ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Deep Web กับ Dark Web คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

Deep Web กับ Dark Web คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?
ภาพจาก : https://flic.kr/p/w6TxGp
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,666
เขียนโดย :
0 Deep+Web+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Dark+Web+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Deep Web กับ Dark Web คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

อินเทอร์เน็ตมีหลายสิ่งที่เหมือนกับมหาสมุทรที่มีผิวน้ำ, น้ำตื้น และน้ำลึก ส่วนโลกอินเทอร์เน็ต ก็มี Surface Web, Deep Web และก็ Dark Web เช่นกัน แน่นอนว่าส่วนที่อยู่ลึกที่สุด เป็นส่วนที่ได้รับการสำรวจน้อยที่สุด มีคนเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่มีโอกาสสัมผัสมัน 

แล้ว Deep Web กับ Dark Web คือ อะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? มาทำความรู้จักกับพวกมันกันหน่อยดีกว่า

เนื้อหาภายในบทความ

Surface Web คืออะไร ?

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับ Deep Web และ Dark Web เรามาเริ่มต้นกันที่ Surface Web กันก่อนดีกว่า

คำอธิบาย ของ Surface Web (เว็บพื้นผิว) นั้นค่อนข้างเรียบง่าย อย่างบทความที่คุณกำลังอ่านอยู่ในตอนนี้ก็อยู่บนเว็บไซต์ประเภท Surface Web เช่นกัน กล่าวได้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ที่คุณใช้งานอยู่ หรือในนัยหนึ่ง Surface Web คือ พื้นที่สาธารณะที่ไม่ว่าใครก็ตาม สามารถเข้าถึงได้ขอแค่เพียงมีอินเทอร์เน็ต

ยังมีคำอื่นที่มีความสัมพันธ์กับ Surface Web อีกหลายคำที่คุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง เช่น

  • Visible Web (เว็บที่มองเห็นได้)
  • Indexed Web (เว็บดัชนี)
  • Open Web (เว็บเปิด)

อ่านแบบนี้แล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่า Surface Web มันจะต้องเป็น "พื้นที่ส่วนใหญ่" ของอินเทอร์เน็ตแน่เลย แต่โดยบริบทของความเป็นจริงแล้ว แม้ Surface Web จะมีหน้าเว็บไซต์อยู่ประมาณ 4xxx,xxx,xxx หน้า มันก็ยังเป็นแค่ "พื้นที่เล็ก ๆ" ประมาณ 5-10% ของหน้าเว็บเพจทั้งหมดที่มีอยู่เท่านั้น การจะเข้าถึงหน้าเว็บเพจส่วนที่เหลืออยู่ได้ เราจำเป็นต้องดำดิ่งลงไปในโลกอินเทอร์เน็ตให้ลึกมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินได้ ถือเป็น Surface Web
เว็บไซต์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินได้ ถือเป็น Surface Web

Deep Web คืออะไร ?

หาก Surface Web เปรียบดั่งผิวน้ำ ที่คุณสามารถดำน้ำแบบ "สนอร์เกิลลิ่ง" (Snorkelling) แค่ใส่หน้ากากแล้วป๋อมแป๋ม ก็พร้อมชมปะการัง และปลาที่อาศัยตามผิวน้ำได้ Deep Web ก็เป็นการดำน้ำแบบที่คุณต้องใส่ชุดประดาน้ำแบกถังออกซิเจน

หากว่ามี 10% ของเว็บไซต์ที่มองเห็น และถูกทำดัชนีเอาไว้ (Surface Web) ก็หมายความว่ายังมีเว็บไซต์เหลืออีก 90% - 95% ที่ไม่ได้ถูกจัดทำดัชนีหน้าเว็บไซต์เอาไว้ ซึ่งมันก็คือ Deep Web (เว็บลึก) นั่นเอง Deep Web อาจเรียกว่าเป็น Invisible Web (เว็บล่องหน) ก็ได้ เพราะเว็บเหล่านี้ไม่ปรากฏในเสิร์ชเอนจิน แต่มีอยู่จริง

คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง Deep Web ในบทสนทนามักพาดพิงไปทางด้านมืด และการใช้งานในทางผิดกฏหมาย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป Deep Web ไม่ใช่แหล่งน่าดึงดูดของเหล่าอาชญากร หรือผู้ต้องการกระทำบางสิ่งที่ผิดกฏหมาย

ในความเป็นจริงแล้ว Deep Web ส่วนใหญ่เป็นหน้าเว็บที่ขาวสะอาด และมีประโยชน์หลายอย่าง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนอาจจะใช้งาน Deep Web อยู่เป็นประจำ เพียงแต่อาจจะแค่ไม่รู้ว่าที่ใช้งานอยู่เป็น Deep Web ด้วยซ้ำ ตัวอย่าง Deep Web ที่เรามีโอกาสได้ใช้งานอยู่เป็นประจำ ก็อย่างเช่น หน้ากล่องจดหมายของอีเมล, หน้าธุรกรรมของธนาคารออนไลน์ หรือหน้าเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตามที่ต้องล็อกอินเข้าระบบก่อนถึงสามารถเปิดได้ สามารถกล่าวได้ว่า Deep Web เป็นเว็บไซต์ที่ไม่ใช่แค่ว่ามีอินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าได้ แต่ผู้ใช้ต้องมี "บางสิ่ง" ที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้ต่อหากันได้ด้วย

นอกจากนี้ มันยังนับรวมไปหน้าเว็บเพจที่เราสามารถร่างเนื้อหา (Draft) ก่อนที่จะเผยแพร่ให้เป็น Surface ด้วย รวมไปพวกหน้าเว็บภายในของบริษัทที่อยู่บน Intranets (ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบที่อยู่ภายในองค์กร) หรือพวกหน้าเว็บไซต์ที่ต้องรับรองความถูกต้อง (Authenticated sites) ที่ต้องใช้เวลาชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต (Paywalls) ก็จัดเป็น Deep Web ด้วยเช่นกัน

จุดสังเกตสำคัญของ Deep Web

รายการต่อไปนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน้าเว็บดังกล่าวเป็น Deep Web

  • เป็นหน้าเว็บเพจที่ไม่ถูกเก็บข้อมูลดัชนี้ในเสิร์ชเอนจิน
  • ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ
  • หลายบริษัทใช้ในขั้นตอนการชำระเงิน, ทำธุรกรรม, แสดงหน้าจอยืนยัน ฯลฯ
  • เป็นหน้าเว็บเพจที่คุณจำเป็นต้องรับรองความถูกต้อง เช่น ด้วยการใส่ชื่อบัญชีผู้ใช้ หรือรหัสผ่าน เพื่อที่จะเข้าสู่หน้าเว็บเพจได้

หากคุณลองสังเกตพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของคุณแล้ว ก็น่าจะเห็นได้ว่าคุณมีโอกาสสัมผัสกับ Deep Web อยู่บ่อยครั้งกว่าที่คุณคิด

แต่นอกจาก Deep Web แล้ว โลกอินเทอร์เน็ตยังไม่หมดเท่านี้ มันยังมีส่วนที่เรียกว่า Dark Web อยู่อีก

Dark Web คืออะไร ?

เมื่อคนส่วนใหญ่พูดถึง Deep Web มักจะเข้าใจผิดเอาเรื่องของ Dark Web (เว็บมืด) มาพูดแทนซะอย่างงั้น คำว่า Dark Web ยังมีอีกชื่อเรียกว่า "Darknet" (อินเทอร์เน็ตด้านมิด) ซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับคำว่า "Lightnet" (อินเทอร์เน็ตด้านสว่าง) แล้วก็มีอีกคำหนึ่งที่นิยมใช้งานกัน คือ "Onionland" (อาณาจักรหัวหอม) ซึ่งเป็นคำที่ได้มาจากวิธีการที่คุณต้องใช้ในการเข้าสู่ Dark Web

Dark Web เป็น Invisible Web (เว็บล่องหน), ไม่ถูกทำดัชนี และไม่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดา คุณจำเป็นต้องใช้ เว็บเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมเปิดเว็บ เฉพาะทางเพื่องานนี้ นั่นก็คือ The Onion Router (TOR)

ดาวน์โหลดโปรแกรม The Onion Router หรือ TOR Browser

Deep Web กับ Dark Web คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?
Tor (The Onion Router) ที่ใช้ในการเข้า Dark Web
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Tor_(network)

TOR หรือชื่อเต็มยศว่า The Onion Router เป็น ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด (Open Source Software) ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous communication) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในการสื่อสารผ่าน TOR ข้อมูลจะไม่ถูกส่งไปยังปลายทางของเราโดยตรง แต่ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสแล้วส่งไปยังโหนด (Node) /สถานีรีเลย์ (TOR Relay) ที่มีกระจายอยู่มากกว่า 600,000 จุด บนอินเทอร์เน็ต ก่อนจะถอดรหัสข้อมูลที่ปลายทางเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับที่กำหนด

ด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ TOR สามารถช่วยปกปิดตำแหน่งของผู้ใช้งาน, ยากต่อการค้นหาตำแหน่งของผู้ใช้งาน และปกป้องความเป็นส่วนตัวจากการถูกสอดแนม แต่ก็ด้วยความสามารถในการปกปิดตันของผู้ใช้นี่แหละ ที่ทำให้มันได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการทำอะไรที่ละเมิดข้อกฏหมาย

ในปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ได้มีการสำรวจ โดยใช้บอทในการตรวจสอบหน้าเว็บเพจจำนวน 5,205 แห่ง มี 2,723 แห่งที่มีเนื้อหาบนเว็บไซต์ ส่วนที่มีข้อความต่ำกว่า 50 คำ และไม่มีข้อมูลอื่นจะถูกคัดทิ้งออกไป พบว่ามีหน้าเว็บเพจจำนวนสูงถึง 57% ที่เสนอบริการผิดกฏหมาย เช่น

  • ค้าขายยาเสพติด
  • อาวุธสงคราม
  • หนังผู้ใหญ่ที่ใช้นักแสดงเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ข้อมูลบัตรเครดิต
  • หนังสือเดินทางปลอม
  • ข้อมูลที่แฮกมาจากบริษัทใหญ่ ๆ
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

คาดการณ์ว่ายังมีเว็บไซต์อีกประมาณ 35,000 แห่ง ที่ซ่อนตัวอยู่ และยังไม่ได้รับการสำรวจ แต่จากจำนวนที่ได้รับการสำรวจแล้วก็น่าจะเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าเว็บมืด นั้นดำมืดขนาดไหน

หมายเหตุ : ไม่ใช่ Dark Web จะมีแต่สิ่งผิดกฏหมายนะ จริง ๆ แล้ว เนื้อหาธรรมดาที่เป็นประโยชน์ก็มี แม้แต่เว็บไซต์ชื่อดังของโลกเอง ก็ยังมี Dark Web ด้วยเช่นกัน สามารถใช้ เว็บเบราว์เซอร์ TOR เข้าได้ที่ Onion Address 


ก็อย่างที่เราได้กล่าวไปในตอนแรกว่าอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับมหาสมุทร  มันกว้างใหญ่ และคนทั่วไปก็อยู่แค่ระดับผิวน้ำ มีไม่กี่คนที่มีโอกาสดำลงไปยังส่วนลึก มีหลายคนที่ใช้ Deek Web โดยที่ไม่รู้ตัว ส่วน Dark Web ที่อยู่ลึกสุด ก็เหมือนดินแดนไร้กฏหมาย ที่เต็มไปด้วยเว็บไซต์อันตราย นอกจากจะมีสิ่งผิดกฏหมายแล้ว ยังมีสิ่งที่สามารถบั่นทอนจิตใจให้หดหู่อยู่ในนั้นอีกด้วย 


ที่มา : www.maketecheasier.com , en.wikipedia.org , www.extremetech.com

0 Deep+Web+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Dark+Web+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น