หลายๆ คนอาจจะเคยเจออุปกรณ์เก็บข้อมูลราคาถูก เผลอซื้อมา แต่ไม่รู้ว่าเป็นของปลอม อย่างเช่น ซื้อแฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive) หรือการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) มาใช้แล้ว แต่เกิดเจอปัญหาถ่ายโอนข้อมูลช้า ใช้แป๊บเดียวพัง หรือได้ความจุไม่ตรงตามที่ระบุไว้ อีกทั้งยังเจอปัญหาข้อมูลหาย ทำให้ปวดหัวไปตามๆ กัน
ภาพตัวอย่าง USB และ ฮาร์ดดิสก์พกพาปลอม
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.geckoandfly.com
เพื่อระวังเหตุการณ์ดังกล่าว ในบทความนี้จะมาบอกวิธีดูสังเกตลักษณะของอุปกรณ์เก็บข้อมูลปลอมที่วางขายกันตามท้องตลาด ก่อนจะซื้อ ว่าควรสังเกตจุดไหนบ้าง พร้อมวิธีการตรวจสอบของแท้หรือปลอมด้วย โปรแกรมเช็คความเร็ว และความจุของแฟลชไดร์ฟ เพื่อให้แน่ใจว่าของที่เราใช้งานอยู่นั้นเป็นของจริง !
ของถูกและดี ไม่มีในโลก ... อุปกรณ์เก็บข้อมูลก็เช่นกัน หากเราเจออุปกรณ์เก็บข้อมูลราคาถูก เช่น แฟลชไดร์ฟ, SD Card, Micro SD Card ที่วางขายตามตลาดทั่วไปๆ หรือ เว็บไซต์ออนไลน์ต่างๆ นั้นควรระวังไว้ก่อน เพราะถ้าซื้อมาใช้เราอาจจะเจอปัญหามากกว่าราคาที่เราต้องจ่ายไปก็เป็นได้ ดังนั้นเราควรดูลักษณะของอุปกรณ์เก็บข้อมูลว่าระหว่างแท้ กับ ปลอม ว่าเป็นอย่างไร ได้ดังนี้
ลักษณะอุปกรณ์เก็บข้อมูล
ของแท้
| ของปลอม
|
ความจุเกินขนาด ราคาถูกเกินจริง ดูเหมือนจะใช้ได้ปกติในตอนแรก เช็คความจุก็ตรงตามที่บอก (จริงๆ โดนหลอก) แต่พอใช้ไปสักพักข้อมูลที่เราใส่ไปในอุปกรณ์เก็บข้อมูล หรือ แฟลชไดร์ฟ นั้นกลับหายไปหน้าตาเฉย ! จะกู้ข้อมูลกลับมาก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลไม่ได้มีอยู่แต่แรก หรือข้อมูลถูกเขียนทับไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง
ดังนั้น ควรซื้อ อุปกรณ์เก็บข้อมูล จากตัวแทนจำหน่าย เช่น ร้านค้าที่ได้รับการยืนยัน เท่านั้น !
สงสัยไหมว่า มันปลอมความจุได้อย่างไร ? ไม่ใช่แค่แฟลชไดร์ฟ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลรูปแบบอื่นๆ นั้น
ผู้ไม่หวังดีสามารถปลอมความจุได้ผ่านการดัดแปลงตัวควบคุม (Controller) ภายใน หรือ ใช้ซอฟต์แวร์ในการเปลี่ยนค่าความจุ (Modify Capacity) ใหม่ เช่นจาก 2 GB เป็น 16 GB / 16 GB เป็น 256 GB หรือ มากกว่านั้น เป็นต้น และยิ่งถ้าเจอ แฟลชไดร์ฟ 2 TB (2 Terabyte) ในราคาหลักร้อย ชัวร์ว่าปลอมแน่นอน !
และเหตุผลที่ใช้งานได้ไม่ดี นั่นก็เพราะแผงวงจรและชิปข้อมูลในของปลอมจากตลาดมืด ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน QC มาตรฐานจากโรงงานผลิต ทำให้แฟลชไดร์ฟ หรือ การ์ดหน่วยความจำ ที่ผลิตนั้นมีคุณภาพและอายุการใช้งานต่ำมากๆ
ส่วนการเทคนิคในการปลอมความจุ เช่นแฟลชไดร์ฟขนาด 2 GB ปลอมเป็น 16 GB โดยใช้การเขียนข้อมูลลงบนตัวควบคุมและแผงวงจร โดยปลอมและแบ่งออกเป็น สองประเภท ใหญ่ๆ ได้แก่ Type A และ Type B ดังนี้
ปลอมความจุ สองประเภท
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.rmprepusb.com
ประเภท A (Type A) | ประเภท B (Type B) |
แต่ความเป็นจริง ไฟล์ที่ถูกคัดลอกไปทั้งหมดนั้น จะสามารถใช้งานได้แค่ "2 GB แรก" ส่วนที่เหลือหลังจาก 2 GB ไปนั้น ไฟล์จะเสียหายทั้งหมดและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เลย |
ปัญหาคือ เมื่อใดก็ตามที่ขนาดไฟล์เยอะเกิน 2 GB (ความจำที่มีอยู่จริง) ไฟล์ถัดไปที่เกิน 2 GB จะถูกเขียนที่ 0 MB ใหม่ จนทับหน่วยความจำ และทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงไฟล์อะไรไม่ได้เลย ไฟล์เดิมก็จะถูกลบทิ้งไปด้วย |
การปลอมทั้งสองแบบ นั้นทำให้เกิดปัญหาข้อมูลภายในเสียหายใช้งานไม่ได้
หากซื้ออุปกรณ์เก็บข้อมูลมาแล้ว อยากเช็คและตรวจสอบให้แน่ใจ สามารถใช้วิธีการทดสอบเหล่านี้ได้ ด้วยการทดสอบการอ่านเขียนข้อมูล, เพื่อทดสอบความจุที่แท้จริง ผ่านโปรแกรมด้านล่างนี้
ข้อควรระวัง การตรวจสอบอุปกรณ์เก็บข้อมูลด้วยโปรแกรม อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลภายในได้ ดังนั้นไม่ควรเก็บข้อมูล หรือ ตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีข้อมูลสำคัญอยู่ภายใน
ควรสำรองข้อมูลก่อนทำการตรวจสอบทุกครั้ง
โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับทดสอบความจุแฟลชไดร์ฟ หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เป็นของปลอม ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที ด้วยโหมด "Quick Size Test" โปรแกรมจะทำการสแกนเนื้อที่ความจุภายใน เมื่อเจอความผิดปกติเช่น Bad Memory ที่จุดใดจุดหนึ่ง ตัวโปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ให้ดูทันที ทำให้เรารู้ได้ว่าความจุจริงๆ ของแฟลชไดร์ฟมีความจุเท่าไหร่ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ด้านล่างนี้
ดาวน์โหลดโปรแกรม FakeFlashTest (รหัสผ่านแตกไฟล์ : fake)
โปรแกรม RMPrepUSB ด้านล่างนี้ก็สามารถใช้งาน "โหมด Quick Size Test" เพื่อทดสอบความจุได้ ซึ่งตัวโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างความผิดปกติให้เห็นเช่นกัน แต่โปรแกรมนี้จะมีความสามารถพิเศษอื่นๆ มากกว่าโปรแกรมแรก เช่นใช้ฟอร์แมตหน่วยความจำเป็นรูปแบบอื่น, ใช้ทดสอบความเร็วการอ่านเขียนของอุปกรณ์ หรือ ใช้สร้าง USB แบบ Bootable ไว้ใช้งานอย่างการลงระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่ ได้แทนการใช้แผ่น ได้นั่นเอง
ดาวน์โหลดโปรแกรม RMPrepUSB (รหัสผ่านแตกไฟล์ : rmprep)
จากวิธีการสังเกตและเครื่องมือสำหรับตรวจสอบข้างต้น เพื่อนๆ ก็ใช้วิธีเหล่านั้นในการระวังสินค้าแปลกปลอม แฟลชไดร์ฟ หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลปลอมที่มาหลอกขายเรา ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ เพื่อจะได้ใช้งานของแท้ที่มีคุณภาพ ใช้งานได้ข้อมูลไม่หายง่ายๆ เหมือนกับของปลอมที่จะเจอ รู้ก่อน ก็ป้องกันได้ก่อน สำหรับในตอนนี้ทีมงานต้องขอลาไปก่อน ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
|
It was just an ordinary day. |
ความคิดเห็นที่ 1
20 กันยายน 2564 09:59:10
|
||
GUEST |
Z
สุดท้าย จะรู้ว่าปลอมไม่ปลอม ก็ต้องเสียเงินซื้อมาก่อนอยู่ดี ถึงจะตรวจสอบได้ว่าแท้หรือปลอม
|
|