อาชีพสตรีมเมอร์ (Streamer) หรือที่บ้านเราเรียกกันอย่างติดปากว่านักแคสเกม เป็นอาชีพที่ช่วงนี้เป็นกระแสนิยมอย่างสูง เด็กรุ่นใหม่หลายคนอยากเป็นสตรีมเมอร์ เพราะได้เล่นเกมที่ชอบ, ได้เงิน และมีโอกาสสร้างชื่อเสียง หากช่องประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าการจะแคสเกมก็ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
สตรีมที่มีคุณภาพควรจะภาพคมชัด, เฟรมเรทสูง และค่า Lag ที่น้อย บทความนี้จะแนะนำการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อสตรีมเกมให้มีคุณภาพกัน
ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-4970616/
เนื่องจากการจัดสเปกคอมพิวเตอร์มันเป็นอะไรที่กว้างมากๆ อุปกรณ์ชนิดเดียวกัน สเปกคล้ายกัน ก็มีหลายยี่ห้อ แถมราคาไม่เท่ากันอีก ดังนั้น ในสเปกที่เรายกตัวอย่างมานี้ ขอให้มองว่ามันเป็นแค่ไกด์ไลน์เบื้องต้นเท่านั้นนะครับ
ภาพจาก https://flic.kr/p/2iUyPTq
เหมาะสำหรับสตรีมเกมที่ไม่ได้มีกราฟิกหวือหวามากนัก อย่าง Dota 2 หรือ League of Legends ที่ความละเอียด 1080p หากเป็นเกมที่กราฟิกสูงหน่อย อาจจะต้องลดความละเอียดมาอยู่ที่ 720p แทน
GPU | RX 570 4G | ~4,100 บาท |
CPU | Ryzen 3 3200G | ~3,300 บาท |
CPU Cooler | แถมมากับ CPU | 0 บาท |
เมนบอร์ด | MSI B450M PRO M.2 MAX | ~2,400 บาท |
แรม | DDR4(2400) 8GB Kingston Hyper-X FURY | ~1,500 บาท |
SSD | 1TB SSD WD BLUE SATA M.2 2280 | ~4,700 บาท |
PSU | CORSAIR CV450 450W | ~1,400 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~1,500 บาท |
รวม | ประมาณ | ~18,900 บาท |
เซตประหยัดราคาน่ารักนี้จะใช้ GPU ในการทำ Hardware encoding สเปกนี้แรงพอที่จะสตรีมเกมที่ไม่ได้เน้นกราฟิกอลังการได้อย่างสบายๆ หรืออาจจะสตรีมเกมที่กราฟิกได้โดยต้องยอมปรับคุณภาพกราฟิกภายในเกมให้ต่ำลงหน่อย
Ryzen 3 3200G เป็น CPU ระดับเริ่มต้นที่ดีพอจะรับมือกับการ์ดจอที่แรงกว่านี้ได้ด้วย ในอนาคตหากมีงบเพิ่มเติม คุณก็สามารถอัปเกรดการ์ดจอที่ดีกว่านี้ เพื่อที่จะให้เล่นเกมได้ราบลื่นยิ่งขึ้น
RX 570 4 GB ก็ช่วยให้เราสามารถตั้งค่า Hardware encoding เพื่อสตรีมความละเอียดสูงได้โดยไม่ต้องอาศัย CPU ที่แรง และราคาสูงกว่านี้ด้วย
คอมพิวเตอร์เซตนี้ มีความแรงพอที่จะรับมือกับเกมสมัยใหม่ที่ตั้งค่าความละเอียดสูงในระดับ 1080p หรือ 720p ได้อย่างสบายๆ เลือกรูปแบบการเข้ารหัสได้ด้วยว่าจะใช้ Software encoding หรือ Hardware encoding
GPU | GTX 1660 Ti | ~6,300 บาท |
CPU | Ryzen 5 3600X | ~8,000 บาท |
CPU Cooler | DeepCool Gammaxx 400 | ~790 บาท |
เมนบอร์ด | ASRock X570 PRO4 | ~5,800 บาท |
แรม | HyperX FURY DDR4 16GB (8GBx2) 2400 Black | ~2,500 บาท |
SSD | 1TB SSD WD BLUE SATA M.2 2280 | ~4,700 บาท |
PSU | THERMALTAKE 650W TR2 S | ~1,800 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~2,500 บาท |
รวม | ประมาณ | ~32,390 บาท |
หัวใจของเซตนี้อยู่ที่ Ryzen 5 3600X ที่มี 6 คอร์ 12 เธรด ความเร็วอยู่เริ่มต้น 3.8 GHz Turbo Frequency : 4.4 GHz มันแรงพอที่จะเล่นเกมในยุคนี้ได้อย่างสบายๆ เรามี 2 คอร์ไว้ให้ CPU ใช้ในการ Encoding และยังเหลืออีก 4 คอร์ ไว้สำหรับประมวลเกม หรือซอฟต์แวร์อื่นๆ อีก งบเท่านี้อาจจะเปลี่ยนไปใช้ i5-10600+เมนบอร์ด H470 ที่สเปก และราคาใกล้เคียงกันแทนก็ได้นะครับ
ในส่วนของการ์ดจอ ตัว GTX 1660 Ti ก็แรงพอที่จะเล่นเกมส่วนใหญ่โดยตั้งค่าความละเอียดสูงที่ 1080p ได้อย่างสบายๆ และหากเกมไม่ได้มีกราฟิกสูงมาก ก็อาจจะขยับไปถึง 1440p ได้ด้วยซ้ำไป นอกจากนี้มันยังมีฟังก์ชัน NVIDIA hardware encoding สำหรับช่วยในการสตรีมเกมให้ใช้งานอีกด้วย
สำหรับเกมเมอร์ที่ต้องการเล่นเกมโดยตั้งค่าคุณภาพระดับ Ultra ที่ความละเอียด 1080p หรือ 1440p และสตรีมคุณภาพสูงสุดด้วย Software encoding
GPU | RTX 2070 Super | ~17,000 บาท |
CPU | i5-10600K | ~9,000 บาท |
CPU Cooler | Cooler Master Hyper 212 | ~1,350 บาท |
เมนบอร์ด | Asus Prime Z490M-Plus | ~6,500 บาท |
แรม | DDR4(3000) 16GB (8GBX2) TEAM Vulcan Z Gray | ~2,500 บาท |
SSD | 2TB (1TBx2) SSD WD BLUE SATA M.2 2280 | ~9,400 บาท |
PSU | (80+ Bronze) Silverstone ET750-B 750w | ~2,400 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~4,000 บาท |
รวม | ประมาณ | ~62,150 บาท |
สเปกนี้จะทำให้คุณสตรีมวิดีโอที่ความละเอียด 1080p ได้คุณภาพเกือบสูงสุด ด้วยพลังจาก i5-10600K และการ์ดจอตัวแรงอย่าง RTX 2070 Super
เซตนี้สำหรับคนที่ต้องการเล่นเกมที่ความละเอียดระดับ 4K ไปพร้อมกับการสตรีมที่ 1080p หรือ 1440p ที่คุณภาพระดับสูงสุด
GPU | RTX 2080 Super | ~25,000 บาท |
CPU | i9-10900K | ~18,500 บาท |
CPU Cooler | MSI MAG CORELIQUID 360R | ~6,990 บาท |
เมนบอร์ด | ASROCK Z490 TAICHI | ~13,500 บาท |
แรม | 32GB DDR4/3600 RAM PC G.SKILL TRIDENT Z NEO | ~6,900 บาท |
SSD | 4TB (2TBx2) WD BLACK SN750 | ~31,800 บาท |
PSU | THERMALTAKE TOUGHPOWER GF1 850W (80+ GOLD) | ~5,200 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~6,000 บาท |
รวม | ประมาณ | ~113,1890 บาท |
i9-10900K มีความเร็วที่สูงมาก พร้อมด้วยขุมพลังระดับ 10 คอร์ 20 เธรด ด้วยประสิทธิภาพระดับนี้ คุณจะเล่นเกมแบบ "ปรับสุด" ได้อย่างสบายๆ และยังมีคอร์เหลือไว้สำหรับทำ Video Encoding ให้กับการสตรีมอีกต่างหาก
การ์ดจอ NVIDIA RTX 2080 Super ก็แรงพอที่จะรับมือกับการเล่นเกม 4K ที่ระดับ 60FPS ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แถมด้วยแรม และ SSD ใหญ่ขนาดนี้ ทำให้มันสามารถใช้ตัดต่อวิดีโอสำหรับลง YouTube ได้อย่างเหลือแหล่เลยล่ะ
เซตสำหรับผู้ที่ต้องการเล่นเกม พร้อมกับสตรีมไปด้วยที่คุณภาพระดับสูงสุด เท่าที่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวจะสามารถทำได้
GPU | RTX 2080 Ti | ~45,000 บาท |
CPU | AMD TR 3970X | ~69,000 บาท |
CPU Cooler | CORSAIR ICUE H115I RGB PRO XT | ~5,100 บาท |
เมนบอร์ด | ASUS ROG ZENITH II EXTREME | ~26,000 บาท |
แรม | 64GB DDR4/3600 CORSAIR DOMINATOR PLATINUM | ~29,000 บาท |
SSD | 6TB (2TBx3) WD BLACK SN750 | ~47,700 บาท |
PSU | CORSAIR 1000W AX1000 (80+ TITANIUM) | ~8,400 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~10,000 บาท |
รวม | ประมาณ | ~211,200 บาท |
เซตนี้ คือ ที่สุดแล้วสำหรับการเล่นเกม และสตรีมไปพร้อมกัน สามารถเล่นได้ทุกเกมที่คุณภาพสูงสุด ด้วยพลังจากซีพียู Ryzen THREADRIPPER 3970X ที่มีมากถึง 32 คอร์ 64 เธรด มันช่วยให้คุณสามารถใช้มันทำ Software Encoding ที่ระดับ H264 ได้อย่างสบายๆ
หากจะพูดถึงข้อเสียของเซตนี้ น่าจะมีแค่เรื่องเดียว คือ ราคาที่เราต้องจ่าย
ภาพจาก https://www.acer.com/ac/en/GB/content/predator-thronos
เนื้อหาในส่วนนี้สำหรับผู้ที่ต้องการสตรีมเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องเท่านั้น สามารถข้ามหัวข้อนี้ไปเลยก็ได้ หากคุณต้องการจะใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ในการเล่น และสตรีมเกม
ซึ่งหากงบมีจำกัดการลงทุนกับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวจะประหยัดเงินมากกว่าด้วยล่ะ
สตรีมเมอร์ส่วนใหญ่ก็นิยมใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ในการเล่น และสตรีมเกมไปด้วย ซึ่งมันก็ไม่ได้มีข้อเสียอะไรนะ อย่างไรก็ตาม สตรีมเมอร์บางคนต้องการอะไรที่ "เหนือขึ้นไปอีกขั้น" ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในการเล่นเกม และอีกเครื่องหนึ่งในการทำหน้าที่สตรีม จะว่าไปการทำแบบนี้ก็มีข้อดีอีกอย่าง คือ เราสามารถหาผู้ช่วยอีกคนมาคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ใช้สตรีมในการเพิ่มลูกเล่น, ใส่เอฟเฟค ฯลฯ ระหว่างการสตรีมได้ด้วย
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เล่นเกมนี้ สามารถประกอบได้ตามใจชอบเลย อาจจะดูจากสเปกแนะนำของเกมที่คุณเล่นก็ได้ ตามหน้าเว็บผู้พัฒนาเกมจะมีสเปกแนะนำอยู่แล้ว หรือจะประกอบจากตัวเลือกด้านบนที่เราแนะนำไว้ก็ได้ ทั้งนี้ หากพูดถึงการเล่นเกมแค่เพียงอย่างเดียว Intel ที่มีความเร็วต่อคอร์สูงกว่า AMD ทำให้รีด FPS ได้สูงกว่านะ
คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะทำหน้าที่ในการ Encode และ Stream เป็นหลัก การเลือกสเปกจึงแตกต่างไปจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้เล่นเกมมากพอสมควร โดยเราจะมุ่งเน้นไปที่คุณภาพเป็นหลัก ด้วยการใช้ Software encoding ในการทำงานโดยดึงพลังทั้งหมดจาก CPU มาใช้
โดยจะมี 3 สิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ
นอกจากนี้เราต้องเตรียมหน้าจอมอนิเตอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สตรีมด้วยนะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นจอเฟรมเรทสูง หรือสีแสดงผลตรงเป๊ะนะ เพราะเราเอามันมาเพื่อใช้แค่คุมโปรแกรมที่ไลฟ์สตรีมเฉยๆ
หากคุณเคยต่อหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบ 2 หน้าจอ เพื่อทำ Mirror Display ล่ะก็ วิธีนี้ก็จะใช้หลักการเดียวกัน นั่นเป็นเหตุผลที่เราควรใช้สาย HDMI ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ Capture Card เพราะ HDMI สามารถส่งทั้งสัญญาณเสียง และภาพไปพร้อมกันยัง Capture Card ลองดูไอดะแกรมด้านล่างประกอบ
ภาพจาก https://www.logicalincrements.com/articles/streaming
GPU | ไม่จำเป็น | 0 บาท |
CPU | AMD Ryzen 3 3200G | ~3,300 บาท |
CPU Cooler | แถมมากับ CPU | 0 บาท |
เมนบอร์ด | MSI B450M Pro-M2 Max | ~2,350 บาท |
แรม | DDR4(3000) 8GB (4GBX2) TEAM Dark | ~1,900 บาท |
SSD | 500 GB SSD M.2 WD Blue | ~2,500 บาท |
PSU | (80+ Bronze) COOLERMASTER (MWE450) | ~1,450 บาท |
เคส | แล้วแต่ชอบ | ~1,000 บาท |
รวม | ประมาณ | ~12,500 บาท |
สเปกนี้ออกแบบมาให้ทำการใช้สตรีมอย่างเดียวเลยนะ ทำงานอย่างอื่นอาจจะไม่ไหวเท่าไหร่ เพราะเราไม่ได้ใส่การ์ดจอแยกเข้ามา แต่เลือก CPU ที่มีการ์ดจอออนบอร์ดในตัวให้พอต่อการใช้งานเฉยๆ
สำหรับอินเทอร์เน็ต หากเป็นไปได้ควรเลือกเชื่อมต่อผ่านสาย Ethernet นะครับ ไม่ควรใช้ Wi-Fi เพื่อเสถียรภาพในการอัปโหลดข้อมูล และได้ความเร็วสูงสุด
ราคาของ Capture Card มีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท แน่นอนว่าคุณภาพก็จะแตกต่างไปตามราคาด้วย ซึ่งเราควรเลือกใช้การ์ดที่มีคุณภาพสูงหน่อย เพราะมันจะมาพร้อมซอฟตแวร์ และฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพ การจับสัญญาณอะไรพวกนี้จะทำได้ดีกว่าการ์ดราคาถูก ไม่ค่อยมีปัญหาแครชระหว่างการใช้งานให้ปวดหัว
Capture Card สามารถใช้ในการสตรีมเกมจากเครื่องคอนโซลอย่าง PlayStation, Xbox, Nintendo Switch ฯลฯ ได้ด้วยนะ ไม่จำกัดแค่คอมพิวเตอร์เท่านั้น หากใครสนใจแคสเกมจากคอนโซลก็ต้องซื้อมาใช้เช่นกัน
ภาพจาก https://www.elgato.com/en/gaming/game-capture-4k60-s-plus
ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมก็จะมี AverMedia และ Egato หรือหากงบเยอะก็อาจจะเลือก Blackmagic เลยก็ได้ อีกจุดที่ควรพิจารณา คือ Capture Card จะมีอยู่ 2 รูปแบบนะ
การเลือกซื้อ ควรพิจารณาการ์ดที่รองรับสัญญาณขั้นต่ำเป็น 1080p 60FPS เพื่อให้การสตรีมเป็นไปอย่างสวยงาม ซึ่งในท้องตลาดก็มีให้เลือกใช้งานหลายรุ่น เลือกได้ตามใจชอบเลย
ไม่ว่าเราจะใช้ CPU หรือ GPU ในการ Encoding ทรัพยากรระบบก็ต้องเสียไปอย่างแน่นอน สิ่งนั่นส่งผลต่อการเล่นเกม และ Encoding ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมขนาดใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การใช้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องมาช่วยก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องด้วย Capture Card ที่ด้อยคุณภาพ ก็อาจจะทำให้คุณภาพในการสตรีมของคุณแย่กว่าการใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวก็เป็นได้ พวกการ์ดราคาถูกมักจะใช้ระบบ Digital encoder ในตัวที่ประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ผลลัพธ์ในการ Encode ออกมาแย่ แล้ว CPU ต้องเอาสัญญาณ (แย่ๆ) นั้นมา Encode อีกทีเพื่ออัปโหลดไปยังช่องทางที่เราต้องการอย่างพวก Twitch หรือ YouTube ผลจะออกมาเป็นอย่างไร คงเดากันได้ไม่ยาก
เมื่อเราใช้ Capture card แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะหลีกเลี่นงอาการดีเลย์ เราสามารถตรวจสอบค่าดีเลย์ได้ง่ายๆ ด้วยการกดพรีวิวการสตรีมของเราด้วยโปรแกรมไลฟ์ เช่น XSplit Broadcaster หรือ OBS Studio โดยการกดทดสอบเริ่มไลฟ์บนเครื่องที่ใช้เล่นเกม แล้วดูระยะเวลาว่ากว่าที่ภาพจะมาปรากฏในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สตรีมนั้นทิ้งช่วงเวลานานขนาดไหน
ไม่ว่าเราจะสตรีมด้วยวิธีไหนก็ตาม จะผ่าน OBS หรือ XSlit ซอฟต์แวร์ที่เราใช้จะมีการ Encoding และ Upload เกมเพลย์ของเราไปบนอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ การ Encoding นี้จะมีอยู่ทางเลือก คือ Software Encoding และ Hardware Encoding
แม้เราจะบอกว่า Hardware Encoding ให้คุณภาพแย่กว่า Software Encoding แต่ในปัจจุบันนี้ก็ต่างกันไม่มากเท่าไหร่ และแทบแยกไม่ออกเมื่อรับชมผ่านการไลฟ์สตรีม
การแคสเกม เป็นงานที่ต้องลงทุนในช่วงเริ่มต้นมากพอสมควร หากเราไม่มีคอมพิวเตอร์พร้อมอยู่แล้ว ไหนจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นอย่างกล้องเว็บแคม, ไมโครโฟน, หูฟัง, ฉากเขียว ฯลฯ อีก
ดังนั้น ตอนประกอบคอมพิวเตอร์ อย่าลืมคำนึงถึงค่าใช้ข่ายเหล่านี้เผื่อไว้ด้วยนะครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |