาเพื่อปิดมันกลับไปได้เลย
สำหรับ "โหมด Focus" เป็นโหมดที่ทาง Apple พัฒนาต่อมาจาก "โหมด Do Not Disturb (DND)" มันจะปิดการแจ้งเตือนจากแอปต่าง ๆ (สามารถกำหนดให้บางแอปพลิเคชันยังแจ้งเตือนได้อยู่) เพื่อลดการรบกวน ช่วยให้คุณมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเราสามารถเปิดใช้งานโหมด Focus ได้จากศูนย์ควบคุม (Control Center) แต่มีวิธีที่ง่าย และเร็วกว่านั้น คือ ให้กด "ปุ่ม Option" ค้างเอาไว้แล้วคลิกที่วัน/เวลาที่มุมขวาบนของหน้าจอ โหมด Focus ก็จะเริ่มทำงานทันที
ถ้ารู้สึกว่าคุณมีรูปภาพเป็นจำนวนมาก และมันก็กินพื้นที่บนไดร์ฟ และ iCloud ไปอย่างมหาศาล ในระบบปฏิบัติการ macOS มีเครื่องมือลดขนาดรูปใส่มาให้พร้อมใช้งาน เพียงเข้าไปที่ Finder แล้วเลือกรูปที่ต้องการ จะเลือกพร้อมกันหลายรูปก็ได้ คลิกขวาแล้วเลือก "เมนู Quick Actions" ตามด้วย "เมนู Convert Image" จากนั้นก็เลือกขนาด และคุณภาพที่ต้องการได้เลย รูปภาพใหม่ที่มีขนาดเล็กจะปรากฏขึ้นมาในโฟลเดอร์เดียวกัน สามารถลบรูปเดิมที่มีขนาดใหญ่ทิ้งได้หากต้องการ
บนระบบปฏิบัติการ macOS ภาพที่เพิ่งถูกจับ จะปรากฏที่มุมขวาล่างของหน้าจออยู่ช่วงเวลาหนึ่ง คุณสามารถคลิกแล้วลากไปใส่ไดร์ฟ หรือส่งเข้าโปรแกรมอื่นได้ทันที
บนระบบปฏิบัติการ macOS มีคุณสมบัติ Live Text โดยในเวลาที่คุณเจอข้อความในรูปภาพ จะเป็นรูปที่อยู่ในเครื่อง หรืออินเทอร์เน็ตก็ตาม สามารถคลิกคลุมข้อความบนภาพ ออกมาเป็นตัวอักษร แล้วเอาไปวางที่โปรแกรมที่ต้องการใช้งานได้ทันที
การคัดลอก (Copy) บน Mac, iPhone และ iPad หากตัวอุปกรณ์ใช้งาน Apple ID เดียวกันอยู่ คุณสามารถ Copy/Paste ข้ามอุปกรณ์ได้ทันที เช่น กด Copy บน iPhone แล้วมากด Paste บน MacBook โดยสามารถทำได้ทั้งข้อความ และรูปภาพเลยล่ะ
หากคุณใช้งาน ระบบปฏิบัติการ macOS Ventura หรือใหม่กว่า สามารถลบพื้นหลังออกจากภาพได้ง่าย ๆ เพียงเปิดภาพในแอป Photos แล้วคลิกขวาเลือก "เมนู Copy Subject" คุณจะได้ตัวแบบที่ไม่มีพื้นหลังมาใช้งานได้ในทันที โดยนำไป Paste วางที่ไหนก็ได้
ใครที่เพิ่งเริ่มใช้ระบบปฏิบัติการ macOS ก็หวังว่าทริคในบทความนี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |