ในช่วงที่ตลาด Crypto และวงการ Blockchain นั้นเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งนั้นก็ทำให้มันเป็นตลาดอีกแห่งที่ดึงความสนใจจากนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาในวงการและพากันทุ่มเงินลงไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมีเงินจำนวนมากไหลเวียนอยู่ในระบบแล้วมันก็ย่อมจะดึงดูด “ผู้ไม่หวังดี” ที่จะมาหลอกเอาเงินไปด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะในหมู่ผู้ลงทุนมือใหม่ ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาพูดถึง Crypto Scam หรืออาชญากรรมในวงการคริปโตกัน
ภาพจาก : https://vpnoverview.com/privacy/finance/bitcoin-and-cryptocurrency-Scam/
Crypto Scam หรือ Cryptocurrency Scam หมายถึงการก่ออาชญากรรมในวงการคริปโต เป็นการ ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) รูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ก็มีวิธีการมากมายที่จะหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงิน หรือ เงินที่เป็นสกุลเงินคริปโต (Cryptocurrency) ที่ถืออยู่มาเข้ากระเป๋าตัวเองได้เป็นจำนวนมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีป้องกันตนเอง จากภัยคุกคามทางออนไลน์ และอาชญากรรมทางไซเบอร์
สำหรับประเภทของ Crypto Scam นั้นก็มีด้วยกันหลายประเภท ทั้งที่หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีและการหลอกลวงในรูปแบบใหม่ ๆ โดยคร่าว ๆ แล้วสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ราว ประเภท ดังนี้
การหลอกลวงรูปแบบคลาสสิกอย่าง ฟิชชิง (Phishing) นั้นก็ลามมาถึงตลาด Crypto แล้วด้วยเช่นกัน ซึ่งมันอาจมาในรูปแบบของการยิงลิงก์เว็บไซต์หรือลิงก์การดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมผ่านอีเมล โดยแอบอ้างเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือและสร้างหน้าตาเว็บไซต์และรูปแบบอีเมลให้เหมือนกับของบริการ Crypto นั้น ๆ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ทำการล็อกอินเข้าใช้งานด้วยความเคยชิน หรืออาจมาในรูปแบบของการ “บริการช่วยเหลือ (Technical Support)” ที่หลอกให้ผู้ใช้ทำการกรอกรหัสผ่านลงในเว็บไซต์ปลอมของตนเองและขโมยแอคเคาท์ไปใช้งาน หรือขโมย Crypto ไปจนหมดได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Phishing คืออะไร ? พบกับการหลอกลวงแบบฟิชชิง 8 รูปแบบ ที่เราควรรู้จักเอาไว้
ภาพจาก : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/trust-wallet-metamask-crypto-wallets-targeted-by-new-support-scam/
การหลอกให้ลงทุนอาจมาในรูปแบบของ “เหรียญ (Coin) หรือโทเคน (Token) Cryptocurrency” ที่กำลังจะเปิดตัวใหม่ และมีคำชักชวนให้ลงทุนที่น่าสนใจอย่าง “โอกาสการเป็นเศรษฐีมาถึงแล้ว” หรือ “เปิดขายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น !”
ข้อมูลเพิ่มเติม : Crypto Coin กับ Crypto Token คืออะไร ? เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร ?
ซึ่งการหลอกลวงในรูปแบบนี้อาจอ้างตัวเป็นบริษัท Startup หน้าใหม่ หรืออาจแอบอ้างชื่อของบริษัทดังเข้ามาเพื่อดึงความสนใจหรือเพิ่มความน่าเชื่อถือของตนเอง เช่น การแอบอ้างว่าเป็น Crypto Coin ของ “Squid Game” ซีรีส์ชื่อดังจากค่าย Netflix ที่เป็นบริการที่ไม่มีอยู่จริง และได้เชิดเงินหนีไปกว่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือกว่า 111 ล้านบาท)
ภาพจาก : https://feedzai.com/blog/what-can-banks-learn-from-the-squid-game-crypto-scam/
และบางครั้งอาจพบการหลอกลวงแบบ “ดาวน์ไลน์” ที่หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและร่วมลงทุนด้วย จากนั้นให้เหยื่อทำการชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเพื่อรับผลตอบเทนนั้น ๆ เพื่อรับผลประโยชน์จากการลงทุน หรือเป็นการหลอกล่อว่าเป็นบริการที่ให้ผลตอบแทนสูงจนเหลือเชื่อ และอาจมีหน้าเว็บไซต์หลอกลวงว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นได้ผลตอบแทนที่ดีจริงและทำให้เหยื่อหลงเชื่อและไปชักชวนเพื่อนมาร่วมลงทุนด้วย แต่เมื่อจะถอนเงินออกกลับพบว่าไม่สามารถถอนออกมาได้จริง
อีกหนึ่งประเภทของ Crypto Scam ที่พบได้บ่อย ซึ่งส่วนมากแล้วเหยื่อของผู้ที่ถูกหลอกลวงในประเภทนี้มักเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังไม่มีความเข้าใจในตลาด Crypto มากพอ เพราะมันอาจมาในรูปแบบของ “ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Consultant)” ที่กล่าวอ้างว่าจะช่วยตรวจเช็คผลการลงทุนและช่วยดูแลการเทรด Crypto โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนเป็นหลักและหลอกให้ทำการ “สมัครบริการ” นี้
และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อและอนุญาตให้เข้าถึงพอร์ตได้แล้วก็จะทำการขโมยแอคเคาท์พร้อมเงินทั้งหมดหนีไป หรือบังคับให้จ่าย “ค่าปรับ” เพื่อคืนแอคเคาท์ให้ (ส่วนมากมักหลอกให้จ่ายเงินโดยไม่คืนแอคเคาท์ให้ด้วย)
ภาพจาก : https://mashable.com/article/cryptocurrency-crime-ponzi-schemes-2019-report
หรืออาจมาในรูปแบบของคอร์สเรียนเกี่ยวกับการลงทุนในตลาด Crypto ให้ได้ผลงอกเงย โดยหลอกให้สมัครลงคอร์สเรียนหรือหลอกว่าจะส่ง “ทริคการเล่นให้ได้กำไร” ให้กับเหยื่อหากโอนเงินหรือ Crypto ให้กับตนเอง
Crypto Scam ในประเภทนี้มักแอบอ้างชื่อของคนดังหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงโดยการสร้างแอคเคาท์โซเชียลมีเดียปลอม ๆ ขึ้นมาและทำการโพสต์หรือส่งข้อความ Direct Message ไปหาเหยื่อว่าจะทำการ “แจกเงินหรือโทเคนของ Crypto ให้แบบฟรี ๆ” โดยให้ผู้ที่สนใจรับสิทธิทำการยืนยันตัวตนโดยการจ่าย “ค่าธรรมเนียม” ผ่าน Crypto wallet ก่อนจึงจะโอนเงินหรือโทเคนเข้าไปใน Wallet ของเหยื่อ ซึ่งเมื่อเหยื่อทำการโอนเงินค่าธรรมเนียมให้แล้วก็จะเงียบหายไป
ภาพจาก : https://sea.pcmag.com/security/47302/how-to-avoid-cryptocurrency-Scam
โดยจากการรายงานพบว่ามีการหลอกลวงในรูปแบบนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วงปีที่ผ่านมานี้ และในช่วงเดือนมีนาคมของปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) นั้นได้มี Cryptocurrency ถูกโอนเข้าไปในบัญชีปลอมที่แอบอ้างว่าตนเองเป็น Elon Musk ถึง 20 ล้านดอลลาร์ (หรือกว่า 677 ล้านบาท) เลยทีเดียว
Crypto Scam ที่ใช้การข่มขู่เหยื่อนั้นส่วนมากจะทำการส่งข้อความหรืออีเมลมาก่อกวนและบอกว่าจะทำการขายข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่านหรือข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ผิดกฎหมายของเหยื่อ โดยอาจแสดงให้เห็นถึงรหัสผ่านหรือประวัติการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของเราที่เจาะระบบเข้าไปได้และระบุว่ามีข้อมูลมากกว่าที่แสดงให้เห็น ทำให้เหยื่อที่ไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลจำต้องโอน Crypto ไปให้เพื่อแลกกับการปกปิดข้อมูล
ภาพจาก : ภาพจาก : https://www.maplerun.org/o/ecp/article/238252
DeFi Scam หรือที่ย่อมาจากคำว่า Decentralized Finance Scam นั้นเป็นการจารกรรมทางการเงินที่ผู้ไม่หวังดีทำการแอบอ้างว่าตนเองเป็น “เว็บไซต์ตัวกลาง” ที่ให้ความช่วยเหลือในการทำธุรกรรมทางการเงินโดยเสนอทางเลือกในการชำระเงินให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนแต่ไม่มีบัญชีของบริการที่รองรับการสมัครบริการต่าง ๆ โดยส่วนมากแล้ว DeFi Scam มักรองรับวิธีการชำระเงินหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหยื่อสนใจและเลือกลงทุนหรือใช้บริการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ผ่านผู้ให้บริการนี้ จากนั้นก็ม้วนเสื่อหอบเงินหนีไปโดยที่ไม่ได้นำเอาเงินไปแลกเปลี่ยนตามที่กล่าวอ้างไว้แต่อย่างใด
See this picture? If you see it you are on a a #scam site. If you use it you will reach a part where they ask you to send some crypto to certain address. Anything you send there will be lost. pic.twitter.com/a14lFPoxeR
— SHIB INFORMER (@ShibInformer) May 21, 2021
หลังจากที่บริการ Dating Service จำพวก Dating App และเว็บไซต์หาคู่ต่าง ๆ นั้นกลายมาเป็นอีกแพลทฟอร์มที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้มีผู้ไม่หวังดีแฝงตัวเข้ามาในวงการนี้และหลอกให้เหยื่อทำการลงทุนใน Cryptocurrency ที่ไม่มีอยู่จริง (Investment Scam) หรือการแอบอ้างว่าจะช่วยเป็นตัวกลางในการลงทุน Crypto รวมไปถึงการหลอก “ยืม” เงินหรือ Crypto ต่าง ๆ โดยสัญญาว่าจะคืนภายหลัง และหลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ซึ่งจากรายงานของหน่วยงานดูแลกำกับการค้าของสหรัฐอเมริกา FTC (Federal Trade Commission) ได้ระบุว่าพบ Romance Scam ถึง 20% ของ Crypto Scam ทั้งหมด
ภาพจาก : https://atamerlawfirm.com/international-romance-scam/
นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันแต่เป็นการแอบอ้างเป็นบุคคลที่เหยื่อรู้จักโดยบอกว่าลืมรหัสเดิมของโซเชียลมีเดียนั้น ๆ หรือใช้ชื่อของคนที่เหยื่อรู้จักมาสวมรอยเป็นบุคคลนั้นและหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อจนเสียเงินหรือ Crypto ไปเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
และไม่ควรคลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมล เพราะอาจเป็นอีเมลที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน Phishing ได้ ทางที่ดีควรตรวจสอบการสะกดของ URL ให้ดีก่อนลงชื่อเข้าใช้งาน เพราะอาจมีการสะกดผิด เช่น บางเว็บไซต์ก็อาจใช้ตัว “o (โอ)” แทนเลข “0 (ศูนย์)” หรือใช้เลข “1” (หนึ่ง) / “l (L พิมพ์เล็ก)” แทน i (ไอ) ได้ หรือบางเว็บไซต์ก็อาจใช้งาน “http” ที่มีความปลอดภัยต่ำกว่า “https” ได้อีกด้วย
ภาพจาก : https://cryptotips.eu/en/blog/top-6-cryptocurrency-scam-methods/
และไม่ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านลิงก์ที่แนบมาในอีเมล แต่ให้ใช้วิธีการ “ค้นหาผ่าน App Store หรือ Google Play Store” แทน เพื่อที่จะได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแอปพลิเคชันนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจดาวน์โหลด โดยอาจดูจากชื่อบริษัทผู้พัฒนาที่ทำการลงแอปพลิเคชันว่าเป็นบริษัทของบริการนั้น ๆ โดยตรง หรือดูจาก “ยอดการดาวน์โหลดและรีวิวการใช้งาน” เพราะหากเป็นแอปพลิเคชันปลอมก็จะสังเกตได้ว่ามียอดการดาวน์โหลดและการรีวิวที่แย่กว่าอย่างเห็นได้ชัด หรือถ้าเป็นแอปพลิเคชันติดตามข่าวสารเกี่ยวกับตลาด Crypto ก็ควรหาข้อมูลความน่าเชื่อถือของแอปพลิเคชันก่อนกดติดตั้งใช้งาน
ภาพจาก : https://news.bitcoin.com/10000-people-downloaded-fake-cryptocurrency-apps/
เพื่อแก้ไขปัญหาเทคนิคต่าง ๆ เพราะอาจทำให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องของเราทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่เป็นความลับอื่น ๆ ได้ อีกทั้งบริการ สนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ส่วนมากก็มักไม่มีการ Remote มาแก้ไขอาการผิดปกติภายในเครื่องของลูกค้าอีกด้วย
สำหรับการหลีกเลี่ยง Investment Scam, Service Scam และ Romance Scam นั้นก็ให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ที่ชักชวนให้ลงทุนในบริการใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นหู โดยอาจนำเอาชื่อ Crypto หรือบริการที่ถูกชักชวนให้ลงทุนหรือสมัครใช้งานไปค้นหาใน Google เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ และไม่ควรไว้ใจให้บุคคลที่เพิ่งรู้จักกันไม่นานยืมเงิน / Token หรือหากแอบอ้างเป็นคนรู้จักก็ควรลองสอบถามเพิ่มเติมว่าใช่บุคคลนั้นจริงหรือไม่ เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพที่สวมรอยเป็นคนรู้จักมาพูดคุยได้นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.snbonline.com/about/news/how-to-detect-an-online-romance-scam
เพราะอะไรที่ดูดีจน “เกินจริง” ก็มีความเป็นไปได้ว่ามันจะ “ไม่ใช่เรื่องจริง” ดังนั้นหากเห็นข้อความการแจก Token หรือ Coin ต่าง ๆ ก็ให้สงสัยว่าน่าจะเป็น Giveaway Scam อย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับแอคเคาท์ที่ใช้ชื่อเหมือนหรือคล้ายคลึงกับคนดังต่าง ๆ ที่ออกมาโพสต์ข้อความเหล่านี้ เพราะส่วนมากแล้วมักจะหลอกให้โอนเงินจำนวนหนึ่งเข้าบัญชีเพื่อเป็นการรับสิทธิ หรืออาจเป็นการแจกโค้ดแลก Token คืนโดยอ้างว่าจะได้ Token คืนเป็น 2 เท่าจาก Token ที่จ่ายไป
ภาพจาก : https://sea.pcmag.com/security/47302/how-to-avoid-cryptocurrency-Scam
หากยังใช้งานรหัสเดิม หรือถ้าเป็นรหัสผ่านเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกังวลมากนัก เพราะส่วนมากแล้วมักจะมีข้อมูลตามที่ส่งมาข่มขู่ ไม่ได้มีข้อมูลเชิงลึกหรือรหัสผ่านใหม่ และแจ้งว่าเป็นอีเมล Spam รวมทั้งสามารถแจ้งความเอาผิดเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้
ภาพจาก : https://register.dsi.go.th/
โดยอาจค้นหาผ่าน Google หรือเครื่องมือค้นหา (Search Engine) ตัวอื่น ๆ เพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการ DeFi และทางที่ดีควรสมัคร Crypto ต่าง ๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ผ่านตัวกลาง (หากไม่มีช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินที่รองรับของบริการนัั้น ๆ ก็ลองมองหา Crypto ตัวอื่นเล่นแทนก็ได้)
หากพบเห็นข้อความ, อีเมล หรือบริการที่สงสัยว่าอาจเป็น Crypto Scam ก็สามารถแจ้งรายงานเบาะแสไปที่ เว็บไซต์กรมสอบสวนพิเศษ (Department of Special Investigation - DSI) หรือจะติดต่อกับ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ที่กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทรศัพท์ 02-142-2831 หรือที่สายด่วนกรมสอบสวนพิเศษ โทรศัพท์ 1202
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |