คำว่า "เมกะบิต - Megabit (Mb)" และคำว่า "เมกะไบต์ - Megabyte (MB)" สองคำนี้มีอักษรย่อที่แทบจะเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่การใช้ตัวพิมพ์เล็ก "b" กับตัวพิมพ์ใหญ่ "B" เท่านั้น นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การใช้ 2 คำนี้ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะความหมายของมันมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เรามักจะเห็นคำว่า "Mb" และ "MB" เมื่อมีการเอ่ยถึง ความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ ขนาดพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งหากไม่เข้าใจก็จะนำพาไปสู่ความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเรื่อง Megabit (Mb) และ Megabyte (MB) ให้เข้าใจกันอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น
ก่อนอื่นเราต้องรู้จักคำว่า "bit" ก่อน มันถือเป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ถูกใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลภายใน Bit จะมีความเป็นไปได้อยู่ 2 ค่า เท่านั้น คือ "1" หรือไม่ก็ "0" ต่อมาก็จะเป็นคำว่า "Byte" โดย 1 Byte จะมีค่าเท่ากับ 8 Bits
คำว่า Megabit (Mb) นั้นหมายถึงข้อมูลที่มี Bit อยู่จำนวน 1,048,576 Bits แต่โดยทั่วไปแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ และเปรียบเทียบ ในการสนทนาโดยทั่วไป เมื่อถามว่า 1 Megabit (Mb) มีค่าเท่าไหร่ ? ก็จะบอกว่ามีประมาณ 1,000,000 Bits เป็นเลขกลม ๆ ไม่ค่อยมีใครขยันจำค่าเศษที่เหลือ 48,576 Bits กันสักเท่าไหร่
ภาพจาก https://citygirlislandboy.com/2011/08/bits-vs-bytes/
กลับมาที่ข้อมูล 8 Bits = 1 Byte ดังนั้นขนาดของข้อมูลจึงสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีค่าที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ อีก 2 คำ ด้วย คือ Gigabytes (GB) และ Terabytes (TB) โดยมันจะเทียบกับ Megabyte (MB) ได้ดังนี้
จากหัวข้อที่แล้ว น่าจะทราบแล้วว่า Megabit เป็นหน่วยที่มีขนาดเล็กกว่า Megabyte ในการเขียนอักษรย่อ จึงใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก "b" รวมเป็น "Mb" ส่วน Megabyte ซึ่งเป็นหน่วยขนาดใหญ่กว่า จึงใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ "B" รวมเป็น "MB"
ทั้ง Megabit (Mb) และ Megabyte (MB) เป็นคำที่นิยมใช้ในการบ่งบอกถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของอะไรบางอย่าง เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือความเร็วของอินเทอร์เน็ต
อย่างไรก็ตาม หากคุณกล่าวถึงฮาร์ดไดร์ฟ ตามปกติเราจะเห็นเพียงคำว่า "Mb" หรือ "MB" แต่พอกล่าวถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ต มันจะมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยความเร็วอินเทอร์เน็ตจะกล่าวถึงขนาดข้อมูลที่สามารถรับส่งได้ต่อวินาที ดังนั้นมันจึงมีการเพิ่มอักษรย่อต่อท้ายเข้าไปเป็น "Mbps" หรือ "MBps" คำว่า "ps" นี้ย่อมาจากคำว่า "per second" (ต่อวินาที) นั่นเอง
ตรงจุดนี้ เป็นจุดที่นักการตลาดนิยมนำมาใช้ในการทำโฆษณาด้านความเร็ว เพราะคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับหน่วย MB กันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เข้าใจผิดแล้วก็ออกมาโวยวาย ตัวอย่างเช่น ติดอินเทอร์เน็ตความเร็ว 500 Mbps ก็คาดหวังว่าจะสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ความเร็ว 500 MBps (หรือ 500 MB/s)
ข้อมูลเพิ่มเติม : เช็คความเร็วเน็ต ทดสอบความเร็วเน็ต (Internet Speedtest) ของคุณได้ที่นี่
แต่เวลาใช้งานจริงนั้น ทำไมไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่ความเร็วเหมือนคำโฆษณาได้ ? หากคุณคิดแบบนั้นอยู่ล่ะก็ หมายความว่าคุณตกหลุมพรางกับดักของ "b" และ "B" เป็นที่เรียบร้อย ทางผู้ให้บริการไม่ได้หลอกลวงเลยแม้แต่นิดเดียว แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ที่สูงสุด 1,000 Mbps (หรือ 1 Gbps) มีเพียงบางค่ายที่เริ่มนำเสนอความเร็วระดับ 2,000 Mbps (หรือ 2 Gbps)
ตัวอย่างแพ็คเกจของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายหนึ่งในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ต 2 Mbps จะดาวน์โหลดได้เร็วขนาดไหน ก็ตามสูตรเดิมเลย 1 Megabit = 0.125 Megabyte ความเร็วอินเทอร์เน็ต 2 Mbps ก็จึงเท่ากับ 250 MBps (หรือ 250 MB/s) เท่านั้น
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
22 สิงหาคม 2566 21:40:13
|
|||||||||||
GUEST |
Ake
ผมงงมากครับ สอบถามเป็นความรู้ครับตามข้อมูลด้านบน 1 Mbps = 0.125 MB/s 2 Mbps = 0.250 MB/s แต่ทำใมข้อมูลด้านบนจึงเป็น 250 MB/s
|
||||||||||