คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และยูนิตมากมายหลายชนิด พวกมันต่างมีหน้าที่สำคัญของตัวเอง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำงานต่อไปได้ และในบทความนี้เราจะมาว่าในเรื่องของชิปตัวหนึ่งที่มีความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ของเรา นั่นก็คือ ชิป CMOS หรือ "Complementary Metal-Oxide-Semiconductor" มันคืออะไร มีหน้าที่อะไรในระบบ ? พร้อมวิธีตั้งค่า
CMOS Chip
Complementary Metal-Oxide-Semiconductor (CMOS) หรือ "ซีมอส" (ที่ไม่ใช่เซ็นเซอร์กล้อง) ถือเป็นชิปหน่วยความจำชั่วคราว (Memory Chip) ประเภทหนึ่ง ที่ใช้เก็บรักษาข้อมูลการกำหนดค่าเฉพาะของ BIOS เอาไว้ โดยเมื่อผู้ใช้เปลี่ยนแปลงการตั้งค่า BIOS เช่น กำหนดลำดับการบูตอุปกรณ์ หรือกำหนดการทำงานของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ค่าเหล่านั้นก็จะถูกเก็บไว้ในชิป CMOS แทน เพื่อให้ BIOS สามารถดึงข้อมูลมาบูตแทนค่าเริ่มต้น (Default) เดิมนั่นเอง
ถามว่าทำไมต้องมี CMOS เพราะแน่นอนว่าหน่วยความจำของ BIOS นั้นเป็น ROM (Read-only Memory) ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียว ในขณะที่ CMOS นั้นเขียนทับได้หรือแก้ไขได้ตลอด ทำให้การตั้งค่าใหม่ต้องเอาไปเก็บใน CMOS ทั้งหมด
เรื่องน่ารู้อีกอย่างคือ แท้จริงแล้ว CMOS เป็นชิปที่ออกแบบมาให้จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงภายในตลอด ไม่เช่นนั้นข้อมูลการตั้งค่าจะถูกรีเซ็ตใหม่และกลับไปใช้ค่าเดิมของ BIOS แต่มันก็พิเศษตรงที่ CMOS นั้นมีการใช้พลังงานจาก เซลล์แบตเตอรี่ (CMOS Battery) ของตัวเองด้วย และมีการออกแบบพิเศษให้สามารถใช้พลังงานต่ำ เพื่อเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ได้นาน ๆ ด้วยพลังงานจากเซลล์แบตเตอรี่นั้น ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะชักปลั๊กคอม หรือ ปิดเครื่องไปเป็นเดือน ค่า BIOS ที่ตั้งไว้ก็จะไม่กลับไปค่าเดิม และทำให้คุณไม่จำเป็นต้องมานั่งเซ็ตใหม่นั่นเอง
CMOS เลยมักถูกเรียกอีกชื่อว่า Non-Volatile RAM (NVRAM) หรือ CMOS RAM แปลว่า CMOS นั้นเป็นหน่วยความจำที่เขียนทับได้เหมือน แรม (RAM) แต่ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ถาวร เพราะมีแบตเตอรี่ส่วนตัวคอยเลี้ยงไฟไว้ให้
CMOS Battery
โดยอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ CMOS จะมีอายุประมาณ 10 ปี แต่บางครั้งก็ต้องเปลี่ยนก่อนถ้ามันเริ่มเสื่อมสภาพลง ขึ้นอยู่กับประเภทที่ใช้ โดยทั่วไปมักใช้เป็น ชนิด CR2032 Lithium Coin Cell หรือบางคนอาจรู้จักในชื่อ "ถ่านเม็ดกระดุม"
นอกจากนี้แล้ว เซลล์แบตเตอรี่ของ CMOS ยังมีหน้าที่คอยช่วยจ่ายไฟให้โมดูลนาฬิกา (Real Time Clock) ของคอมพิวเตอร์ด้วยเหมือนกันนะ โดยโมดูล Real Time Clock นั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบเวลาในคอมพิวเตอร์ และ คอยช่วยนับเวลาตามความเป็นจริงอยู่ตลอดในขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังปิดอยู่ เช่น หากคุณตั้งค่าใน BIOS เพื่อต้องการให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ตัวโมดูล Real Time Clock ก็คือตัวที่นับเวลานั้นให้นั่นเอง
Real Time Clock และ CMOS Battery
สรุปแล้ว CMOS หรือแม้กระทั่งแบตเตอรี่ของมันอย่าง CMOS Battery ถือเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบคอมพิวเตอร์ มันเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งความยืดหยุ่นของ BIOS โดยตรง ถ้าไม่มีหน่วยความจำของ CMOS เวลาตั้งค่า BIOS คุณคงต้องทำแบบเดิมซ้ำ ๆ ทุกครั้งที่เปิดเครื่องใช้งานนั่นเอง
ถ้าพูดถึงการเคลียร์ CMOS มันก็คือการรีเซ็ต BIOS นั่นเอง ปกติก็มี 3 วิธี คือ การรีเซ็ตโรงงาน (Factory Reset ) ที่หน้า BIOS ตามปกติ ส่วนอีก 2 วิธีนั้นจะใช้ต่อเมื่อ ตั้งค่าผิดพลาดและไม่สามารถรีเซ็ตใน BIOS ได้เหมือนทั่วไป นั่นคือการ "จัมเปอร์" และ การ "ถอดแบตเตอรี่" ของ CMOS ออก และทำให้ BIOS ถูกคืนค่ากลับไปเป็น Default เหมือนเดิม
อย่างที่บอก วิธีนี้คือ ให้คุณเข้าไปรีเซ็ตค่าโรงงานตามปกติใน BIOS เมื่อเข้าไปแล้วก็มองหาเมนู เช่น
ตัวเลือกมันไม่แน่นอนเพราะขึ้นอยู่กับชนิดของ แผงวงจรหลัก หรือ เมนบอร์ด (Mainboard) และ BIOS ที่คุณใช้งานอยู่
"จัมเปอร์" (Jumper) เป็นวิธีการรีเซ็ต CMOS ที่ต้องเปิดเคสมาทำที่เมนบอร์ด ปกติตำแหน่งจัมเปอร์จะอยูใกล้กับแบตเตอรี่ CMOS หรือใกล้กับชิป BIOS และจะมีติดป้ายกำกับ เช่น CLRPWD, PASSWORD หรือ CLEAR แต่ถ้าให้ดีควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดเพื่อช่วยหาตำแหน่ง โดยลักษณะของจัมเปอร์จะมีพิน 3 ขา แบ่งเป็น ขา 1, ขา 2, และ ขา 3 และมีตัว จัมเปอร์ นั้นครอบขาพินเอาไว้ 2 อันพร้อมกัน สิ่งที่คุณต้องทำคือ
แบตเตอรี่ในที่นี้หมายถึงของ CMOS เป็นวิธีการรีเซ็ตที่ง่ายกว่า เพราะคุณแค่หาตำแหน่งของ CMOS Battery ให้เจอแล้วดึงมันออกมาเพื่อใส่กลับเข้าไปใหม่เท่านั้น มันจะทำให้พลังงานที่เลี้ยงชิป CMOS อยู่ถูกตัดและมันก็จะรีเซ็ตไปเอง
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |