ในโลกที่เทคโนโลยีทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ตลอดเวลา และคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในหลากหลายสาขาอาชีพ ทำให้ในเราต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง
คนส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าการใช้สายตาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพของสายตาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ บางคนก็จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย โดยสาเหตุหลักของอาการเหล่านี้มาจากระบบควบคุมแสงสว่างของหน้าจอที่ใช้เทคโนโลยี Pulse-Width Modulation (PWM) จึงมีการพัฒนาหน้าจอถนอมสายตาขึ้นมา โดยเรียกเทคโนโลยีดังกล่าวว่า "Flicker-Free"
Flicker-Free ทำงานอย่างไร ? ทำไมมันช่วยถนอมสายตาได้ มาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีนี้ให้มากขึ้นกัน
Pulse-Width Modulation (PWM) เป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง มีอยู่ 2 สภาวะ คือ สูง (High) และต่ำ (Low) สลับซ้ำกันไปเรื่อย ๆ มันถูกนำมันมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ได้หลากหลายอย่าง เช่น ความเร็วของมอเตอร์, ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาใน หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) รวมไปถึง "ความสว่าง (Brightness)" ของหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วย ด้วยการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณ PWM ก็จะทำให้ความสว่างของหน้าจอลดลงได้
โดย การทำงานของ Pulse-Width Modulation (PWM) จะทำให้หน้าจอมีการกะพริบเกิดขึ้น โดยการกะพริบนี้จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อหรี่ความสว่างของหน้าจอให้มืดขึ้น แม้สายตาของเราจะมองไม่ทัน แต่ว่าร่างกายของเรานั้นสามารถรู้สึกได้ ทำให้รูม่านตามีการบีบเข้า และขยายออกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้เรารู้สึกปวดตา ตาล้า หรือปวดหัวนั่นเอง
Pulse-Width Modulation (PWM)
ภาพจาก : https://www.gg-oled.com/pulse-width-modulation-pwm-in-oled-displays/
หน้าจอแบบ Flicker-Free คือหน้าจอที่ไม่มีการกะพริบเกิดขึ้น แสงจะนิ่งสม่ำเสมอไม่ว่าจะปรับให้แสดงความสว่างที่ระดับเท่าไหนก็ตาม โดยการทำงานของจอแบบ Flicker-Free จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
ที่หน้าจอแบบ Flicker-Free ต้องใช้ระบบไฟกระแสตรง (Direct Current - DC) นั้นก็มาจากรูปแบบการทำงานของกระแสไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ส่งจากโรงผลิตไฟฟ้ามายังบ้านเรือนจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current - AC) ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไป-กลับอยู่ตลอดเวลา โดยอัตราการเปลี่ยนทิศทางที่เกิดขึ้นนี้ เราเรียกว่าความถี่ อย่างในประเทศไทยก็จะใช้ความถี่อยู่ที่ 50 Hz
ความถี่นี้ส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราใช้งานอยู่โดยตรง ตัวอย่างง่าย ๆ คือ หลอดไฟแบบธรรมดาที่ใช้ไฟฟ้าแบบ AC ในความเป็นจริง แสงสว่างที่เราเห็นเนี่ยจริง ๆ มันไม่ได้สว่างนิ่งค้างอยู่ตลอดเวลานะ มันมีการกระพริบอยู่ตลอดเวลาที่ประมาณ 50 Hz (ตามความถี่ของระบบไฟ AC) เพียงแต่ตาของเรามองไม่เห็นเท่านั้นเอง แต่ถ้าเราหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายวิดีโอโดยไม่ได้ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับความถี่ของแสงจากหลอดไฟ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแสงมันกระพริบอยู่ตลอดเวลา
ภาพจาก : https://www.matsusada.com/column/dc_and_ac.html
แต่ไฟฟ้ากระแสตรง Direct Current (DC) จะเป็นการส่งพลังงานไฟฟ้าแบบต่อเนื่องคงที่ตลอดเวลา ไม่มีการสลับไปมาเหมือนกับ ไฟฟ้ากระแสสลับ Alternating Current (AC) ทำให้แสงจากระบบไฟที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง Direct Current (DC) นั้นมีความนิ่งไม่กระพริบเลย ในจอแสดงผลที่ใช้ระบบไฟแบบนี้ จึงเรียกว่าเป็นจอแบบ Flicker-Free นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.displayninja.com/what-is-flicker-free-technology/
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
22 สิงหาคม 2565 11:13:31
|
||
ขอบคุณครับ
|
||