ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Microsoft Cloud Solution Provider (CSP) และ Microsoft Open License (OLP) คืออะไร ? และต่างกันอย่างไร ?

Microsoft Cloud Solution Provider (CSP) และ Microsoft Open License (OLP) คืออะไร ? และต่างกันอย่างไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 14,742
เขียนโดย :
0 Microsoft+Cloud+Solution+Provider+%28CSP%29+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Microsoft+Open+License+%28OLP%29+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Microsoft Cloud Solution Provider (CSP) และ Microsoft Open License  (OLP) คืออะไร ? และต่างกันอย่างไร ?

การได้มาซึ่ง สิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ (Software License) และ บริการของ Microsoft นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ

บทความเกี่ยวกับ Cloud Computing อื่นๆ
  • OEM (ติดตั้งมากับคอมพิวเตอร์)
  • Full Package (เป็นกล่องขายปลีก)
  • SPLA (เช่าใช้รายเดือนผ่านออนไลน์)
  • Volume (ซื้อใช้ตามประเภทขององค์กร)

ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวว่า Microsoft Open License Program (OLP) บริการขายซอฟต์แวร์ของ Microsoft รูปแบบหนึ่ง ที่กำลังจะปิดตัวในไม่ช้าหรือในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) พร้อมกับการที่ Microsoft ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบริการขายซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากกว่าเดิมอย่าง Microsoft Cloud Solution Provider (CSP) บริการ 2 ชนิดนี้คืออะไร และ มันแตกต่างกันอย่างไร ? ลองหาคำตอบกัน

เนื้อหาภายในบทความ

Microsoft Cloud Solution Provider (CSP) คืออะไร ?

Microsoft CSP คืออะไร ?

Microsoft Cloud Solution Provider หรือ Microsoft CSP เป็นโปรแกรมรูปแบบการขายบริการบนคลาวด์ (Cloud Service) ของ Microsoft ที่มอบกรรมสิทธิ์ให้พาร์ทเนอร์ตัวแทน Microsoft CSP สามารถบริหารผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ตั้งแต่การซื้อ Licenes (จาก Microsoft) นำมาจัดแพ็กเกจ และ ตั้งราคาเพื่อนำเสนอลูกค้าองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคนิคกับลูกค้าได้โดยตรง ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริหารจัดการผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และช่วยให้พาร์ทเนอร์ใน Microsoft CSP สามารถรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยไม่ต้องผ่าน Microsoft

Microsoft CSP คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.qbsgroup.com/news/what-is-the-microsoft-cloud-solution-provider-program/

บริการที่ครอบคลุมอยู่ใน Microsoft CSP ประกอบไปด้วย

  • Microsoft Dynamics 365 (แอปพลิเคชันรวมระบบ CRM)
  • Microsoft Azure (บริการ Cloud Computing)
  • Microsoft 365
  • Enterprise Mobility and Security (แพลตฟอร์มความปลอดภัย)
  • Windows 10 Enterprise 
  • และ ซอฟต์แวร์ประเภทซื้อขาด (Perpetual License) ก็มีจำหน่ายผ่าน Microsoft CSP เช่นกัน

สมมติถ้าคุณเป็นผู้ขายคุณสามารถที่จะซื้อลิขสิทธิ์ของบริการเหล่านี้จาก Microsoft และนำมันมาผสมเพื่อจัดแพ็กเกจขายให้ลูกค้า สร้างโอกาสการให้บริการที่แตกต่างจากคู่แข่งได้เลย และอาจช่วยให้ขายสินค้าได้ง่ายมากขึ้นด้วย

ส่วนผู้ซื้อ ก็สามารถควบคุมต้นทุนด้านนี้ได้ดียิ่งขึ้นเพราะความยืดหยุ่นที่ผู้ขายมอบให้ได้มากกว่า Microsoft เช่นการตกลงเรื่องบิลชำระสินค้า และ ปรับเปลี่ยนแผนบริการ ผู้ซื้อเลือกที่จะต่ออายุ หรือ เลิกใช้ได้ง่ายกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาการขยายหรือลดขนาดขององค์กร แถมยังได้ราคาที่คุ้มกว่าการซื้อกับ Microsoft โดยตรง

รูปแบบของการเข้าร่วมโมเดล Microsoft CSP 

สำหรับการเป็น Microsoft CSP สามารถเข้าร่วมได้กับ Microsoft โดยตรง หรือ เข้าร่วมกับบุคคลที่ 3 โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

รูปแบบของการเข้าร่วมโมเดล Microsoft CSP 
ภาพจาก : https://www.qbsgroup.com/news/what-is-the-microsoft-cloud-solution-provider-program/

  • Tier 1 : เป็นตัวแทน CSP ทางตรง (Direct Channel) ทำงานร่วมกับ Microsoft ได้รับความไว้วางใจ และ ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวดของ Microsoft ได้ สามารถซื้อ Lisense จาก Microsoft จัดแผนบริการ นำเสนอขายเปิดบิลกับลูกค้าด้วยตัวเอง 
  • Tier 2 : เป็นตัวแทน CSP ทางอ้อม (Indirect Channel) คุณทำงานร่วมกับองค์กรที่เป็น Member CSP อยู่แล้ว และขอการสนับสนุนแผนบริการของลูกค้าผ่านองค์กรเหล่านั้น

การอยู่ใน Model ของ Tier 2 เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเพราะไม่ต้องติดต่อกับ Microsoft โดยตรง เรียกง่าย ๆ ว่าไม่ต้องไปสอบเทียบกับ Microsoft เอง ก็สามารถเข้าร่วมเป็น CSP ผ่านบุคคลที่ 3 

Microsoft Open License Program (OLP) คืออะไร ?

Microsoft Open License Program หรือ Microsoft OLP นั้นเป็นรูปแบบการขายซอฟต์แวร์ของ Microsoft รูปแบบหนึ่งที่อยู่ในประเภทของ Volume License (ซื้อใช้งานตามประเภทขององค์กร) โดยสามารถติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย หรือ Microsoft โดยตรงเพื่อขอใบเสนอราคา และ นำ Key ไปเปิดใช้หรือดาวน์โหลด ผ่านโปรแกรม Microsoft Volume Licensing Service Center เหมาะกับการซื้อครั้งละมาก ๆ สำหรับองค์กรขนาดเล็ก - กลาง ที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 2 - 250 เครื่อง และรองรับได้ถึง 750 เครื่อง กันเลยทีเดียว

Microsoft Open License คืออะไร ?
ภาพตัวอย่างโปรแกรม Microsoft Volume Licensing Service Center

ข้อดีของ Open License คือสามารถซื้อโปรแกรมรุ่นที่ต่ำและถูกกว่ามาใช้งานได้ เช่น Microsoft Office 2016 เป็น 2013 เป็นต้น รวมถึงได้รับส่วนลดตามประเภทขององค์กร เช่น 

  • Open License for Business (สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก - กลาง)
  • Open License for Charity / Non-Profit (สำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร)
  • Open License for Education (สำหรับสถาบันการศึกษา)
  • Open License for Government (สำหรับหน่วยงานราชการ)
  • Health Organization (สำหรับหน่วยงานทางการแพทย์)

นอกจากนี้สิทธิ์ในการใช้งานก็ยังสามารถโยกย้ายไปตามเครื่องอื่น ๆ ได้ตราบใดที่ยังอยู่ในจำนวน License ที่ได้รับ โดยการซื้อขั้นต่ำอยู่ที่ 5 Licenses เมื่อซื้อครั้งแรก

ข้อเสียของ Open License คือ จะไม่สามารถอัปเกรดเวอร์ชันของผลิตภัณฑ์ และเปลี่ยนแผนบริการได้ระหว่างทาง เว้นแต่จะซื้อ License ใหม่เพิ่ม เพราะเป็นสัญญาสิทธิ์แบบซื้อขาด นอกจากนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมบริการ Cloud Service ทั้งหมด

นอกจากนี้แล้ว ซอฟต์แวร์ Cloud Service ก็ไม่สามารถอัปเกรดเวอร์ชันได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง Microsoft 365 เป็นต้น แต่ถ้าอยากได้การอัปเกรดต้องซื้อ Add-on เสริมเป็น Software Assurance เข้าไป คล้ายกับการซื้อประกันรายปีเพื่อขออัปเกรดซอฟต์แวร์และขอรับการสนับสนุนต่าง ๆ จาก Microsoft โดยประกันก็จะมีอายุ 2 ปี สามารถต่ออายุได้ภายหลัง

Microsoft Open License คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.mychoicesoftware.com/blogs/news/what-is-open-licensing-understanding-microsoft-volume-purchases

อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์รูปแบบ Microsoft OLP ก็ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นเหมือนกันเพราะสามารถซื้อสิทธิ์การใช้งานแบบผสมโปรแกรมต่าง ๆ ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมชนิดเดียวกัน แต่ความยืดหยุ่นก็ไม่ได้เทียบเท่า Microsoft CSP 

สรุปข้อแตกต่าง ระหว่างรูปแบบการขาย Microsoft CSP และ Microsoft OLP

 Microsoft CSP
  • รวมสินค้าในกลุ่มบริการบนคลาวด์ (Cloud Service) ทั้งหมด
  • ชำระรายเดือน-ปี
  • มีความยืดหยุ่นในการจัดแพ็กเกจ และ บริการมากกว่า
  • ยกเลิกหรือเปลี่ยนแผนบริการได้ตลอด
  • สามารถใช้งานได้เลยทันทีไม่ต้องรอการจัดส่ง
  • ติดต่อขอการช่วยเหลือปัญหาด้านเทคนิคกับผู้ขายได้เลย ไม่ต้องรอไปถึง Microsoft
Microsoft Open License 
  • มีสินค้าในกลุ่ม Software Product Key และบริการบนคลาวด์ (Cloud Service) บางส่วน
  • ชำระครั้งเดียวจบ
  • มีความยืดหยุ่นในการจัดแพ็กเกจ และ บริการน้อยกว่า
  • ไม่สามารถเปลี่ยนแผนหรือลดจำนวนได้ ยกเว้นซื้อเพิ่ม
  • ต้องรอการจัดส่ง Key จากผู้ขาย
  • ติดต่อขอการช่วยเหลือปัญหาด้านเทคนิคกับ Microsoft

ทั้งนี้เนื่องจาก Microsoft OLP กำลังจะปิดตัวในอีกไม่ช้า ทาง Microsoft จึงได้โยกย้ายบริการที่ขายอยู่ใน Open License ทั้งหมดไปยัง Microsoft CSP ซึ่งก็หมายความว่าพวก ซอฟต์แวร์แบบซื้อขาดต่าง ๆ ก็จะถูกย้ายไปยัง Microsoft CSP เช่นกัน


ที่มา : www.mychoicesoftware.com , netway.co.th , www.qbsgroup.com , royaldiscount.com , www.microsoft.com , www.xperience-group.com

0 Microsoft+Cloud+Solution+Provider+%28CSP%29+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Microsoft+Open+License+%28OLP%29+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น