ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

เริ่มต้นกับการสร้าง Smart Home บ้านอัจฉริยะ สำหรับมือใหม่

เริ่มต้นกับการสร้าง Smart Home บ้านอัจฉริยะ สำหรับมือใหม่

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,105
เขียนโดย :
0 %E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+Smart+Home+%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0+%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Smart Home คืออะไร ? เริ่มต้นสร้างบ้านอัจฉริยะสำหรับมือใหม่

ในยุคที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต่อเน็ตได้ รับคำสั่งจากมือถือ ใช้เสียงสั่งงานได้ เป็นความฝันของหลายๆ คน จากที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์ Sci-Fi กับแนวคิด Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ ในการสั่งเปิดไฟผ่านโทรศัพท์มือถือ, สั่งงานด้วยเสียง สั่งเปิดแอร์ผ่านมือถือ เปิดไฟ เปิดม่าน (ที่เรากำหนดคำสั่งปิดบังแดดตอนบ่าย) ตั้งแต่เราอยู่หน้าปากซอย เพื่อให้แอร์เย็นเฉียบตอนเรากลับมาถึงบ้านพอดี มีระบบตรวจจับควัน แจ้งเตือนเราลืมปิดแก็ส แจ้งเตือนเราลืมปิดแอร์ตอนออกมานอกบ้าน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องล้ำๆ ไฮเทคอีกต่อไป เพราะทุกบ้าน เป็นเจ้าของได้

Smart Home คืออะไร ?

การสร้างบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home นั้น มองเผินๆ อาจมองว่าใช้งบเยอะ แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการแล้ว ก็จะรู้ว่า มันมีส่วนประกอบหลายๆ ส่วนมาเกี่ยวข้อง มีโครงสร้างภายในที่จะต้องทำงานร่วมกัน บ้านหรือคอนโดที่สร้างใหม่หลายโครงการ ก็เลยมีการรวมเอา Solution สำหรับบ้าน Smart Home เอาไว้แล้ว นั่นก็คือการทำ Infrastructure หรือโครงสร้างของ Smart Home ไว้ตั้งแต่ตอนสร้างบ้าน คือคิดวางแผนไว้เลย แต่สำหรับบ้านทั่วๆ ไป หากต้องการทำ Smart Home เรามีวิธี และขั้นตอน มาบอกกันสำหรับมือใหม่ หรือแม้แต่คอนโดมีห้องนอนเดียวก็สร้าง Smart Home ได้เช่นกัน

เหตุผลที่เราสร้างระบบ Smart Home ในบ้าน ก็เพื่อความสะดวกสบาย เช่นสั่งงานด้วยเสียง สั่งงานผ่านมือถือ เพื่อความปลอดภัย เช่น Smoke Detection ตรวจจับควัน แจ้งเตือนน้ำรั่ว เพื่อลดการใช้พลังงาน เช่น ปิดม่านหากแสงสว่างเข้ามาในบ้านมากจนเกินไปในระดับที่เรากำหนดไว้ และช่วยดูแลผู้สูงอายุ เช่น เตือนให้ทานยา หากเกิดหกล้มก็สามารถกดนาฬิกาโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน หรือญาติมารับเพื่อปฐมพยาบาล

เนื้อหาภายในบทความ

แนวคิด Smart Home คืออะไร?

เราได้เห็นคำว่า IoT (Internet of Things) บ่อยมากๆ โดยอุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถเชื่อมต่อ ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ในบ้าน หรือโทรศัพท์มือถือ ผ่านเครือข่าย Wi-Fi หรือตัวอุปกรณ์ สามารถใส่ซิม และส่งข้อมูลไปให้กับอุปกรณ์อื่นและโทรศัพท์มือถือได้

ดังนั้น คำนิยามสั้นๆ ของ IoT ก็คือ อุปกรณ์พูดคุยกัน สื่อสารกันได้ โดยมี / ไม่มีต้วช่วย ถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์ จะมีระบบปฏิบัติการหรือ OS (Windows / Mac) ช่วยในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้ กับฮาร์ดแวร์ ส่วนมือถือก็มี OS เช่น iOS, Android หรือ Windows Phone แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน จะพูดคุยสื่อสารกันระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้น ก็ต้องมีตัวควบคุม จริงอยู่ว่าตัวมันอาจต่อ Wi-Fi ได้ แต่ตัวอุปกรณ์อาจมีหรือไม่มี OS ของตนเอง ก็ต้องอาศัยตัวช่วยในการเป็นล่ามสื่อสารให้อุปกรณ์รู้จักกับอุปกรณ์อื่นๆ และเราสามารถควบคุมอุปกรณ์ผ่านแอปฯ บนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้ รวมไปถึงสั่งงานด้วยเสียง แบบเรียลไทม์

ตัวอย่างเช่น หากเราใช้หลอดไฟอัจฉริยะ ถ้าเอาสมาร์ทโฟนมาควบคุมหรี่ไฟ คงทำไม่ได้ทันที เพราะตัวหลอดไฟจะต้องมีวงจรควบคุม มีตัวกลางในการควบคุมที่เป็น Bridge หรือสะพาน ในการเชื่อมต่อให้ควบคุมผ่านแอปฯ ​บนสมาร์ทโฟน กับตัวหลอดไฟ

ถ้ายกตัวอย่างอุปกรณ์แนว Smart Home ที่หาได้ง่ายและสะดวกคือ Smart Wi-Fi Plug

แนวคิด Smart Home คืออะไร?

Smart Wi-Fi Plug สั่งเปิดปิดไฟที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ผ่าน Wi-Fi หรือรีโมทได้ แต่อันนี้จะเป็นลักษณะการทำงานของปลั๊กไฟที่กำหนดเวลา กำหนดสถานการณ์ได้ ควบคุมด้วยแอปฯ บนมือถือได้ ปัจจุบันมีปลั๊กที่ควบคุมด้วย Wi-Fi ขายตามท้องตลาดในราคาที่ไม่แพงนัก (อย่างปลั๊กในภาพ ราคา 1,690 บาท)

3 ส่วนประกอบในการสร้าง Smart Home

1. ตัวควบคุมการทำงาน

อุปกรณ์ต่างๆ หลอดไฟ ลูกบิดประตู สามารถทำงานตามลักษณะของมันได้ตามปกติ แต่ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งของเราได้ด้วยตัวของมันเอง จะต้องมีตัวควบคุมการทำงานที่ทำงานคู่กัน อย่างปลั๊กไฟที่เป็น Smart Plug Wi-Fi ตัวปลั๊กเองก็ตัดไฟเองไม่ได้ ต้องมีตัวควบคุมการทำงาน แล้วต่อ Wi-Fi ควบคุมผ่านแอปฯ บนมือถือ

2. ข้อมูล หรือ Data

อุปกรณ์ต่างๆ ส่งข้อมูลออกมา เช่น ตัววัดอากาศ อุณหภูมิ ความบางเบาของอากาศ บรรยากาศ นั่นคือดาต้าที่อุปกรณ์จัดเก็บและคำนวณ ตัวอุปกรณ์ ก็ทำหน้าที่ด้านฮาร์ดแวร์ ส่วนตัวควบคุมจะเก็บข้อมูล แต่ก็ยังประมวลผลเองไม่ได้ ต้องส่งผ่าน Wi-Fi หรือซิมมือถือ แล้วแอปฯ ช่วยคำนวณค่าแสดงออกมา

3. Automation หรือ Smart Home Automation

ถ้าแปลก็ต้องดูคำว่า Auto ไหนๆ เราอยากได้ Smart Home แล้ว เราก็คงอยากสะดวก อยากสบายใช่ไหมครับ เราอยากจะมีอะไรที่คิดแทนเราได้

Automation เป็นตัวสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่เราตั้งไว้ เช่น สั่งให้เปิดผ้าม่านตอน 9 โมง ตอนแดดเริ่มออก ทุกวัน ส่วนตอนนอน อยากให้ปิดม่านก่อนเข้านอนทุกวัน เรียกได้ว่า ตั้งไว้ให้อุปกรณ์ทำงานแทนเราได้เลย แต่จะล้ำไปกว่านั้นอีกถ้ามีเซ็นเซอร์วัดแสงแดดว่าแดดจ้า ให้ปิดม่านบังแสง ถ้าสภาพแสงมืด ให้เปิดม่าน รับแสงด้านนอกเพิ่มเติม

การควบคุมต่างๆ Automation จะช่วยเราในการวางแผนการจัดงาน แล้วใช้แอปฯ จัดการผ่านมือถือได้ โดยจะต้องมี Smart Home Ecosystems โดยมี 4 ยักษ์ใหญ่ของโลก

  • Amazon Alexa
  • Google Assistant
  • Apple HomeKit
  • Works with Nest

ประเด็นคืออุปกรณ์เหล่านี้ ในบ้านเราอาจจะหาซื้อจากตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการยากสักนิด อย่างการซื้อจาก Lazada ก็ส่งจากต่างประเทศ

Automation หรือ Smart Home Automation

ถ้าคุณสนใจ ในการสั่งงานด้วยเสียงผ่านลำโพง (บางตัวเป็นลำโพงและมีไมโครโฟนรับคำสั่งเสียงในตัวด้วย) คือ Smart Speaker อย่างเช่น Amazon Alexa และ Google Assiatant โดย Amazon ชื่อ Echo มี Voice Assistant ชื่อ Alexa ส่วน Google มี Google Home ที่เราคุ้นชื่อกัน ส่วนแบรนด์คุ้นหู Sony, JBL, Lenovo ก็มีทำ Smart Speaker ออกมาอยู่เหมือนกัน

Automation หรือ Smart Home Automation

ส่วนคอ Apple แน่นอนว่าต้องเปย์กับ Apple HomeKit ควบคุมอุปกรณ์ Apple ทุกสิ่งอย่าง ทั้ง Apple TV, Apple HomePod Speaker อันนี้สั่งงานด้วยเสียงได้ ผ่าน Siri

Automation หรือ Smart Home Automation

Nest อีกตัวเลือกที่น่าสนใจ มีทั้งกล้อง ตัวตรวจจับควันไฟ ตรวจจับสภาพอากาศ อุณหภูมิ ส่วน Microsoft ก็มี Cortana Smart Home ควบคุมผ่านลำโพง Smart Speaker อย่าง Harman Kardon ผ่าน Windows 10 บนคอมหรือมือถือ

ตัวอย่างอุปกรณ์ Smart Home

Smart Plug, Smart Light อุปกรณ์ Smart Home ใกล้ตัว

อุปกรณ์ไฟฟ้ารอบตัวเราก็คือ หลอดไฟ ปลั๊กไฟ และหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่เรียกได้ว่า ตัวมันสามารถทำงานได้เอง ตอนที่เราไม่อยู่บ้าน เช่น เราออกจากบ้าน 8 โมงเช้า พอ 10 โมงเช้า และบ่าย 4 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทำความสะอาดพื้นให้เรา พอเรากลับมาตอนเย็น พื้นก็สะอาด

ตัวอย่างอุปกรณ์ Smart Home

หลอดไฟอัจฉริยะ บ้านไหนๆ คอนโดไหนๆ ก็ใช้หลอดไฟ แต่อุปกรณ์หลอดไฟอัจฉริยะ มักจะไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง แต่จะต้องมี Bridge หรือตัวเชื่อมต่อ โดย Bridge จะต้องต่อเข้ากับระบบ Ethernet ภายในบ้าน เพื่อให้การควบคุมหลอดไฟสามารถสั่งงานผ่าน Siri, Google Assistant ได้ หลอดไฟอัจฉริยะพวกนี้ส่วนใหญ่จะ Sync กับหนังหรือเพลง เปลี่ยนสีไฟ หรี่ไฟตามจังหวะเพลงหรือช่วงเวลาต่างๆ ของภาพยนตร์ หรือซีรีส์ได้

Wi-Fi Smart Plug

ตัวอย่างอุปกรณ์ Smart Home

Wi-Fi Smart Plug มีลักษณะการทำงานเป็นปลั๊กไฟแบบปกติ ที่สั่งงานผ่าน Wi-Fi ได้ เราก็เสียบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าปกติ กับปลั๊กที่เป็น Wi-Fi Smart Plug เข้ากับเต้ารับติดผนังบ้าน (ดูตามภาพ) ก็ทำให้เราสั่งงานปิด เปิด อุปกรณ์ได้ แต่นั่นเป็นเพียงการจ่ายไฟ และหยุดจ่ายไฟ แต่ถ้าจะให้หรี่แสงไฟ เปลี่ยนสีหลอดไฟ จะต้องใช้กับหลอดไฟที่รองรับ

ข้อดีนอกเหนือจากความสะดวกสบายแล้ว การใช้ปลั๊ก Wi-Fi Smart Plug รองรับการตัดไฟหากกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์มีความร้อนสูงเกินกว่าปกติ ตัว Wi-Fi Smart Plug จะสั่งตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กนั้นๆ อยู่ทันที

Nest Hello VDO doorbell

เป็นกริ่ง (หรือออด) ประตู ที่มีกล้องวิดีโอ สามารถตรวจสอบ ตรวจจับใบหน้าของผู้ที่มาเยี่ยมบ้านหรือคอนโดเรา

ตัวอย่างอุปกรณ์ Smart Home

กล้องวิดีโอ HD มุมมอง 160 องศา ตอนกลางคืนมี Night Vision หน้าตาเหมือนตาแมวประตู นอกจากจะเป็นตาแมววิเศษแล้ว ยังบันทึกวิดีโอได้ตลอด 24/7 แบบเรียกได้ว่าเป็นกล้องวงจรปิดได้เลย ไม่ใช่แค่ถ่ายวิดีโอเฉพาะตอนจับ Motion Sensor มีคนมาหาเราเท่านั้น อีกเรื่องคือ การถ่ายวิดีโอแบบ 4:3 เห็นทั้งตัว ตั้งแต่หัวยันเท้า แสงน้อยก็มี HDR ทำงานร่วมกับ Nest Hello, Google Home Mini แจ้งเตือนมีคนอยู่หน้าประตูได้

งบประมาณในการสร้าง Smart Home

อยากได้บ้าน Smart Home ก็ต้องมีงบประมาณ แต่ของบางอย่าง อาจจะหาซื้อไม่ได้ในบ้านเรา แต่ก็มีคนหิ้ว หรือถ้าสั่งซื้อมาจากต่างประเทศตอนบินไปเที่ยว ก็น่าสนใจเพราะราคาถูกกว่า แต่การสั่งออนไลน์ผ่าน Amazon, Lazada ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว

เราอาจเริ่มจากสิ่งของที่หาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา เช่น Smart Plug Wi-Fi อย่างน้อยก็เอาไว้ สั่งปิดไฟ เผื่อเราเผลอชาร์จมือถือไว้ที่บ้านแล้วออกมาข้างนอก แล้วลืมถอดปลั๊ก ก็สั่งปิดการจ่ายไฟได้ หรืออยากสร้างบรรยากาศในห้อง ก็หาหลอดไฟอัจฉริยะสักชุดมาใช้ ของพวกนี้อาจจะมีราคาสูง แต่เพื่อความสุขของคนในบ้านก็น่าลงทุน แนะนำให้ขยับขยายไปเรื่อยๆ ตามงบประมาณที่มี และความจำเป็นของคนในบ้าน เมื่อมีครบแล้ว เราก็เริ่มสร้างระบบบ้าน Smart Home กันได้เลย


ที่มา : www.tomsguide.com , www.the-ambient.com , www.the-ambient.com

0 %E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+Smart+Home+%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0+%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น