ตัวจัดการดิสก์ (Disk Management) จัดว่าเป็น โปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านระบบ (System Utility) ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows โดยมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้จัดการกับไดร์ฟหน่วยความจำที่มีอยู่ในระบบ ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk), อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD, ไดร์ฟ CD และ DVD, การ์ดหน่วยความจำแบบ SD (SD Card) ฯลฯ โดยคุณสมบัติหลัก ๆ ของเครื่องมือ Disk Management จะมีดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : พาร์ทิชันแบบ MBR กับ GPT คืออะไร ? และ แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้งานรูปแบบไหนดี ?
เราสามารถเรียกใช้งานเครื่องมือ Disk Management ได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้ ...
"เมนู Power User" คือเมนูคลิกขวา (Context Menu) ของ "ปุ่ม Start" มันรวมเครื่องมือหลายอย่างเอาไว้ในนั้น บางคนอาจจะใช้งาน "เมนู Power User" เป็นประจำอยู่แล้ว ใครที่ไม่เคยใช้ก็อยากให้ลองดู ซึ่งใน "เมนู Power User" ก็สามารถใช้เพื่อเปิด Disk Management ได้เช่นกัน
ระบบค้นหาของระบบปฏิบัติการ Windows นั้น มีเอาไว้เพื่อใช้เปิดโปรแกรม หรือเครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวระบบปฏิบัติการได้เลยโดยตรง ขอเพียงแค่เรารู้ชื่อของมันเท่านั้นเอง และสำหรับตัว Disk Management ก็สามารถเปิดผ่านได้เช่นกัน
เป็นวิธีที่รู้สึกว่าไม่รู้จะบอกทำไม เพราะเหมือนขับรถอ้อมทาง เมื่อเทียบกับวิธีแรก แต่บอกให้รู้ไว้แล้วกัน ว่ามันทำได้
"แอป Run" ก็ทำงานคล้ายกับ "เมนูค้นหา" ของระบบปฏิบัติการ Windows เราสามารถใช้มันเปิดโปรแกรม หรือสั่งด้วยการพิมพ์คำสั่ง (Command-Line Command) บางอย่างได้ สำหรับการเปิด Disk Management ด้วย "เมนู Run" ทำได้ดังนี้
สำหรับคน Geek ที่ชอบใช้การพิมพ์คำสั่งด้วย Command-Line เราสามารถเปิด Disk Management ผ่านโปรแกรม แอป Command Prompt หรือ PowerShell ได้เช่นกัน โดยทั้งคู่ใช้คำสั่งเดียวกัน ด้วยวิธีการดังนี้ (ในบทความนี้เราจะใช้ PowerShell)
ข้อมูลเพิ่มเติม : Command Prompt กับ PowerShell คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นวิธีเรียกใช้งานเครื่องมือ Disk Management ที่เรารวบรวมมานำเสนอ ถนัดวิธีการไหน ก็เลือกใช้งานวิธีนั้นได้เลย
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |