เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า เมนบอร์ด (Mainboard) กันมาบ้าง แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆ แล้วมันยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อคือนั่นก็คือ มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) หรือ MOBO และ ซิสเต็มบอร์ด (System Board) และก็แล้วแต่จะเรียกกัน แต่ถ้าแปลเป็นไทยแล้วมันก็คือ "แผงวงจรหลัก" นั่นเอง
แต่ไม่ว่าเราจะรู้จักกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ด้วยคำว่าอะไรก็ตาม มันก็จัดเป็นอีกส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล เพราะหากเปรียบเทียบว่า หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่เป็นมันสมองในการสั่งการคอมพิวเตอร์แล้วนั้น Mainboard นั้นก็สามารถเปรียบได้กับกระดูกสันหลังของคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้
เมนบอร์ด (Mainboard) หรือที่ในต่างประเทศนิยมเรียกกันว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) นั้น มันเป็นแผงวงจรหลัก หรือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลัก (Main PCB หรือ Main Print Circuit Board) ที่รวมเอาส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ด้วยกันบนแผงวงจรนี้
โดยหากสังเกตก็จะพบว่า ไม่ว่ามันจะถูกเรียกด้วยชื่อใดก็ตามมันก็จะมีคำว่า บอร์ด (Board) ห้อยท้ายอยู่เสมอ เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายกระดาน (Board) ที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์อยู่ มากมาย
นอกจากนี้แล้ว Mainboard เอง ก็ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยง สิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเชื่อมต่อกับมัน ไม่ว่าจะเป็น หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), หน่วยความจำหลัก (RAM), หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่าง ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) หรือแม้แต่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD (Solid-State Drive) และ พอร์ตเชื่อมต่อ USB ซึ่งทั้งหมดนี้ อาจจะเชื่อมต่อกันในรูปแบบของ การ์ดที่มาเสียบกับตัว Mainboard เองโดยตรง หรือ เชื่อมโดยใช้สายเคเบิ้ล ที่มาเสียบกับ Mainboard ในรูปแบบของพอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ
ก่อนที่จะไปถึงขั้นการเลือกซื้อ Mainboard นั้น เราก็ควรที่จะทราบก่อนว่าส่วนประกอบของ Mainboard นั้นมีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เลือกสเปกให้ตรงใจเรามากที่สุด
ภาพจาก : https://i.ytimg.com/vi/DCcJ5U9dGTs/maxresdefault.jpg
ผู้ใช้บางคนอาจใส่ใจในเรื่องของการเลือกสเปก CPU กันเป็นส่วนมาก แต่การเลือกซื้อเมนบอร์ดที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับ CPU ในดวงใจของเราเองก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเจ้าตัว Mainboard นั้นก็สามารถแบ่งประเภทย่อยได้หลากหลายรูปแบบที่จะมีความต่างกันทั้งในเรื่องของขนาด, Socket, จำนวน Slot ในการใส่การ์ดจอหรือหน่วยความจำและพอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น Mainboard ยอดนิยมจำพวก ATX, Micro ATX, Mini-ITX และ Mainboard ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม : เมนบอร์ด ATX, EATX, Micro-ATX, Mini-ITX, DTX และ Mini-DTX คืออะไร ? และ ต่างกันอย่างไร ?
และแน่นอนว่าประเภทของ Mainboard ที่ต่างกันนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกันตามไปด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อ Mainboard ดี ๆ ซักอันก็ควรที่จะพิจารณาตามการใช้งานของเราว่าจุดประสงค์หลักในการใช้งานของเรานั้นคืออะไร เพื่อที่จะได้เลือกซื้อ Mainboard ได้ตรงตามสเปกและใช้งานได้นาน โดยในเบื้องต้นก่อนที่จะทำการเลือกซื้อ Mainboard ตัวใหม่นั้นเราอาจต้องทำการตรวจสอบรุ่น Mainboard ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนี้ก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีตรวจสอบดูรุ่น หรือ ดูสเปก Mainboard ที่ใช้งานอยู่แบบง่าย ๆ ด้วยตนเอง
เมื่อทราบรุ่น Mainboardที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันแล้วเราก็สามารถนำเอาสเปกของ Mainboard ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมาพิจารณาว่าจะเพิ่ม - ลดสเปกในส่วนใดบ้าง โดยอันดับแรกนั้นจะต้องเลือกค่าย CPU และ Chipset ที่ต้องการจะใช้งานเสียก่อนเพื่อตามหาเมนบอร์ดที่มีช่อง Socket พอดีกับ CPU ที่เราต้องการ และมีระบบระบายอากาศภายในเครื่องเป็นอย่างดี
ถัดมาก็เป็นเรื่องของ Expansion Slots ที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างลื่นไหล ในส่วนนี้เราก็จะต้องพิจารณาการใช้งานของเราเพื่อเลือกประเภทของเมนบอร์ดให้มีจำนวน Slot ของการ์ดจอ (GPU), RAM, หน่วยความจำ (HDD หรือ SSD) และพอร์ตเชื่อมต่อภายนอก (พอร์ต USB, HDMI, e SATA หรือเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ อาจมาพร้อม Thunderbolt ด้วยก็เป็นได้) ในขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับบุคคลว่าต้องการใช้งานในด้านใดเป็นพิเศษเพื่อคำนวณว่าควรใช้งานเมนบอร์ดประเภทใดจึงจะเหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานของเรา
ซึ่งก็แน่นอนว่าเมนบอร์ดที่มีขนาดใหญ่ก็จะมี Socket และ Slot ที่มากตามขนาดไปด้วย โดยในขั้นตอนนี้ถ้าไม่อยากให้คอมพิวเตอร์ดูเทอะทะจนเกินไปอาจปรับลดขนาดเมนบอร์ดของเราลงมาก็ได้เช่นกัน แต่ทางที่ดีควรคำนวณว่ามันจะเพียงพอต่อการใช้งานในอนาคตของเราด้วยนะ (แต่ในเรื่องราคาอาจจะกลับกันเลยก็ได้ เพราะ Mainboard แบบ Mini บางรุ่นก็แพงเสียจนน่าตกใจ)
ภาพจาก : https://www.themete.com/wp-content/uploads/2020/01/Motherboard-Size.jpg
ไม่เพียงเท่านั้น หลังจากที่เราได้เมนบอร์ดและจัดการประกอบทุกอย่างเข้าด้วยกันเพื่อใช้งานแล้วก็ควรหมั่นดูแลรักษาเมนบอร์ดและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ของเราให้สะอาดอยู่เป็นระยะด้วย เพราะนอกจากการเช็ดฝุ่นทำความสะอาดภายนอกตัวเคส, หน้าจอ หรือเมาส์และคีย์บอร์ดแล้ว การทำความสะอาดแผงวงจรภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการที่มีฝุ่นเข้าไปกระจุกอยู่ในเมนบอร์ดจำนวนมากหรือมีความชื้นที่มากเกินไปนั้นก็มีส่วนทำให้เครื่องช้า, หน่วง หรือทำงานผิดปกติไปได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีทำความสะอาด แผงวงจรคอมพิวเตอร์ (Computer Circuit Board) เบื้องต้น โดยไม่ให้เสียหาย
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |