พอทำงานอะไรต่อมิอะไรเสร็จเรียบร้อย กำลังจะเซฟไฟล์ด้วยการเสียบ USB Flash Drive เข้าไปที่ พอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์คุณ ดันปรากฎข้อความเจ้ากรรม ขึ้นมาว่า "The disk is write protected. Remove the write protection or use another disk" หากแปลเป็นไทยคือ "ดิสก์นี้ถูกป้องกันการเขียนไว้ นำการป้องกันการเขียนออกหรือเปลี่ยนดิสก์ใหม่" ทำให้เซฟหรือบันทึกอะไรไม่ได้เลย ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มาลองวิธีแก้ไขดังต่อไปนี้กันดูค่ะ
ทุกครั้งที่คุณเสียบไดรฟ์ด้วย พอร์ต USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราก็ควรจะทำการ "สแกนไวรัส" ด้วย โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) ก่อนการใช้งานทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณต้องใช้งานกับคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือกับคอม ฯ ที่ไม่ได้เป็นเครื่องของคุณเอง เพราะบ่อยครั้ง ที่ไวรัสมักใส่ไฟล์อะไรก็ไม่รู้มาเข้าแฟลชไดรฟ์ของคุณ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกล่องข้อความแจ้งเตือนว่า "Write Protected" ขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของคุณด้วยว่า สามารถตั้งค่าให้ทำการสแกนแฟลชไดรฟ์โดยอัตโนมัติเมื่อทำการเสียบเข้าเครื่องได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่มีให้ตั้งค่า ก็สามารถใช้วิธีการเปิด Windows Explorer ขึ้นมา คลิกขวาที่แฟลชไดรฟ์ แล้วเลือกเมนูสแกนไวรัสด้วย โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่ติดตั้งในเครื่องของคุณ
เครดิตภาพ : https://www.intowindows.com/how-to-make-kaspersky-automatically-scan-usb-removable-drives/
ถ้าหากสแกนเจอไวรัสแล้วล่ะก็ ให้ทำการกำจัดทิ้งเสียโดยใช้ฟังก์ชันของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่คุณมี ซึ่งในจุดนี้ เราขอแนะนำให้คุณทำการเปิดการสแกนไวรัสอย่างเต็มรูปแบบ (Full Scan) อีกครั้ง หลังอัปเดต โปรแกรมแอนตี้ไวรัส เป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้ว เพราะถ้าหากมีไวรัสหลุดรอดเข้าไปอยู่ในแฟลชไดรฟ์ของคุณได้แล้วล่ะก็ เราไม่มีทางรู้เลยว่ามันแพร่กระจายไปถึงไหนต่อไหนในเครื่องของเราแล้วบ้าง
หากไม่ใช่เรื่องของไวรัส ลองมาเช็คอะไรง่าย ๆ ที่คุณอาจคาดไม่ถึงกันก่อน ยกตัวอย่างเช่น องค์ประกอบแฟลชไดรฟ์ของคุณ เพราะแฟลชไดรฟ์บางชิ้น มีสวิทช์แบบสไลด์สำหรับป้องกันการเขียนข้อมูลอยู่ที่ตัวแฟลชไดรฟ์เองเลย ซึ่งถ้าหากเป็นกรณีนี้ล่ะก็ ให้ลองเลื่อนสวิทช์ไปที่ตำแหน่ง Unlock (ปลดล็อก) ดู แล้วลองก๊อปปี้ไฟล์ หรือฟอร์แมตไดรฟ์ดูอีกรอบ
เครดิตภาพ : smial (FAL or GFDL 1.2 ), via Wikimedia Commons
เวลาที่แฟลชไดรฟ์เต็ม ก็อาจจะขึ้นข้อความ Write Protected ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ให้ลองเปิด Windows Explorer ขึ้นมาแล้วคลิกที่ "ไอคอน This PC" ดู หลังจากคลิกแล้ว จะทำให้คุณเห็นพื้นที่ภาพรวมของไดรฟ์ทั้งหมด คลิกขวาที่แฟลชไดรฟ์ของคุณแล้วเลือก "เมนู Properties" คุณจะเห็นหน้าต่างใหม่เด้งขึ้นมา พร้อมแสดงกราฟพื้นที่เป็นรูปวงกลมโดนัท
ถ้าหากคุณสำรวจดูแล้วพื้นที่ก็ยังมีที่ว่างอยู่ ให้ลองแก้ปัญหาด้วยข้ออื่น ๆ ดูต่อไป แต่ถ้าที่เต็มล่ะก็ ให้ลองเคลียร์ไฟล์เคลียร์พื้นที่ดูก่อนเซฟไฟล์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้าไปก็น่าจะหายแล้วล่ะ
บางครั้ง ไฟล์ ๆ เดียวก็อาจทำให้เสียงานเสียการได้ หากคุณลบไฟล์เป็นสิบเป็นร้อยไฟล์ แต่ดันติดที่ไฟล์แบบอ่านอย่างเดียว (Read-only) แค่ไฟล์เดียว พลอยทำให้ลบไฟล์ไม่ได้ไปทั้งหมด ให้แก้ด้วยวิธีการดังนี้ค่ะ
ไปที่ไดรฟ์ USB ของคุณ แล้วมองหาไฟล์ที่ระบบแจ้งขึ้นมาว่ามีปัญหาในการลบ คลิกขวาแล้วเลือก "เมนู Properties" ที่บริเวณล่างสุดของหน้าต่างใหม่ใต้ "หัวข้อ Attributes" เช็คดูว่ามีติ๊กถูกที่ "ตัวเลือก Read-only" หรือไม่ ถ้ามีให้เอาออกแล้วกด "ปุ่ม OK"
และก็มีอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจที่อาจเกิดขึ้นได้ นั่นก็คือการที่ชื่อไฟล์ "ยาวเกินไป" ทำให้มีปัญหากับระบบได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังไม่ให้ชื่อไฟล์ยาวเกินกว่า 255 ตัวอักษร เพราะอาจทำให้เกิดข้อความเออเร่อขึ้นมาได้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับมือกับการแก้ปัญหาระบบอยู่บ่อย ๆ คงจะพอคุ้นเคยกับ Command Prompt กันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าหากคุณใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows 10 หรือ Windows 11 คุณจะได้ใช้งานเจ้าตัวนี้ในชื่อ PowerShell หรือ Windows Terminal แทน
ข้อมูลเพิ่มเติม : Command Prompt กับ PowerShell คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
หากลองขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนหน้าแล้วไม่ได้ผล คราวนี้ต้องงัดไม้แข็งอย่างการแก้ไข Windows Registry ขึ้นมาช่วยแล้วล่ะ หรือจะลองข้ามไปที่ขั้นตอนการฟอร์แมตเลยก็ได้หากขั้นตอนนี้ดูซับซ้อน หรือกังวลว่าจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดกับระบบขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม เราอยากให้คุณลองขั้นตอนนี้ดูนะ
HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\StorageDevicePolicies
เครดิตภาพ : https://www.ghacks.net/2011/03/18/how-to-enable-write-protection-of-usb-devices-under-windows/
ข้อควรระวัง : เช็คให้แน่ใจว่าคุณได้ทำการสำรองข้อมูลและไฟล์ทั้งหมดจากแฟลชไดรฟ์ที่ต้องการฟอร์แมตเรียบร้อยแล้ว ก่อนทำการฟอร์แมต มิเช่นนั้น ข้อมูลทั้งหมดภายในไดรฟ์จะหายไปหลังฟอร์แมต
การฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ ควรจะเป็นอย่างสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คุณควรทำให้แฟลชไดรฟ์ที่มี สามารถอ่านและเขียนได้ก่อนการฟอร์แมต โดยตรวจสอบคุณสมบัติให้เรียบร้อยว่า ใช้ ระบบการจัดเก็บไฟล์แบบ NTFS หรือ FAT32 ซึ่งโดยปกติแล้วระบบที่มีอยู่เดิม จะเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดแล้วในการทำงาน
หากคุณใช้งาน BitLocker อยู่ เช็คให้ชัวร์ว่าปิดการใช้งานการล็อกพาร์ทิชันหรือไดรฟ์ไว้แล้วก็การบันทึกข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงโยกย้ายใดใด
เครดิตภาพ : https://www.howtogeek.com/805225/disable-bitlocker/
ถ้าเกิดคุณใช้โปรแกรมอื่น ๆ นอกเหนือจาก BitLocker ที่สามารถเข้ารหัสหรือล็อกแฟลชไดรฟ์ของคุณได้เหมือนกัน ให้ลองมองหาตัวเลือกการปลดล็อกแฟลชไดรฟ์ดูค่ะ
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |