ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ ระดับของความนิยมในการใช้งาน หน่วยความจำพกพาอย่าง แฟลชไดร์ฟ USB (USB Flash Drive) จะเริ่มลดลงไปมาก จากการที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้หลายคนเลือกที่จะเก็บไฟล์ หรือข้อมูลเอาไว้บนคลาวด์ (Cloud Storage) แทน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ แล้วต้องทำงานในสถานที่ที่อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีความเร็วสูง USB Flash Drive ก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม : Flash Drive, Handy Drive และ Thumb Drive ต่างกันอย่างไร ? ทำไมถึงมีหลายชื่อ ?
สำหรับสถานการณ์ของ USB Flash Drive ในปัจจุบัน ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกมาก ความจุขนาด 64 GB. แบงก์ร้อยแค่สองใบก็สามารถซื้อมาใช้งานได้แล้ว ทำให้บางคนมองว่ามันเป็นอุปกรณ์แบบใช้แล้วทิ้งด้วยซ้ำไป เสียก็แค่ซื้อใหม่ เท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมองว่ามูลค่ามันไม่ได้อยู่ที่ตัวไดร์ฟ แต่เป็นข้อมูลภายในไดร์ฟต่างหาก หรือจะเป็นผลด้านสิ่งแวดล้อม ไม่อยากเพิ่มปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่จำเป็น ในบทความนี้เรามีวิธีการถนอม USB Flash Drive ให้มีอายุการใช้งานยาวนานมาฝากกัน
ภาพจาก https://www.westerndigital.com/products/usb-flash-drives/sandisk-ultra-flair-usb-3-0#SDCZ73-064G-G46
USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่มักจะพังก่อนเวลาอันควรโดยเสมอ สาเหตุส่วนใหญ่แล้วก็มาจากการได้รับความเสียหายทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทำตกกระแทกพื้น, ตกน้ำ, ได้รับความชื้นสูง, โดนความร้อน หรือถูกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน เป็นต้น
โดยเราสามารถปกป้อง USB Flash Drive ได้ง่าย ๆ ด้วยการหาเคส หรือถุงผ้าหนา ๆ มาใส่เวลาพกพา ในตอนที่เสียบ USB Flash Drive ก็อย่ารุนแรงกับมันมากนัก พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับขั้วเชื่อมต่อ ในตอนที่เสียบ และถอดอุปกรณ์ออกจาก พอร์ต USB ก็ควรดึงออกมาตรง ๆ ไม่เอียงขึ้น หรืองอลง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้แผ่นวงจรภายในเกิดความเสียหาย
การเก็บข้อมูลของ Flash Drive ไม่เหมือนกับฮาร์ดไดร์ฟ มันไม่ได้บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก แต่ข้อมูลจะถูกเก็บเอาไว้ภายใน Cells ซึ่งตัวมันมีจำนวนรอบการเขียนข้อมูลที่จำกัด
หากเราเสียบ Flash Drive คาทิ้งเอาไว้ตัวระบบปฏิบัติการจะมีการทดสอบการทำงานของไดร์ฟด้วยการเขียนข้อมูลเป็นระยะ ซึ่งเป็นการผลาญรอบเขียนข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และทำให้ตัว Flash Drive เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
ภาพจาก https://flic.kr/p/h57s4p
จากหัวข้อที่แล้ว ที่เราบอกว่า เซลล์ที่ใช้ในเก็บข้อมูลนั้น มีรอบการเขียนข้อมูล (Write Cycle) จำกัด ดังนั้นการแก้ไขไฟล์บน USB Flash Drive โดยตรง จึงเป็นการผลาญรอบเขียนข้อมูลโดยไม่จำเป็น เราสามารถประหยัดรอบการเขียนข้อมูลได้ด้วยการ คัดลอกไฟล์ที่ต้องการแก้ไขออกมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ก่อน เมื่อแก้ไขงานเสร็จแล้ว ก็ค่อยบันทึกแล้วย้ายไฟล์ โอนกลับไปที่ USB Flash Drive อีกครั้ง
การดึง USB Flash Drive ออก ในขณะที่ระบบปฏิบัติการกำลังเขียนข้อมูลอยู่ อาจทำให้เกิดการลัดวงจร หรือทำให้ เซลล์เก็บข้อมูลเสียหายได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เราควรสั่งให้ระบบปฏิบัติการหยุดเขียนข้อมูลก่อน แล้วค่อยดึง USB Flash Drive ออก ด้วยการคลิกขวาที่ไดร์ฟแล้วเลือก "เมนู Eject"
ในอดีต เรามักจะนิยมทำการจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์ (Disk Defragment) เพื่อจัดเรียงไฟล์ให้เป็นระเบียบ ซึ่งจะช่วยให้การเปิดไฟล์ทำได้รวดเร็วขึ้น แต่สำหรับหน่วยความจำแบบแฟลชแล้ว การทำ Defragment ไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกจากการผลาญรอบการเขียนข้อมูลไปโดยเปล่าประโยชน์
สำหรับ คุณสมบัติ Windows Page File เป็นไฟล์ที่เก็บไว้สำหรับ หน่วยความจำหลัก RAM ที่อยู่ในเครื่องของคุณ หรือที่เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อว่า หน่วยความจำทางกายภาพ เมื่อ RAM ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเริ่มเหลือหน่วยความจำในการทำงานไม่พอ มันก็จะใช้บรรดา Pagefile ที่ว่านี่ล่ะ เพื่อทำการออฟโหลดข้อมูลที่ไม่ต้องการ เช่น ไฟล์หรือ แอปพลิเคชัน (Application) ต่าง ๆ ออกไป
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าเราจะพยายามปกป้องรักษา USB Flash Drive ของเราดีขนาดไหนก็ตาม แต่มันก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างบอบบาง เกิดความเสียหายได้ง่ายอยู่ดี (ยกเว้นคุณจะซื้อรุ่นที่ออกแบบมาให้ทนทานเป็นพิเศษ แน่นอนว่าราคาก็แพงพิเศษด้วย) ดังนั้น หากคุณใช้งาน USB Flash Drive เป็นที่เก็บข้อมูลสำคัญ ก็อย่าลืมหมั่นสำรองข้อมูลกันเป็นประจำด้วย
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
17 พฤศจิกายน 2559 11:42:03
|
||
GUEST |
NOI
ขอบคุณจ้า
|
|