บนโลกของ อินเทอร์เน็ต (Internet) ในระบบออนไลน์ ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานทุกคนควรให้ความสำคัญ เมื่อเอ่ยถึงความปลอดภัยแล้ว จะมีศัพท์อยู่ 2 คำ ที่เรามักจะได้ยินกันเป็นประจำ นั่นคือ Privacy (ความเป็นส่วนตัว) และ Security (ความปลอดภัย) สองคำนี้เป็นคำที่มักจะมาคู่กัน และถูกใช้แทนกันบ่อย ๆ แต่อันที่จริง มันมีความแตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้แทนกันนะ
ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายให้เข้าใจรายละเอียด และความหมายของ คำว่า Privacy และ Security กันมากยิ่งขึ้น
เรามาเริ่มกันที่นิยามของทั้งสองคำนี้กันก่อน
ตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น การที่คุณตัดสินใจว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใน Facebook หรือไม่ ? คือ Privacy ในขณะที่ Facebook จะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ด้วยวิธีการแบบไหน ? คือ Security
มาดูอีกสักตัวอย่าง สมมติง่าคุณไปเปิดบัญชีกับธนาคารแห่งหนึ่ง คุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวกับธนาคาร ซึ่งทางธนาคารจะมีการบันทึกข้อมูลส่วนตัวของคุณเอาไว้ในไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ของธนาคาร หากคุณใช้งานบัญชีได้โดยไม่ถูกละเมิดใด ๆ หมายความว่าบัญชีของคุณยังคงรักษาสถานะ Privacy และ Security เอาไว้ได้
อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแอบนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปขายให้กับบริษัทโฆษณา 3rd-Party นั่นหมายความว่า Privacy ของคุณถูกละเมิดเป็นที่เรียบร้อย แม้ว่าทางด้าน Security ข้อมูลส่วนตัวของคุณที่ทางธนาคารเก็บเอาไว้จะยังถูกเก็บรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี ปลอดภัยจากเงื้อมมือของแฮกเกอร์ แต่ถ้าเซิร์ฟเวอร์ของธนาคารถูกโจมตีแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลออกไปได้สำเร็จ กรณีเช่นนี้ คือ คุณถูกละเมิดครบเลย ทั้ง Privacy และ Security
อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว Security หมายถึงการปกป้องข้อมูลจากภัยอันตรายต่าง ๆ ในขณะที่ Privacy จะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบในการใช้ข้อมูล
ภาพจาก : https://bctl.com.bd/information-security/
นั่นเป็นเหตุผลที่มาตรฐานรักษาความปลอดภัย (Security measures) จะออกแบบโดยสรรหาวิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ มาป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ส่วนมาตรฐานความเป็นส่วนตัว (Privacy measures) จะเป็นเรื่องของการจัดการข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน มีระบบให้เจ้าของข้อมูลกำหนดข้ออนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้วสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งโดยปกติแล้วทั้งสองมาตรฐานจะมีการออกแบบให้ระบบมีความเกื้อหนุนกัน
กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation - GDPR) เป็นตัวอย่างหนึ่งของมาตรฐานความเป็นส่วนตัวที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายประเทศ มันบังคับให้บริษัทที่มีการเก็บข้อมูลต้องชี้แจงผู้อย่างตรงไปตรงมาว่า จะมีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ? และข้อมูลจะถูกไปนำไปใช้งานอะไรต่อ ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องมีการชี้แจงโดยละเอียดให้ผู้ใช้รับรู้ก่อนเสมอ
อย่างไรก็ตาม ในโลกความเป็นจริง เรารู้ดีว่า เมื่อผู้ใช้ถูกถามว่ายินยอมให้บริษัทเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปใช้งานหรือไม่ (ส่วนใหญ่จะเป็นการนำไปใช้ในการทำโฆษณา) ผู้ใช้ก็จะไม่อนุญาตอยู่แล้ว บริษัทเหล่านี้จึงมีการแก้ทางด้วยการบังคับให้ผู้ใช้ต้องยินยอมอนุญาตให้เก็บข้อมูลได้ก่อน จึงจะสามารถใช้บริการได้
ข่าวดี คือ ปัจจุบันนี้ Privacy และ Security เป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้การรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูลของเราเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทอง หรือไม่ก็เสียเพียงนิดเดียวเท่านั้น อย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วย โหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode), ปิดการทำงานของ คุกกี้ (Cookie) หรือ ใช้งาน เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network - VPN)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/cloud-hidden-dilemma-depression-bliss_16462011.htm
พฤติกรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็มีส่วนในการช่วยปกป้อง Privacy และ Security ได้เช่นกัน หลักการที่สำคัญ จะประกอบไปด้วย
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |