แชร์หน้าเว็บนี้ :
วิธีปรับแต่ง Firefox ให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันนี้ เว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวมีความเร็วในการเปิดหน้าเว็บไซต์แทบไม่แตกต่างกัน ดังนั้น "ความเร็ว" ที่เราพูดถึงในบทความนี้ จะเป็นเทคนิคในการรีดประสิทธิภาพการทำงานของตัว Firefox ให้เร็วขึ้นไปอีก และช่วยให้การทำสิ่งต่างๆ บนเว็บไซต์ลื่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม
บทความเกี่ยวกับ Mozilla อื่นๆ
หมายเหตุ บทความนี้ เขียนโดยอ้างอิงจาก Firefox เวอร์ชัน 72.0.2
เปิดใช้งาน Hardware Acceleration Firefox เวอร์ชันในปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์จากการ์ดจอ (GPU) มาช่วยในการเรนเดอร์การแสดงผลหน้าเว็บไซต์ และเล่นมัลติมีเดียต่างๆ ให้ราบรื่นยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่ฟังก์ชันนี้จะถูกเปิดใช้งานเอาไว้เป็นค่าเริ่มต้น แต่บางทีมันอาจจะถูกปิดการใช้งานเอาไว้ เทคนิคแรกที่อยากแนะนำจึงอยากให้ลองเช็คการตั้งค่าในส่วนนี้ก่อน
วิธีเปิด Hardware Acceleration ใน Firefox พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:preferences เลื่อนลงมาด้านล่างมองหาเมนู ประสิทธิภาพ (Performance) ในช่อง 🗹 ใช้การตั้งค่าประสิทธิภาพที่แนะนำ (Use recommended performance settings) ติ๊กเครื่องหมาย ✔ ออก ติ๊ก 🗹 ตรง Use hardware acceleration when available (ถ้าไม่มีให้เลือก แสดงว่าเครื่องของคุณไม่รองรับคุณสมบัตินี้นะ ไม่ต้องตกใจ) กำหนดค่า Content process limit ตรงส่วนนี้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้แรมโดยตรง เราขอแนะนำการตั้งค่าดังนี้
หากคอมพิวเตอร์มีแรมต่ำกว่า 8GB ไม่ควรตั้งค่าเกิน 4 แรม 16GB ตั้งค่าไว้ที่ 5 แรม 32GB ตั้งค่าไว้ที่ 6 แรม 64GB ตั้งค่าไว้ที่ 7
ปรับแต่งการตั้งค่า การตั้งค่าระดับสูงใน Firefox สามารถทำได้ในหน้า Config ซึ่งการปิดส่วนที่ไม่จำเป็น และเปลี่ยนแปลงค่าบางอย่าง จะช่วยให้ Firefox ทำงานได้เร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ควรตั้งค่าอย่างระมัดระวัง หากไม่แน่ใจตรงส่วนไหน อย่าเพิ่งไปยุ่งกับมันจะดีที่สุด
วิธีเข้าหน้าการตั้งค่าระดับสูง พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:config คลิกยอมรับความเสี่ยง และดำเนินการต่อ (I accept the risk!) คลิกเมนู แสดงทั้งหมด (Show all) แก้ไขค่าด้วยการดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือกที่ต้องการ
การตั้งค่าที่แนะนำ browser.download.animateNotifications เป็น False security.dialog_enable_delay เป็น 0 network.prefetch-next เป็น False (เฉพาะคนที่ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้า) browser.newtabpage.activity-stream.feeds.telemetry เป็น false browser.newtabpage.activity-stream.telemetry เป็น false browser.ping-centre.telemetry เป็น false toolkit.telemetry.archive.enabled เป็น false toolkit.telemetry.bhrPing.enabled เป็น false toolkit.telemetry.enabled เป็น false toolkit.telemetry.firstShutdownPing.enabled เป็น false toolkit.telemetry.hybridContent.enabled เป็น false toolkit.telemetry.newProfilePing.enabled เป็น false toolkit.telemetry.reportingpolicy.firstRun เป็น false toolkit.telemetry.shutdownPingSender.enabled เป็น false toolkit.telemetry.unified เป็น false toolkit.telemetry.updatePing.enabled เป็น false
ปิดการใช้งาน Accessibility Services Firefox จะมีการตรวจดูการใช้งานของคุณผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Accessibility Service ซึ่งทำมาเพื่อช่วยเหลือในการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ที่มีความพิการทางร่างกาย ถ้าคุณเป็นคนปกติ ฟังก์ชันนี้จึงไม่มีความจำเป็นเลย การปิดมันไว้ จะช่วยให้ Firefox ทำงานเร็วขึ้นอีกนิดนึง
วิธีปิด Accessibility Services พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:preferences ไปที่เมนูความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย (Privacy & Security) เลื่อนลงมาด้านล่างมองหาเมนูสิทธิอนุญาต (Permissions) ติ๊ก 🗹 ตรง ป้องกันไม่ให้บริการการช่วยการเข้าถึงเข้าถึงเบราว์เซอร์ของคุณ (Use hardware acceleration when available)
ปิดการทำงาน Built-in Firefox Add-ons ใน Firefox เวอร์ชันล่าสุด มีการใส่ Add-ons ที่เรียกว่า Pocket ให้มาด้วย ไม่ว่าเราจะอยากใช้มันหรือไม่ก็ตาม หากเราไม่ต้องการใช้มัน แนะนำให้ปิดการทำงานเอาไว้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการเปิด Firefox และอัตราการบริโภค RAM ด้วย
Pocket ทำหน้าที่คล้ายกับ Bookmarks แต่จะให้เราบันทึกเนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบ เช่น Blogs, News, เว็บไซต์, วิดีโอ ฯลฯ เอาไว้ในที่เดียวกัน สามารถดูข้อมูลใน Pocket ได้จากอุปกรณ์ตัวไหนก็ได้ที่ใช้บัญชีเดียวกัน
วิธีปิด Built-in Firefox Add-ons พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:config คลิกยอมรับความเสี่ยง และดำเนินการต่อ (I accept the risk!) คลิกเมนู แสดงทั้งหมด (Show all) แก้ไขค่าด้วยการดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือกที่ต้องการ ตั้งค่าดังนี้ reader.parse-on-load.enabled เป็น False reader.parse-on-load.force-enabled เป็น False browser.pocket.enabled เป็น False loop.enabled เป็น False ใช้คำสั่ง Minimize Memory Usage เวลาที่เราปรับแต่งการทำงานของ Firefox, ติดตั้ง Extensions หรือมี History สะสมนานๆ มันจะใช้พื้นที่หน่วยความจำของตัวเว็บเบราว์เซอร์มากขึ้นเรื่อยๆ การใช้คำสั่ง Minimizing memory usage จะช่วยลดปริมาณหน่วยความจำที่ใช้ไป ทำให้ Firefox ทำงานได้เร็วขึ้นได้ด้วย
วิธีใช้ Minimize Memory Usage พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:memory ตรง Free memory คลิก Minimize memory usage
ปิดการทำงานของ Data Collection Firefox มีการเก็บข้อมูลการใช้งานของเราส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาตัวเว็บเบราว์เซอร์ให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม มันก็ทำให้เบราว์เซอร์ทำงานช้าลงได้ด้วย
วิธีปิดการทำงานของ Data Collection พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:preferences ไปที่เมนูความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย (Privacy & Security) เลื่อนลงมาด้านล่างมองหาเมนู การเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูล Firefox (Firefox Data Collection and Use) ตรง 🗹 อนุญาตให้ Firefox ส่งข้อมูลทางเทคนิคและการโต้ตอบไปยัง Mozilla (Allow Firefox to send technical and interaction data to Mozilla) ให้ติ๊กเครื่องหมาย ✔ ออก
ปรับปริมาณการดาวน์โหลดข้อมูลของหน้าเว็บไซต์ หากคุณใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนน่าจะใช้อยู่) เราสามารถตั้งค่า Pipelining เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลหน้าเว็บได้ด้วย มันจะช่วยให้ Firefox สามารถดาวน์โหลดข้อมูลหลายๆ อย่างในหน้าเว็บพร้อมกันภายในครั้งเดียว
วิธีปรับปริมาณการดาวน์โหลดข้อมูลของหน้าเว็บไซต์ พิมพ์ในช่อง Url ว่า about:config ตั้งค่า network.http.pipelining เป็น true ด้วยการเลือกให้เป็น "ตรรกะ" แล้วคลิก "+" ตั้งค่า network.http.proxy.pipelining เป็น true ด้วยการเลือกให้เป็น "ตรรกะ" แล้วคลิก "+" ตั้งค่า network.http.pipelining.maxrequests เป็น 30 เพื่อให้ Firefox ทำ 30 Requests ได้พร้อมกันในทีเดียว ด้วยการเลือกให้เป็น "ตัวเลข" แล้วคลิก "+" พิมพ์เลข 30 ลงไป แล้วคลิกที่ปุ่ม ✔ ตั้งค่า nglayout.initialpaint.delay เป็น 0 ด้วยการเลือกให้เป็น "ตัวเลข" แล้วคลิก "+" พิมพ์เลข 0 ลงไป แล้วคลิกที่ปุ่ม ✔ ทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นเข้ามาได้นะครับ
ที่มา : www.lifehack.org , www.makeuseof.com , www.prostudyguides.com , xd.adobe.com