สำหรับคนที่หลงใหลหรือชื่นชอบบรรดาเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วล่ะก็ บรรดาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อ, การทำงาน, และ (สำหรับส่วนหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์) ความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าที่ไม่ได้ช่ำชองเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีมากนัก ก็อาจจะกลับด้านกันกลายเป็นอุปกรณ์ที่น่ากลัว ไม่น่ายุ่งเกี่ยว (เหมือนที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะเรียกช่างมากกว่าลงมือแก้เองเพราะกลัวพัง) รวมไปถึงการมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับพวกมันไปด้วย
ซึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า บางครั้ง แทนที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานนานขึ้น ก็อาจจะสั้นลง หรืออาจจะทำให้เครื่องต้องทำงานบางอย่างโดยที่ไม่จำเป็น ลองมาดู 10 ข้อต่อไปนี้ว่า มีข้อไหนที่คุณได้รับความเชื่อมาแบบผิด ๆ บ้าง
ในส่วนหัวข้อนี้ เราจะบอกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงข้อมูลในไดรฟ์ (Defragment) ใน PC ยุคใหม่กัน เพราะว่า มันไม่ได้จำเป็นเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้วล่ะ
ในระบบปฏิบัติการ Windows ได้มีการใส่คำสั่งไว้ให้โปรแกรม Defragment ทำงานอยู่เบื้องหลังโดยอัตโนมัติในกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ ส่วนระบบปฏิบัติการ macOS เครื่อง Mac ก็จะมีไฟล์ระบบ (macOS HFS+) ที่จัดการเรียงไฟล์ในโพรเซสที่รู้จักกันในชื่อว่า HFC หรือ Hot File Adaptive Clustering
นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักมาพร้อมกับ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD (Solid-State Drive) หรือพื้นที่เก็บข้อมูลแบบ Flash Storage ที่ไม่ควรไปทำการจัดเรียงข้อมูลกับมันด้วย เพราะจะกลายเป็นทำให้ SSD พังไปแทน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ใช้ PC เจอกับปัญหาความหน่วงความช้า สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำคือ การโทษว่าเป็นความผิดของ มัลแวร์ (Malware) ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผิดล่ะ เราจะมาอธิบายเรื่องความแตกต่างระหว่าง มัลแวร์, ไวรัส, สปายแวร์, ฯลฯ กันสักหน่อย
อ่านเพิ่มเติม : Malware คืออะไร ? Malware มีกี่ประเภท ? และรูปแบบของมัลแวร์ชนิดต่าง ๆ ที่น่าจดจำ
แม้ว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้เสมอว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอาจโดนอะไรสักอย่างเล่นงานเข้าแล้ว แถมมัลแวร์ใหม่ ๆ ในยุคนี้มักจะถูกขับเคลื่อนด้วยเรื่องเงินเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ทำให้ผู้สร้างมันมักจะทำการแอบซ่อนบรรดาสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายไว้อย่างมิดชิดในเครื่องของคุณ ยกตัวอย่างเช่น คุณจะไม่ทันได้สังเกตเลยว่าประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลงเพราะการโดนมัลแวร์ฝังไว้ในเครื่อง อะไรทำนองนั้น
เครดิตภาพ : https://www.cisco.com/c/en/us/products/security/advanced-malware-protection/what-is-malware.html
ในทางกลับกัน สาเหตุที่แท้จริงมักจะมาจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานหนักเพราะรันโปรแกรมพร้อม ๆ กันมากเกินไป, มีการติดตั้งปลั๊กอินที่ไม่จำเป็น หรือมีส่วนเสริมที่แย่งการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), มี หน่วยความจำหลัก (RAM) หรือพื้นที่บน ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk - HDD) ไม่พอสำหรับการทำงานของเครื่อง, มีปัญหาฮาร์ดแวร์ภายใน, หรืออาจจะมีสาเหตุง่าย ๆ แบบที่คาดไม่ถึง แค่เพียงเพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมันอยู่มานานเกินไปแล้ว ได้เวลาเปลี่ยนเครื่องสักที
คุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาทำนองว่า "โหลดโปรแกรม A เพื่อช่วยลบโปรแกรมไม่พึงประสงค์ เพื่อความเร็วในการทำงานของเครื่องที่เพิ่มขึ้นแบบ 300%" โดยโปรแกรมทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ (PC Cleaner หรือ Cleaner) เหล่านั้น จะมีคุณสมบัติในการกวาดล้างไฟล์รีจิสทรีที่มีข้อผิดพลาด (Registry Error) หรือไม่ถูกเรียกใช้งานอีกต่อไปแล้วทิ้งไป, ดาวน์โหลดไดรเวอร์อัปเดตให้, ลบการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่สามารถใช้วิธีลบตามปกติได้, หรือแม้กระทั่งทำการขจัดปัญหาให้กับ PC ที่มีปัญหาจุกจิก
แต่ความจริงก็คือ โปรแกรมเหล่านั้นไม่ใช่โปรแกรมที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเลย ไม่ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการอะไรอยู่ก็ตาม แถมส่วนใหญ่ พวกโปรแกรมที่อ้างตัวเป็น PC Cleaner ทั้งหลาย มักจะมีการแฝงมัลแวร์ เช่น สปายแวร์หรือแอดแวร์ (Adware) เพิ่มเข้ามาให้อีกต่างหาก
ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์จริง ๆ ของมันล่ะก็ จริงอยู่ที่มันช่วยกรองและลบไฟล์รีจิสทรี ที่ไม่จำเป็นให้ แต่ไฟล์พวกนั้นก็มักจะมีขนาดเล็กมากและใช้เวลาไม่นาน ถึงจะมีพวกมันคาอยู่ในเครื่อง ก็ไม่ได้กระทบกับการทำงานมากมายอะไร
เครดิตภาพ : https://www.techknowable.com/10-best-pc-cleaner-software-in-2022/
ส่วนไดรเวอร์อัปเดต คุณก็สามารถเลือกหาดาวน์โหลดได้เองอยู่แล้ว ถ้าเกิดว่ามีปัญหาขึ้นระหว่างการใช้งาน หรือมีการแจ้งเตือนจากโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น Geforce Experience
แล้วถ้าเกิดว่าเป็นเรื่องของการลบการติดตั้งโปรแกรมล่ะ ? ก็ไม่จำเป็นอีกเหมือนกัน เพราะว่าต่อให้ลบไม่หมด ไฟล์ที่คงเหลือก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากมายอะไรอย่างที่เราบอกไปก่อนหน้า (เรียกว่าเล็กกระจิ๋วหลิวถ้าเทียบกับหน่วยพื้นที่ขนาดใหญ่อย่าง GB. และ TB.)
ดังนั้น จากข้อสงสัยต่าง ๆ ด้านบน คุณไม่ควรไปเสียเงินให้กับโปรแกรม Cleaner และเสียพื้นที่ให้โปรแกรมเหล่านี้ด้วยการโหลดมันมาติดตั้งในเครื่องด้วยประการทั้งปวง
สองเหตุผลที่มักพบเจอได้บ่อยที่สุดเวลาที่ถามว่าทำไมถึงไม่ใช้ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) คือ "ฉันใช้ Mac ไง Mac ไม่ติดไวรัสหรอก !" กับ "ฉันไม่ได้ทำอะไรที่มันออนไลน์ (เช่น โหลดบิท, ดูหนังผู้ใหญ่, เผลอกดเข้าเว็บสแปม) ที่จะทำให้ติดได้หรอกนะ !"
บอกเลยว่าสองเหตุผลข้างต้น ผิดพลาดอย่างร้ายแรง และถึงแม้ว่าคุณจะทั้งใช้ Mac และไม่ได้ออนไลน์ ก็ยังต้องมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสติดเครื่องไว้อยู่ดี
เครดิตภาพ : https://www.safetydetectives.com/blog/best-antivirus-for-laptops/
มาพูดถึงประเด็น Mac กันก่อน ถึงแม้ว่าครั้งหนึ่ง มันจะเคยมีภูมิต้านทานที่สมบูรณ์แบบกับไวรัส แต่พวกวายร้ายเหล่านี้ก็มีวิวัฒนาการของมันไปตามเวลาเหมือนกัน และยิ่งมีผู้ใช้ Mac เยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งคุ้มค่าแก่การเขียนโค้ดมาโจมตีเท่านั้น ดังนั้น Mac ก็มีโอกาสติดไวรัสได้ไม่ต่างจาก Windows
และสำหรับใครที่บอกว่าเป็นคนใช้งานแบบ เซฟ ๆ แบบปลอดภัย พึงระลึกไว้ว่า คุณไม่เคยปลอดภัยถ้าต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง คุณจะมีความเสี่ยงระดับหนึ่งอยู่กับตัวเสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดไวรัสหรืออะไรก็ตาม
เพราะขนาดตัวโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเอง ยังเคยติดไวรัสในโปรแกรมตัวเองมาแล้ว นับประสาอะไรกับผู้ใช้งานทั่วไป แต่เชื่อเถอะ มีไว้ใช้ดีกว่าไม่มี
จากหัวข้อด้านบน ไม่มีอะไรเป็นความจริงสักอย่าง ความจริงก็คือ การปล่อยให้คอมพิวเตอร์เปิดไว้ แล้วเข้าโหมด Sleep ในตอนที่ไม่ได้ใช้งานต่างหาก จึงจะถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการเปิดปิดเป็นประจำ โดยจะมีการใช้ทรัพยากรระบบและการใช้ไฟหรือพลังงานแบตเตอรี่ที่น้อยมากในโหมด Sleep
เครดิตภาพ : https://www.techinaflash.net/2018/06/07/whats-best-for-your-computer-shut-down-or-sleep/
ส่วนการเปิดปิดคอมพิวเตอร์ ควรจะปิดคอมพิวเตอร์ก็ต่อเมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้วเท่านั้น เพราะคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอายุการใช้งานจำกัด การปิดเมื่อไม่ใช้งาน ก็จะช่วยยืดอายุออกไปได้อีกหน่อย
ถ้าข้อมูลที่เราลบออกไปจาก PC นั้นหายไปตลอดกาลได้ทุกอย่าง ก็คงจะทำให้คุณ ๆ ทั้งหลายสบายใจได้ไม่น้อย ว่าความลับที่คุณไม่ต้องการให้รั่วไหล จะหลุดไปหาใครที่คุณไม่อยากให้เจอ แต่เสียใจด้วย มันยังอยู่นะ
เมื่อคุณทำการลบข้อมูลไป ร่องรอยที่มองเห็นถึงการมีตัวตนของไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ อาจจะหายไป แต่ถ้าในทางที่วิธีจัดเก็บข้อมูลทำงานแล้วล่ะก็ ข้อมูลที่แท้จริงจะยังคงอยู่เสมอจนกว่ามันจะถูกเขียนทับ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ให้จินตนาการว่า ข้อมูลก็เหมือนรอยเท้าบนพื้นที่มีฝุ่น เมื่อคุณออกจากห้องไปแล้ว รอยเท้านั้นก็จะยังคงอยู่เสมอจนกว่าจะมีใครมาเดินเหยียบย่ำหรือทับรอยเท้าของคุณจนกระทั่งมันเลือนหายไป
เครดิตภาพ : https://www.houzz.com/discussions/2375920/mysterious-footprints-that-won-t-go-away
เฉกเช่นเดียวกันกับวิธีการทำงานของพื้นที่เก็บข้อมูล ไฟล์ที่ถูกลบ จะยังคงมีร่องรอยอยู่บนพื้นที่ว่าของไดรฟ์นั้น ๆ เสมอ ในระหว่างที่อนุญาตให้มีการเขียนไฟล์ทับได้ไปด้วย ซึ่งถ้าพื้นที่ตรงนั้นยังไม่ถูกเขียนทับ ข้อมูลก็ยังสามารถถูกค้นพบได้เสมอ
และเพื่อการลบข้อมูลแบบถาวร บางคนแนะนำให้ใช้แม่เหล็ก ซึ่งอันที่จริง มันก็ใช้ได้ผลนะถ้าเกิดว่าคุณยังใช้ Floppy Disk อยู่ แต่ถามว่าใครยังใช้กันอยู่บ้างล่ะ (...) ดังนั้น ถ้าคิดจะเอามาใช้กับฮาร์ดดิสก์ในยุคปัจจุบัน หรือพวก Flash Storage ทั้งหลายล่ะก็ ไม่ได้ผลแน่นอน
เครื่อง Mac ก็จัดเป็นเครื่อง PC เช่นกัน เพราะมันก็แค่เอา PC มาติดตั้งระบบปฏิบัติการ macOS แทนที่จะเป็น Windows หรือ Linux เท่านั้นเอง แต่ถ้าจะเทียบกันตรง ๆ ว่าดีกว่า Windows PC อันนี้คงเป็นไปไม่ได้ เพราะมันก็ยังมีหลายปัจจัยที่แยกออกไปอีก เพราะฉะนั้นเราจะไม่พูดถึงเรื่องนั้นกันต่อ
เครดิตภาพ : https://www.techjunkie.com/pc-vs-mac/
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าพูดได้มั้ยว่ามันเป็น ขยะราคาแพง หรือ เป็นของที่ราคาแพงเกินไปสำหรับแบรนด์นี้ ในขณะที่ตัวมันก็ไม่ใช่แบรนด์ที่เน้นความประหยัดคุ้มค่าหรือสมเหตุสมผลอะไร อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาส่วนบุคคลแล้วล่ะ แต่ก็มีอุปกรณ์หลายอย่างของ Apple ที่สามารถนำราคาไปเปรียบเทียบกันได้จริง ๆ แถมคุณสมบัติก็ดูดีไม่แพ้กัน
การเปรียบเทียบว่าเบราว์เซอร์ A ปลอดภัยกว่าเบราว์เซอร์ B ไม่ได้จัดว่ามีประโยชน์อะไรกับผู้ใช้งานทั่วไปที่กำลังใช้เบราว์เซอร์ทั้งสองอยู่มากมายอะไร เพราะจริง ๆ แล้ว เบราว์เซอร์ก็เป็นเพียงแค่สภาพแวดล้อมสำหรับการรันคำสั่ง JavaScript ที่ทำให้เสี่ยงต่อการถูกโจมตีและหาช่องโหว่โดยมิชอบด้วย
เครดิตภาพ : https://www.pcmag.com/picks/chrome-edge-firefox-opera-or-safari-which-browser-is-best
คุณควรรู้เอาไว้ว่า การโจมตีผ่านเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่ มักกระทำผ่านส่วนเสริมต่าง ๆ และปลั๊กอินที่ติดกับเบราว์เซอร์ ไม่ใช่ตัวเบราว์เซอร์เอง ดังนั้น เพื่อป้องกันตนเอง ก็ควรจะหาโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเอาไว้ตรวจจับมัลแวร์และบรรดาภัยร้ายต่าง ๆ ที่อาจแฝงมาด้วย
มากกว่าย่อมดีกว่า ในทางคอมพิวเตอร์แล้ว โดยทั่วไปก็เป็นอย่างนั้นนะ
การที่เราเพิ่ม RAM ให้กับ PC ก็จะทำให้มันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการพึ่งพา Virtual Memory ทำให้เรารู้สึกว่า PC นั้นทำงานได้ไวขึ้น
แต่สำหรับจำนวนแกน หรือ Core ของ CPU แล้ว ไม่ได้หมายความว่า ยิ่งมีมากจะยิ่งดีเสมอไป และ CPU ที่เป็นแบบ Quad-core (4 แกน) รุ่นไฮเอนด์ ก็สามารถทำงานได้ดีกว่ารุ่นล่าง ๆ ที่มี Octa-core (8 แกน) แทบจะตลอดเวลา
และนอกจากเรื่องจำนวนแล้ว คำว่า ดีกว่า ยังหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละผู้ใช้งาน ในขณะที่จำนวน Core มากกว่าจะทำให้ดีกว่าในแง่ของการรันโปรแกรมที่เร็วขึ้นแล้ว ก็ยังต้องแลกมาด้วยการสิ่งชดเชยอื่นที่ทำให้ดีขึ้นแทน เช่น อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ดังนั้น คำว่ามากกว่าไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป
อ่านเพิ่มเติม : Core, Thread และ Clock Speed คืออะไร ? ส่งผลกับความเร็ว CPU ในการประมวลผล หรือไม่ ?
ถ้าพูดประโยคนี้เมื่อหลายปีก่อนก็จัดว่าจริงอยู่ แต่ ณ ปัจจุบันเครื่อง PC รุ่นประหยัด ก็ถือว่ามีราคาถูกกว่าการไปซื้อแบบจัดสเปกเองอยู่บ่อย ๆ ทำให้คุณสามารถเก็บเงินขยับไปซื้อสเปกที่สูงกว่าได้ ถ้าคุณต้องการหา PC ที่มีสเปกกลาง ๆ ที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้วล่ะก็ รอ PC รุ่นเหล่านั้นลดราคาแล้วค่อยซื้อจะถือว่าคุ้มค่ากว่าการเลือกจัดเองอยู่ไม่น้อย
เครดิตภาพ : https://www.businessinsider.com/how-to-build-gaming-pc-step-by-step-guide-2017-8
แต่เราไม่ได้หมายความว่าการจัดสเปก PC เองจะไม่คุ้มนะ เพระาสำหรับคนที่มีประสบการณ์ในด้านนี้โดยตรง หรือต้องการปรับแต่งให้ถูกจริตตัวเองจริง ๆ แล้วล่ะก็ การเลือกประกอบเองก็จะดูตรงความต้องการกว่า
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |