Facebook, Instagram และ Twitter ถือว่าเป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงมากในยุคนี้ ซึ่งในแต่ละวันก็มีผู้ใช้หลายล้านคนเข้าใช้งานแพลทฟอร์มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการแชร์โพสต์ผ่าน Facebook, โพสต์รูปหรือลง IG Stories บน Instagram, การพูดคุยกับคนรู้จักผ่าน Messenger และการทวีตข้อความและส่งข้อความคุยกันผ่าน Twitter
และมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (Privacy and Security) ในการใช้งาน โซเชียลมีเดียแพลทฟอร์ม ต่าง ๆ เพราะบางครั้งเราก็ไม่ได้อยากจะแชร์เรื่องราวบางอย่างให้คนอื่น ๆ ได้รับทราบด้วยเท่าไรนัก ดังนั้นแอปพลิเคชันต่าง ๆ จึงได้พัฒนาเครื่องมือขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการมองเห็นโพสต์ของตนเองได้ตั้งแต่การเริ่มร่างโพสต์ต่าง ๆ โดยเมื่อกดเลือกที่ Post Audience ด้านล่างชื่อ Facebook ของตนเองก็จะสามารถเลือกตั้งค่าการมองเห็นโพสต์ได้ตามต้องการ ดังนี้
ภายใน Facebook จะมีเมนู Privacy Shortcuts เพื่อเข้าถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสามารถกดที่ Review a few Important Settings ก็จะมีข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับการตั้งค่าความปลอดภัยปรากฎขึ้นมาให้เราสามารถกดเข้าไปปรับค่าได้เลย
หรือหากกดที่ See more Privacy Settings ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าความปลอดภัยปรากฏขึ้นมา และด้านล่างของ Privacy Shortcuts ก็ยังรวมการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการใช้งาน Facebook ด้านต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปปรับค่าได้อย่างอิสระ
ผู้ใช้สามารถเลือกตั้งค่าการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งาน Facebook ของตนเองได้ที่เมนู Setting → Privacy Settings (หรือจะไปที่ Privacy Shortcuts → See Privacy Setting ก็ได้)
โดยเราจะสามารถปรับได้ทั้งการค้นหาผ่านอีเมล, เบอร์โทรศัพท์, การส่งคำขอเป็นเพื่อน, การตั้งค่าการมองเห็น Stories, Activity การใช้งานต่าง ๆ เป็นต้น
ตั้งค่าการมองเห็นและการแท็กโพสต์หรือรูปต่าง ๆ บน Timeline และการแชร์โพสต์ไปยัง Stories ได้ที่ Setting → Privacy → Profile and Tagging
ผู้ใช้สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Facebook ได้ทั้งการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ, เปิดการแจ้งเตือนเมื่อมีการล็อกอินบัญชี Facebook จากอุปกรณ์อื่น และเปิดการใช้งาน การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication)
นอกจากนี้แล้วยังสามารถตรวจเช็คความปลอดภัยของบัญชีได้จากเมนู Setting → Security → Security and Login จากนั้นกดไปที่ Check your important security setting (หรือจะกดเข้า Privacy Shortcuts แล้วปรับการตั้งค่าใน Account Security ก็ได้เช่นกัน)
ส่วนโฆษณาที่ปรากฏบนหน้า Facebook ของเรา ทาง Facebook ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่มีการขายข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้ให้กับบริษัทอื่น ๆ มีเพียงแค่ข้อมูลทั่วไปอย่างชื่อบัญชีหรือช่วงอายุของผู้ใช้เท่านั้น และผู้ใช้ยังสามารถเลือกที่จะกดซ่อนหรือรายงานการโฆษณาจากจากแบรนด์นั้น ๆ ได้ และหากกดไปที่เมนู Why am I seeing this ad ? ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการยิง Ads ของแบรนด์นั้น ๆ ปรากฏขึ้นมา
นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าการโฆษณาต่าง ๆ ได้ในเมนู Setting → Ads Preference และเลือกปรับค่าบนเมนูต่าง ๆ ได้เลย โดยในเมนู Ad Topics สามารถตั้งค่าการเห็นโพสต์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จำพวกแอลกอฮอล์, การเลี้ยงดูเด็ก และสัตว์เลี้ยงให้น้อยลงจากเดิมได้ และใน Ad Settings ก็สามารถเปิด - ปิดการเข้าถึงของโฆษณาต่าง ๆ ได้ตามต้องการ (หรือกดเข้าไปที่ Privacy Shortcuts แล้วเปิด Ad Settings ก็ได้เช่นกัน)
สำหรับการใช้งานบัญชี Facebook ร่วมกับ บริการ หรือ แอปพลิเคชัน 3rd Party อื่น ๆ ก็ ไม่มีการส่งข้อมูลผู้ใช้ให้กับบริษัทนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน มีเพียงแค่ข้อมูลรูป, ชื่อ Facebook, อีเมล, วันเกิด และรายชื่อเพื่อนของผู้ใช้เท่านั้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่อนุญาตให้ใช้งานข้อมูลดังกล่าวก็สามารถเลือกปิด - เปิดการเข้าถึงข้อมูลบางส่วนได้ด้วยเช่นกัน และหากบริษัท 3rd Party ต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ที่นอกเหนือไปจากข้อมูลข้างต้นก็จะต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากทาง Facebook ก่อน
นอกจากนี้แล้ว บริการ 3rd Party อื่น ๆ จะ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ผู้ใช้ได้อีกหลังจากที่ผู้ใช้เลิกใช้งานบริการนั้น ๆ นานกว่า 3 เดือน โดยการลบสิ่งต่างๆ มีดังต่อไปนี้
สำหรับการบล็อกผู้ใช้ทั่วไปนั้นจะสามารถเลือกได้ทั้งการบล็อกบัญชี Facebook และการบล็อก Messenger ส่วนการบล็อกเพจต่าง ๆ จะสามารถบล็อกได้เฉพาะแค่ Messenger เท่านั้น ส่วนการแจ้งรายงานการใช้งานไม่เหมาะสม (Report) นั้นสามารถแจ้งรายงานได้ทั้งการคุกคาม, การทำร้ายตนเอง, สวมรอยเป็นบุคคลอื่น, แชร์ข้อมูลไม่เหมาะสม, ใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง, ขายของ (ขายตรง) และอื่น ๆ
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการเปิดรับ / ปิดกั้นการส่งข้อความจากผู้ใช้คนอื่น ๆ ไม่รู้จักได้ด้วยการกดที่ไอคอนรูปโปรไฟล์ จากนั้นไปที่ Privacy → Message Delivery แล้วเลือกกดยอมรับ / ปฏิเสธการส่งข้อความจากผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งในเมนูนี้ยังสามารถตั้งค่าการใช้งานร่วมกับ Instagram ได้อีกด้วย
และหากผู้ใช้คนใดต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการใช้งานมากขึ้นไปอีกก็สามารถใช้งานฟีเจอร์ Secret Conversation ที่เป็นการส่งข้อความเข้ารหัสแบบ End-to-End Encrypt ที่สามารถ “ตั้งเวลา” การแสดงผลข้อความได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งเอาไว้ข้อความก็จะถูกลบออกจากระบบทั้งทางฝั่งผู้ใช้และคู่สนทนา แต่ฟีเจอร์นี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะบนสมาร์ทโฟนเท่านั้น (ไม่สามารถส่ง-รับข้อความผ่าน Messenger บน PC ได้)
คลิปวิธีใช้งาน ห้องสนทนาลับ (Secret Conversation) บน Facebook Messenger
สำหรับ Instagram นั้นจะต่างออกไปจาก Facebook และ Messenger เพราะผู้ใช้สามารถที่จะตั้งค่า "ล็อกบัญชี (Lock Account)" หรือปรับการตั้งค่าบัญชีให้เป็น บัญชีแบบส่วนตัว (Private Account) เพื่อที่จะไม่ให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาสอดส่องรูป หรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆ บนบัญชีของเราได้ (ผู้ใช้จะต้องกดรับ Follow ก่อนจึงจะสามารถดูรูปและ Stories ได้)
โดยเราสามารถตั้งค่าให้เป็นบัญชีส่วนตัว ได้ด้วยการไปที่เมนูเพิ่มเติม (☰) จากนั้นไปที่ Setting → Privacy และกดเปิดการทำงานของ Private Account
ถึงแม้ว่าจะตั้งเป็นบัญชีส่วนตัว (Private Account) แล้วก็ตาม แต่หากยังไม่ได้ปิดการรับข้อความจากบุคคลอื่น ๆ ก็อาจเห็นข้อความสแปมใน DM อยู่บ่อย ๆ แต่ผู้ใช้สามารถเลี่ยงข้อความต่าง ๆ เหล่านี้ได้โดยการกดเข้าไปตั้งค่าที่ Setting → Privacy → Message แล้วเลือกเปิด / ปิดการรับข้อความได้ตามความต้องการ
นอกจากนี้ในเมนู Privacy ยังสามารถเลือกตั้งค่าปิดการคอมเมนต์, การแท็กชื่อ, การเอ่ยหรือกล่าวถึง (Mention) รวมทั้งตั้งค่าการมองเห็น IG Stories ได้อีกด้วย
สำหรับใครที่ Login เข้าใช้งาน Instagram บนอุปกรณ์อื่น ๆ แล้วต้องการที่จะ Logout ออกจากระบบก็สามารถทำได้โดยการเข้าไป เปลี่ยนรหัสผ่าน (Change Password) ได้ที่ Setting → Privacy → Password ได้เลย หรือหากต้องการเช็คการลงชื่อใช้งาน Instagram ก็กดไปที่ Login Activity เพื่อดูประวัติการใช้งานและกดเปลี่ยนรหัสผ่านที่ This Wasn't Me ได้หากมีการ Login จากบุคคลอื่น
ผู้ใช้สามารถเข้าไปที่ Setting → Security แล้วเลือกเปิด - ปิดฟีเจอร์จดจำการใช้งาน และเปิดการใช้งาน การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Instagram มากขึ้นได้
ส่วนการจัดการโฆษณาบน Instagram นั้นจะมีตัวเลือกน้อยกว่าบน Facebook คือ ผู้ใช้จะสามารถเลือกกดซ่อนหรือแจ้งรายงานโฆษณาบนหน้า Timeline ได้ หรือเข้าไปที่ Setting → Ads → Ads Topics เพื่อลดการมองเห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์, การเลี้ยงดูเด็ก และสัตว์เลี้ยง หรือกดที่ Data about your activity from Partners แล้วเลือกกดเปิด - ปิดการแชร์ข้อมูลเพื่อแสดงโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของเราได้
ในส่วนของบัญชี Twitter นั้น ผู้ใช้ก็สามารถที่จะตั้งค่า "ล็อกบัญชี" ได้คล้าย ๆ กับบน Instagram โดยเมื่อผู้ใช้ทำการล็อกบัญชี Twitter แล้ว ผู้ใช้คนอื่น ๆ จะต้องรอให้เรากดรับ Follow ก่อนจึงจะสามารถมองเห็นและตอบกลับทวีตของเราได้ นอกจากนี้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ล็อกบัญชีก็จะไม่เห็นเมนชันของผู้ใช้ที่ล็อกบัญชีด้วยเช่นกัน
โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าการล็อกบัญชีได้โดยการไปที่เมนู Settings and Privacy → Privacy and Safety แล้วเปิด Protect your Tweet ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานแล้วก็จะเห็นได้ว่าเมนู Live Video จะหายไป และเมื่อปัดเพื่อเรียกใช้งานเมนูก็จะเห็นได้ว่ามีรูปไอคอนแม่กุญแจ อยู่ที่ด้านหลังชื่อบัญชีและมี "เมนู Follower Requests" เพิ่มเข้ามา
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการล็อกบัญชีแต่ต้องการจำกัดการพูดคุยหรือการ Reply มาก่อกวน ก็สามารถตั้งค่าการตอบกลับทวีตได้โดยการกดไปที่ Who can reply ด้านล่าง และเลือกผู้ที่ต้องการให้ตอบกลับทวีตของเราได้ทั้งการเปิดให้ทุกคนสามารถตอบกลับได้ (Everyone), เฉพาะคนที่เราติดตาม (People you follow) หรือเปิดให้ตอบกลับเฉพาะคนที่เรากล่าวถึง (Only people you mention) ก็ได้เช่นกัน
ผู้ใช้สามารถเข้าไปปิดการรับข้อความ Direct Message จากบุคคลที่ไม่รู้จักได้ด้วยการไปที่ Settings and privacy → Privacy and safety → Direct Message (หรือไปที่กล่องข้อความแล้วกดไอคอนตั้งค่า) จากนั้นกดปิด Recieve Message Requests
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการแท็กชื่อบนรูปได้ที่ Settings and privacy → Privacy and safety → Photo tagging แล้วเลือกปิดการแท็กรูป (Off), อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่เราติดตามสามารถแท็กได้ (Only people you follow can tag you) หรือเปิดให้ทุกคนสามารถแท็กได้ (Anyone can tag you)
ปิดการเข้าถึงและการค้นหาบัญชี Twitter ผ่านเบอร์โทรหรืออีเมลด้วยการไปที่ Settings and privacy → Privacy and safety → Discoverability and contacts แล้วยกเลิกการเข้าถึงบัญชีทั้งหมด
ปิดการเข้าถึงข้อมูลและการแชร์ความสนใจของเราบน Twitter เพื่อให้มีการแสดงผลโฆษณาน้อยลงได้ด้วยการไปที่ Settings and privacy → Privacy and safety → Personalisation and data แล้วกดปิดการเข้าถึงทั้งหมด หรือเลือกปิดการเข้าถึงเฉพาะข้อมูลบางอย่างก็ได้เช่นกัน
ส่วนโฆษณาที่เห็นบนหน้าไทม์ไลน์ของเรานั้นก็สามารถกดไปที่ Why am I seeing this ad เพื่อดูรายละเอียดการแสดงผลโฆษณานั้น ๆ ได้ หรือหากพบว่าเป็นโฆษณาที่ไม่เหมาะสมก็สามารถกด Report ad เพื่อแจงไปยัง Twitter ได้เลย หรือจะกดที่ I don't like this ad เพื่อให้มีการแสดงผลโฆษณาประเภทดังกล่าวน้อยลงก็ทำได้เช่นกัน
สำหรับการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานบัญชี Twitter ก็สามารถไปที่ Settings and privacy → Account แล้วเลือกปรับเปลี่ยนรหัสผ่านให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หรือไปที่ Security แล้วเปิดการทำงานของ Password Reset Protection เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการรีเซ็ตรหัสผ่านมากขึ้น (ต้องยืนยันอีเมล/เบอร์โทรก่อนจึงจะสามารถตั้งรหัสผ่านใหม่ได้)
และยังสามารถเปิดใช้งาน การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานามากขึ้นได้อีกด้วย
ผู้ใช้สามารถยกเลิกการเข้าถึงข้อมูลของบริการและ แอปพลิเคชัน 3rd Party อื่น ๆ ที่ใช้งานร่วมกับบัญชี Twitter ได้ด้วยการไปที่ Settings and privacy → Account → Your twitter data และดาวน์โหลดข้อมูลการใช้งานและเข้าถึงบริการต่าง ๆ ผ่านบัญชี Twitter ได้ที่ Download Archive โดยจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนเข้าถึงข้อมูล (การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในเมนูนี้ส่วนมากจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนจึงจะสามารถดูรายละเอียดได้)
และผู้ใช้จะสามารถลบการเชื่อมต่อแอปพลิเคชันและบริการต่าง ๆ บน Twitter ได้โดยการไปที่ Settings and privacy → Account → Your twitter data → Connected apps (หรือไปที่ Settings and privacy → Account → Apps and session) จากนัั้นกดที่ Connect apps แล้วเลือกที่บริการ 3rd Party ที่ต้องการลบข้อมูลแล้วกด Revoke Access เพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อ Twitter
ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการเข้าใช้งาน Twitter และออกจากระบบ (Logout) บนอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ที่ Settings and privacy → Account → Your twitter data → Connected apps (หรือไปที่ Settings and privacy → Account → Apps and session) แล้วเลือก Session ก็จะมีข้อมูลการใช้งาน Twitter ของเราปรากฏขึ้นมาทั้งที่กำลังใช้งานอยู่และการเข้าใช้งานบนอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งหากต้องการ Logout ออกจากอุปกรณ์ทั้งหมดก็สามารถกดที่ Log out all other sessions ได้
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |