เมื่อพูดการใช้งาน อินเทอร์เน็ต (Internet) และปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของ โปรแกรมเปิดเว็บ หรือ เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ที่เราใช้งานอยู่ถือว่ามีส่วนสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม และ เว็บเบราว์เซอร์ได้กำหนดค่าเริ่มต้น (Default Settings) มาให้เรียบร้อย แต่การตั้งค่าเหล่านั้นก็อาจไม่ค่อยตอบโจทย์ด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสักเท่าไหร่
ซึ่งบทความนี้เราจะมาบอกวิธีที่คุณจะสามารถปรับแต่งการ ตั้งค่าของ Firefox เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยมากขึ้นในการท่องอินเทอร์เน็ต
โดยทั่วไปหน้าจอโฮม (Home Screen) ของ เว็บเบราว์เซอร์ Firefox จะมีการโชว์ข้อมูลจาก ประวัติของเว็บเบราว์เซอร์ (Browsing History) และแสดงเนื้อหาสปอนเซอร์บางส่วนที่ระบบเก็บข้อมูลจากการใช้งานของคุณ คุณสามารถปิดมันเพื่อลดการติดตามจากระบบได้เพราะมันไม่จำเป็น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
สิ่งที่ควรเหลือไว้และมีประโยชน์บน "หน้า Home Screen" จริง ๆ คือ "Web Search" เพราะมันจะโชว์แท็บค้นหา Search Engine ให้คุณใช้งานได้สะดวกนั่นเอง
บน เว็บเบราว์เซอร์ Firefox จะมีออปชันที่ให้เราสามารถตั้งค่าได้ง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เว็บไซต์ติดตามข้อมูลว่าเราสนใจอะไร และแสดงโฆษณามากวนใจ หรือ "Do Not Track" โดยปกติจะมี 2 ตัวเลือก คือ "Always" และ "Only when Firefox is set to block known trackers" หรือ ป้องกันการติดตามทุกครั้ง และ ป้องกันเฉพาะเว็บไซต์ที่ทาง เว็บเบราว์เซอร์ Firefox กำหนดไว้ ซึ่งวิธีตั้งค่า คือ
สำหรับระบบของเครื่องมือค้นหา (Search Engine) บนเว็บเบราว์เซอร์ Firefox นั้น ค่าเริ่มต้นที่ให้ใช้ก็คือของ บริการของ Google Search นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วคุณอาจจะเคยกังวลเกี่ยวกับติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์บุคคลที่สาม และลืมไปว่า Google เองก็เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลของผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้
ดังนั้นหากคุณกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวจริง ๆ คุณควรเปลี่ยนไปใช้ Search Engine ที่จะไม่เก็บประวัติข้อมูลใด ๆ ไว้เลย อย่าง "DuckDuckGo" ก็จะเป็นการเพิ่มความเป็นส่วนตัวได้มากเลยทีเดียว
ถ้าคุณกังวลด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) คุณควรยอมเสียความสะดวกในการใช้เว็บเบราว์เซอร์ไปบ้าง โดยการคอยลบประวัติการใช้งาน ที่บันทึกโดยเว็บเบราว์เซอร์ และข้อมูลของ เว็บคุกกี้ (Web Cookie) บ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยคุณได้อย่างแน่นอน วิธีคือ
สำหรับ เว็บเบราว์เซอร์ Firefox ได้มอบตัวเลือกในการปกป้องความเป็นส่วนตัวให้คุณถึง 3 รูปแบบ (Option) ใน "เมนู Privacy and Security" ซึ่งหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำว่าคุณควรตั้งค่าอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ในการเพิ่มความปลอดภัย
เมื่อเข้ามาที่หน้าเมนู คุณจะเห็นตัวเลือกทั้งหมด 3 รูปแบบให้เลือกคือ
การเลือกแบบ Standard จะช่วยป้องกันข้อมูลของคุณในด้านต่าง ๆ เช่น
หากคุณเปลี่ยนค่าเป็น Strict รูปแบบการป้องกันจะคล้ายกับของ "Standard" เพียงแต่จะมีการเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันการติดตามจากทุกแพลตฟอร์ม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ในรูปแบบ Custom คุณสามารถกำหนดการป้องกันได้เองและยังเพิ่มตัวเลือกออปชัน ในการบล็อกการติดตามข้อมูลคุกกี้ หรือ การติดตามเว็บไซต์ที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้นได้ตามต้องการ
เมื่อพูดถึงตัวจัดการรหัสผ่าน ที่จะเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน (Username หรือ User ID) และรหัสผ่าน (Password) ต่าง ๆ ของคุณเอาไว้ใช้ได้อัตโนมัติ หรือ "Firefox Logins & Passwords" ที่มีอยู่บน เว็บเบราว์เซอร์ Firefox แน่นอนว่ามันเพิ่มความสะดวกของคุณได้มากเลยทีเดียว เพราะไม่ต้องสับสนในการจดจำ แถมยังปลอดภัยมากกว่าการใช้รหัสง่าย ๆ หรือรหัสผ่านเดียวกันทุกอัน แต่ความจริงแล้ว ระบบของ เว็บเบราว์เซอร์ Firefox ก็ไม่ได้ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม และ ปลอดภัยอย่างที่คุณคิด
หนึ่งเพราะว่ามัน ใช้งานได้แค่ใน เว็บเบราว์เซอร์ Firefox ซึ่งเมื่อคุณเกิดเปลี่ยนใจไปใช้ เว็บเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ ปัญหาก็จะตามมาทันที เพราะคุณต้องมานั่งจำรหัสทั้งหมดใหม่ แต่นั่นยังนับว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความปลอดภัยที่ระบบให้คุณได้แค่ประมาณหนึ่งเท่านั้น เพราะ หากวันใดคุณลืมล็อกอุปกรณ์ และมีคนแอบใช้อุปกรณ์ของคุณ อีกฝ่ายก็สามารถเข้าถึงรหัสผ่านบน เว็บเบราว์เซอร์ Firefox ของคุณได้ทั้งหมดเลย ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ
ดังนั้นระบบจัดการรหัสผ่านที่ดี ควรจะให้คุณมีรหัสกลางแยกต่างหาก เพื่อใช้ล็อกอินอีกชั้นก่อนใส่ ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ที่บันทึกไว้แต่ละอัน และมันควรจะมีระบบ เช่น การตัดการเชื่อมต่ออัตโนมัติหลังจากที่คุณใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ซึ่งคุณสมบัติที่เราว่ามามีอยู่ใน บริการจัดการรหัสผ่าน เจ้าดังหลายเจ้า และเราขอแนะนำ เช่น "โปรแกรม 1Password" หรือ "BitWarden" ทั้ง 2 โปรแกรมนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น แต่ยังสามารถใช้ร่วมกับ เว็บเบราว์เซอร์ในรูปแบบส่วนขยาย (Web Browser Extension) ที่จะทำให้คุณจัดเก็บรหัสผ่านข้ามแพลตฟอร์มและทุกโปรแกรมในอุปกรณ์ของคุณได้เลย
โดยปกติแล้วข้อมูลส่วนตัวที่บางเว็บไซต์ต้องการขอใช้ ก็จะมีจำพวก ไมโครโฟน กล้อง ตำแหน่ง การแจ้งเตือน และอื่น ๆ ซึ่งถ้าคุณมีการเยี่ยมชมเว็บไหน แล้วเว็บนั้นถามการอนุญาตจากคุณ คุณก็สามารถยอมรับ หรือ ปฏิเสธได้เลย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป แล้วคุณนึกอยากตั้งค่าใหม่ หรือ เคยอนุญาตเว็บไซต์ให้เข้าถึงข้อมูลไปแล้ว แต่เปลี่ยนใจเพราะกลัวเรื่องความเป็นส่วนตัวขึ้นมา คุณก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
มีข้อมูลบางอย่างที่ เว็บเบราว์เซอร์ Firefox มักจะส่งกลับไปยัง Mozilla ที่เป็นผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งคุณสามารถตรวจดูได้ว่ามีข้อมูลอะไรที่ถูกเก็บไปบ้าง และถ้ารู้สึกไม่ชอบใจ ก็สามารถปิดการอนุญาตได้ โดยเข้าไปที่
แน่นอนว่าถ้าคุณต้องการซิงค์ข้อมูล (Data Sync) หรือ การตั้งค่าระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ เว็บเบราว์เซอร์ Firefox ทั้งหมด มันก็จะเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้มากเลยทีเดียว
แต่ว่าหากคุณรู้สึกไม่สบายใจ ว่าข้อมูลของคุณต้องถ่ายโอนไปมาในระบบของทาง Mozilla ผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ Firefox เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกปิดการ Sync และตัดสินใจเอาว่าข้อมูลใดที่ควรถูกใช้ข้ามอุปกรณ์ หรือข้อมูลใดที่ไม่ควร
หลังจากได้อ่านเทคนิคให้การเพิ่มความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยจากการใช้งานเว็บไซต์ หวังว่าผู้ใช้ Firefox จะสามารถสมหวังดั่งที่ตั้งใจกัน มันอาจจะช่วยได้มากหรือน้อยไม่สำคัญ เพียงแค่มันช่วยได้ก็ดีแล้ว เพราะข้อมูลของทุกคนเป็นสิ่งมีค่า กันไว้ดีกว่าแก้ทีหลังนะครับผู้อ่านทุกท่าน
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |