หลายคนคงประสบปัญหาตาล้าจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะนอกจากเราจะต้องพึ่งพา คอมพิวเตอร์ เป็นตัวช่วยในการเรียนและการทำงานแล้ว บางคนก็ยังชื่นชอบในการเล่นเกม หรือดูหนัง ดูซีรีส์ ในเวลาว่างอีกด้วย ทำให้ดวงตาต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 8-10 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว
ซึ่งการจ้องจอติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการของโรค Computer Vision Syndrome (CVS) หรือภาวะที่ดวงตาล้า, ตาแห้ง, ตาพร่า, มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน จับโฟกัสได้ยาก และบางรายอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย
บุคคลที่มีอาการ CVS นี้ หากไม่แก้ไขพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างหนักก็อาจทำให้สายตาสั้นลง หรือมีปัญหาวุ้นในตาเสื่อมที่ทำให้เราเห็นเส้นๆ หรือจุดดำๆ ลอยไปลอยมาในดวงตา และอาจนำไปสู่ปัญหาทางสายตาและการมองเห็นอื่นๆ ได้ หรือบางทียังลุกลามไปถึงการปวดหัว ได้อีกด้วยเช่นกัน
ภาพจาก : https://www.edb.gov.hk/en/edu-system/primary-secondary/applicable-to-primary-secondary/it-in-edu/Eyecare/sec-device.html
แน่นอนว่าหลายๆ คนคงทราบดีกว่าวิธีป้องกันปัญหาและรักษาดวงตาที่ดีที่สุดคือ “ลดการใช้งาน” ลง แต่สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานก็แนะนำให้ทำตามวิธีดังนี้
ไม่เฉพาะแค่ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น, สายตายาว หรือสายตาเอียงเท่านั้น แต่บุคคลที่สายตาปกติเองก็ควรตรวจวัดสายตาทุกปีเพื่อตรวจหาความผิดปกติของค่าสายตาด้วยเช่นกัน เพราะการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ (หรือสมาร์ทโฟน) เป็นเวลานานนั้นส่งผลต่อสุขภาพของดวงตาได้ และผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาก็ควรสวมแว่นหรือคอนแทกเลนส์ที่ตรงกับค่าสายตาของตนเองในขณะนั้นด้วย
พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 20 นาที เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยการมองออกไปในบริเวณที่ห่างจากจอคอมอย่างน้อย 20 ฟุต และควรลุกจากเก้าอี้ทุก 2 ชั่วโมงเพื่อพักสายตาและป้องกันภาวะเมื่อยล้า ลดความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรม
ภาพจาก : https://www.cabvi.org/articles/20-20-20-rule-computer-vision-syndrome/
เนื่องจากเมื่อเรามีสมาธิในการจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่าง อัตราการกะพริบของดวงตาเราจะลดลงจาก 15-20 ครั้งต่อนาที เหลือเพียงแค่ 6-8 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น ดังนั้นจึงควรกะพริบตาให้บ่อยขึ้นเพื่อเลี่ยงภาวะตาแห้ง หรืออาจใช้น้ำตาเทียมช่วยเพื่อให้ดวงตากลับมาชุ่มชื้นดังเดิม
จัดให้ไม่อยู่ต่ำหรือสูงจนเกินไป โดยระยะห่างระหว่างดวงตาและจอภาพควรอยู่ที่ประมาณ 40-75 เซนติเมตร หรือราว 1 ช่วงแขน และจุดศูนย์กลางของคอมพิวเตอร์ (กลางจอภาพ) ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา นอกจากนี้ยังควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ในบริเวณที่มีแสงสว่างมากเพียงพอในการทำงานและไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ตรงจุดที่มีการสะท้อนของแสงจากภายนอกมาสู่จอภาพได้
การนั่งในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิด CVS ได้แล้ว ยังช่วยป้องกัน Office Syndrome ได้อีกด้วย
ภาพจาก : https://specscart.co.uk/blog/computer-vision-syndrome
บางครั้งความสว่างของหน้าจอที่มากหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลเสียต่อดวงตาและทำให้ดวงตาต้องทำงานหนักจนเกินความจำเป็นได้ และหากไม่ได้ทำงานด้านกราฟิกที่ต้องเน้นความชัดเจนของสีจอภาพก็ควรปรับสีอุณหภูมิของหน้าจอ (Colour Temperature) ลงเพื่อหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า (Blue Light) ที่ทำให้ดวงตาทำงานหนัก (เปิดการทำงานฟีเจอร์ Night Light บน Windows หรือ Night Shift สำหรับ Mac) หรือเลือกใส่แว่นกรองแสงเพื่อถนอมสายตาก็เป็นการแก้ปัญหาที่ดีเช่นกัน
บางเว็บไซต์ก็มีการกำหนดขนาดตัวอักษรที่เล็กจนเกินไป ทำให้ต้องใช้สายตาเพ่งมากขึ้นเพื่อให้อ่านข้อความในเว็บไซต์นั้นๆ ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราจึงควรปรับขนาดของตัวอักษรบนหน้าจอให้อ่านง่าย โดยกดไปที่เมนูเพิ่มเติมและเลือกที่ [+] (หรือใช้คีย์ลัด Ctrl [+])
ถึงแม้ว่าจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะเปลี่ยนจากจอเก่าอย่าง CRT (Cathode Ray Tube) เป็นจอแบบ LED (Light-Emitting Diode) แล้ว แต่ผู้ใช้ก็ควรเลือกจอที่มีความละเอียดสูง และมีขนาดหน้าจอราว 19 นิ้วขึ้นไป (สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ) รวมทั้งมีคุณสมบัติป้องกันการสะท้อน (Anti-Glare) ด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างสบายตามากขึ้น
นอกจากนี้ อาการของ CVS นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการใช้งานดวงตาเพื่อจ้องมองคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ผู้ที่ใช้งาน สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต อยู่เป็นประจำก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน จึงควรที่จะเว้นระยะห่างการใช้งานหน้าจอให้อยู่ห่างจากดวงตาประมาณ 16 นิ้ว ขึ้นไป และอาจเปิดใช้ฟีเจอร์ช่วยลดแสงสีฟ้าอย่าง Night Shift (สำหรับ iOS) หรือ Blue Light Filter (สำหรับ Samsung) ส่วนสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่มีฟีเจอร์ช่วยตัดแสงสีฟ้าจากหน้าจอก็สามารถเลือกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันช่วยปรับลดแสงได้
อย่างไรก็ตาม วิธีข้างต้นก็เป็นเพียงแค่การช่วยลดภาระการทำงานของดวงตาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากเรายังใช้สายตาอย่างหนักในการจ้องจอวันละหลายชั่วโมง หรือพักสายตาจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์มาเล่นสมาร์ทโฟนอยู่บ่อยๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการ CVS หรือมีปัญหาทางสายตาได้ในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง หรือลดเวลาในการจ้องมองจอต่างๆ ลง หากไม่จำเป็น ทั้งจอคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต รวมไปถึงจอโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 1
10 พฤศจิกายน 2556 14:53:52
|
||
GUEST |
random only
tango = กินต้นไม้ / thank you = ขอบคุณ
|
|