ปัญหา Kernel-Power Event ID 41 เป็นหนึ่งในปัญหาที่ค่อนข้างน่ารำคาญใน ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ ถ้าเจอปัญหานี้เมื่อไหร่ คงยากที่จะหลีกเลี่ยงความเซ็ง เพราะปัญหานี้จะทำให้คอมพิวเตอร์ปิดเครื่องไปแบบไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่ก็ค้างทุกครั้งที่พยายามเปิดเครื่องใช้งานในขณะที่มันอยู่ในโหมดนอนหลับ (Sleep Mode)
โดยเราสามารถกล่าวได้ว่าปัญหา Kernel-Power Event ID 41 เป็นปัญหาที่ค่อนข้างมีความรุนแรงพอสมควรนะ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหา Kernel-Power Event ID 41 ให้นำไปใช้กัน
ปัญหา Kernel-Power Event ID 41 เป็นข้อผิดพลาดร้ายแรงในระบบ มันสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณล่มได้อย่างง่าย ๆ ข้อผิดพลาดนี้เกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขของสถานการณ์หลายอย่าง แต่ทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านพลังงานทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่า Kernel-Power Event ID 41 จะมีสาเหตุมาจากตัวฮาร์ดแวร์อย่าง Power Supply มีปัญหาเสมอไปนะ แต่มันมีโอกาสที่จะเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ของเรานี่แหละที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
โดยข้อผิดพลาดด้านพลังงาน Kernel-Power จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ Even ID 41 จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ Even ID 41 และมีคีย์เวิร์ด "(70368744177664),(2)" หากพบข้อความแจ้งเตือนรหัสแบบนี้ล่ะก็
ภาพจาก https://www.makeuseof.com/tag/fix-windows-10-kernel-power-error/
สาเหตุก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
เรามาเริ่มที่วิธีการที่ง่ายที่สุดกันก่อน นั่นก็คือการอัปเดต โดยปกติแล้ว ทาง Microsoft จะปล่อยอัปเดตให้กับระบบปฏิบัติการ Windows 10 ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการอัปเดตนี้ไม่ได้เป็นแค่การเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ เข้ามาเท่านั้น แต่ยังมีการปรับปรุงแก้ไขช่องโหว่ และข้อผิดพลาดต่าง ๆ ด้วย ซึ่งปัญหาข้อผิดพลาดด้าน Kernel-Power ที่คุณมีอยู่ อาจจะเป็นข้อผิดพลาดที่ได้รับการแก้ไขแล้วในแพทช์อัปเดตที่ถูกปล่อยออกมา
คุณสมบัติ Fast startup ในระบบปฏิบัติการ Windows มีความสามารถที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณบูตเครื่องได้เร็วขึ้น (แต่ก็อาจทำให้บูตช้าลงได้เช่นกัน) โดยปกติแล้วคุณสมบัตินี้จะถูกกำหนดค่าให้เปิดใช้งานเอาไว้เป็นค่าเริ่มต้น
เวลาที่เราเปิดใช้งานคุณสมบัติ Fast startup เอาไว้ เมื่อเราสั่ง Shut down ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่ปิดตัวลงแบบสมบูรณ์ แต่มันจะเป็นสภาพผสมระหว่างการปิดแบบสมบูรณ์ กับโหมด Hibernation เพื่อบันทึกข้อมูลสถานะเครื่องในสภาพล่าสุดเอาไว้ เพื่อให้เมื่อเปิดเครื่องเพื่อใช้งานอีกครั้ง สามารถเริ่มงานได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การทำงานของ Fast Startup จะไม่เหมือนกับโหมด Hibernation สักทีเดียว เพราะมันจะเริ่มเปิดเครื่องใหม่ตั้งแต่ต้น หน้าต่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่เราเปิดทิ้งไว้ก่อนปิดเครื่องจะไม่เปิดขึ้นมาใหม่ให้เราอัตโนมัตินะ
ซึ่งการทำงานของคุณสมบัติ Fast startup ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้พบปัญหา Kernel-Power Event ID 41 ได้เช่นกัน
Fast Startup จะมีต่อเมื่อเราเปิดใช้งานโหมด Hibernation เอาไว้ ในการเปิดโหมด Hibernation ให้เราคลิกขวาที่ "ปุ่ม Start" แล้วเลือก "Windows PowerShell (Admin)" พิมพ์คำสั่งด้านล่างนี้ลงไป แล้วเคาะ "ปุ่ม Enter" ครับ
powercfg /hibernate on |
มีรายงานจากผู้ใช้หลายคนระบุว่า ปัญหา Kernel-Power Event ID 41 ของพวกเขาหายไป หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งแรม และการ์ดจอใหม่อีกครั้ง อันนี้ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ หรือลงไดร์เวอร์ใหม่นะครับ แค่เป็นการถอดออกมา ทำความสะอาด และใส่มันกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งเฉย ๆ
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเริ่มทำ หากคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นแบบประกอบสำเร็จรูปมา ต้องระวังเรื่องการรับประกันด้วยนะครับ หากประกันยังเหลืออยู่ ควรเช็คเงื่อนไขการรับประกันให้ดีก่อนล่ะ ส่วนใหญ่ชอบมีสติกเกอร์รับประกันแปะเอาไว้ เพื่อป้องกันการแกะ
ใครที่ไม่เคยถอดแรม หรือการ์ดจอมาก่อน ไม่ต้องวิตกกังวลนะครับ มันเป็นอะไรที่ง่าย ไม่ต่างจากการถอด SD Card ออกจากกล้องเลย แค่เราต้องเปิดเคสคอมพิวเตอร์ออกมาเฉย ๆ กับขันสกรูที่ล็อกการ์ดจออยู่นิดหน่อย เท่านั้นเอง
ภาพจาก https://www.digitaltrends.com/computing/how-to-install-a-graphics-card/
คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นเครื่องมือช่วยเหลือลำดับต้น ๆ ที่เราควรลองใช้งานก่อนเมื่อคอมพิวเตอร์ของเรามีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไรก็ตาม
โดยคำสั่ง CHKDSK จะสแกนข้อมูลทั้งหมดภายในหน่วยความจำเพื่อค้นหา และซ่อมแซมไฟล์ที่มีความเสียหาย ซึ่งจะรวมไปถึงไฟล์ระบบด้วย นอกจากนี้ มันยังตรวจหา ส่วนที่เสีย (Bad Sector(s)) ให้เรา โดยเมื่อพบก็จะพยายามแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้ปกติ หรือหากแก้ไม่ได้ มันก็จะบอกให้ระบบไม่ใช้ Clusters ดังกล่าวในการเก็บข้อมูลอีกต่อไป เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเดิมซ้ำอีกครั้งในอนาคต
ส่วนคำสั่ง SFC (System File Checker) ออกแบบมาเจาะจงสำหรับสแกน และซ่อมแซมไฟล์ระบบของ Windows โดยเฉพาะ หากมันเจอว่าไฟล์เสียหาย หรือถูกแก้ไข SFC จะทำการแทนที่ไฟล์ดังกล่าวด้วยไฟล์ใหม่ที่ถูกต้องให้อัตโนมัติ
สรุปง่าย ๆ CHKDSK และ SFC เป็นการสแกนเหมือนกันนั่นแหละ โดย CHKDSK จะสแกนทั้งไดร์ฟ ในขณะที่ SFC จะสแกนเจาะจงไปที่ไฟล์ Windows system
เราแนะนำว่าก่อนที่จะใช้คำสั่ง SFC ควรใช้คำสั่ง DISM (Deployment Image Servicing and Management) เพื่อตรวจสอบว่าระบบมีสภาพที่สมบูรณ์อยู่หรือเปล่าก่อน ด้วยวิธีการดังนี้
การตรวจสอบข้อผิดพลาดของอุปกรณ์จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในคำว่า พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply Unit - PSU) ด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ นอกเสียจากว่าคุณจะมีอุปกรณ์ตรวจสอบอยู่ในมือ และความรู้เฉพาะด้าน อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์ช่วยตรวจสอบเบื้องต้นได้
ซึ่งเราแนะนำเป็นโปรแกรม OCCT นะ สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มันเป็นโปรแกรมทดสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ได้หลายส่วน ทั้ง CPU, GPU ฯลฯ แน่นอนว่า PSU ด้วย
ดาวน์โหลดโปรแกรม OCCT
วิธีใช้โปรแกรม OCCT ตรวจสอบ PSU
ทางผู้พัฒนาโปรแกรม OCCT กล่าวว่า ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ จะสามารถตรวจเจอได้ภายใน 5 นาทีแรก อย่างไรก็ตาม เขาก็แนะนำว่าควรทดสอบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อความแน่นอน
เมื่อทดสอบเสร็จสิ้น โปรแกรม OCCT จะรายงานข้อมูล Log โดยมีไฮไลต์ว่ามีข้อผิดพลาดอะไรที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับ PSU บ้างให้เราทราบ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
13 พฤศจิกายน 2565 08:13:12
|
||
จะดู Log ยังไงครับเมื่อเทสไปสักพักแล้วมันดับ
|
||