ทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า มือถือแอนดรอยด์ (Android Phone) เป็นผลิตภัณฑ์จากกูเกิล (Google) และในมือถือแอนดรอยด์ทุกเครื่อง ก็จะต้องมี แอปพลิเคชัน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จาก Google เช่น แอปพลิเคชันจีเมล (GMail) แอปพลิเคชันจัดการเอกสาร (Google Docs, Google Sheet, Google Slides ฯลฯ) หรือแม้แต่ เพลย์สโตร์ (Play Store)
แต่ ถ้าเกิดไม่ชอบแอปพลิเคชันหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ จาก Google สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ แทนได้ไหม จริง ๆ แล้วการใช้มือถือแอนดรอยด์แบบตัดขาดจาก ผลิตภัณฑ์ Google ก็มีความเป็นไปได้ แต่ถ้าจะตัดทุกอย่างที่ได้มาจาก Google ออกจากมือถือ แล้วใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอื่น ๆ ทำอย่างไร ? มาดูกัน
สิ่งที่มาพร้อมมือถือแอนดรอยด์ทุกเครื่อง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
ในส่วนของระบบปฏิบัติการนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าโรงงานได้อยู่แล้ว นอกเสียจากว่าคุณสามารถนำ ROM แบบ Custom มาใช้แทนที่ได้ แต่ในเรื่องของแอปพลิเคชันนั้น มี แอปพลิเคชันบุคคลที่สาม (Third-Party Application) ให้เลือกหลากหลาย แต่การตัดขาดจาก ผลิตภัณฑ์ Google อย่างจริงจัง นั่นแปลว่าคุณจะไม่สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก Googl Play Store ได้อีก ต้องพึ่งพาช่องทางอื่น เช่นสโตร์จากแบรนด์มือถือบางแบรนด์, Amazon AppStore หรือแม้แต่การดาวน์โหลดไฟล์ .apk จากเว็บไซต์โดยตรง
ตัวอย่าง Galaxy Store จากแบรนด์ Samsung
จริง ๆ แล้ว การใช้มือถือแอนดรอยด์แบบไม่พึ่งพา ผลิตภัณฑ์ Google นั้นมีความเป็นไปได้ เชื่อว่าหลายคนอยากทราบเหตุผลว่าจะทำแบบนี้ไปทำไม ใช้ผลิตภัณฑ์ Google ก็สะดวกดีนี่นา ใช้งานง่ายด้วย
ในยุคที่ข้อมูลส่วนตัวของเรากลายเป็นประโยชน์ในการบริการ การทำตลาดของสินค้าต่าง ๆ ฉะนั้น Google จึงเป็นองค์กรที่มีข้อมูลส่วนตัวแบบละเอียดของแทบทุกคนบนโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล แต่ยังมีเลขบัตรเครดิตสำหรับซื้อแอปพลิเคชัน, สถานที่ที่ผู้ใช้ไปบ่อย ๆ จากการใช้งานแผนที่ Google Maps แถมยังเรียนรู้การใช้งานจากการใช้ชีวิตผ่าน Google Assistant อีกต่างหาก
จริง ๆ แล้ว ในปัจจุบัน ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลล้วนตกอยู่ในมือองค์กรต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แถมการใช้แอปพลิเคชันจากบริษัทอื่น ๆ ก็ต้องใช้งานข้อมูลส่วนตัวของคุณไม่แพ้กัน วิธีนี้อาจเหมือนหนีเสือปะจระเข้เสียมากกว่า นั่นก็ขึ้นอยู่กับบริการนั้น ๆ ว่าใช้งานและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถปรับแต่งอะไรได้ง่ายกว่าคู่แข่งอย่าง iOS หากใครเป็น User ระดับ Advance น่าจะต้องเคย Root มือถือแอนดรอยด์ นำ Custom ROM มาใช้งานแทน ROM จากโรงงานของแบรนด์นั้น ๆ หรือ Jailbreak iPhone กันแน่ ๆ แต่ถ้าใครต้องการใช้งานมือถือแบบ โอเพ่นซอร์ส (Open-Source) อันนี้ก็เป็นวิธีที่แตกต่างออกไป
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือไม่ ก็มีแหล่งแอปพลิเคชันอย่าง F-Droid แหล่งรวมแอปพลิเคชันฟรีและโอเพ่นซอร์ส ซึ่งช่องทางการติดตั้งก็คือเว็บไซต์ F-Droid.org และทำการดาวน์โหลดไฟล์ .apk ติดตั้งในมือถือแอนดรอยด์ของคุณ ซึ่งแอปพลิเคชันบน F-Droid จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ค้นหาแอปฯ ได้ง่าย ๆ
จริง ๆ แล้ว Google เองก็มีโครงการโอเพ่นซอร์ส (Android Open Source Project : AOSP) สำหรับผู้ใช้และนักพัฒนา เพื่อการดัดแปลงซอร์สโค้ดที่ทาง Google เตรียมไว้ให้ ซึ่งโครงการนี้มีข้อดีตรงที่ ไม่ว่าจะพัฒนาซอร์สโค้ดใด ๆ ก็จะอยู่ในสายตา Google รวมถึง Google ยังช่วยดูแลด้านความปลอดภัยของซอฟต์แวร์นั้น ๆ ร่วมด้วย
แน่นอนว่าหากจะตัดขาดกับ Google ก็ต้องหันไปใช้บริการจากเจ้าอื่น หรือจาก F-Droid แทน ซึ่งเราขอยกตัวอย่างแอปพลิเคชันที่พอจะแทนที่บริการจาก Google ได้ ดังต่อไปนี้
ในขณะที่การใช้งานมือถือแอนดรอยด์ปกติ จะมีแจ้งเตือนอัปเดตซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันมาให้เสมอ แต่ถ้าเปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชัน .apk หรือแหล่งดาวน์โหลดอื่น ๆ เรื่องของการอัปเดตก็ขึ้นอยู่กับต้นทางแล้วล่ะ ฉะนั้น การตัดขาดจาก ผลิตภัณฑ์ Google ใด ๆ แปลว่าตัดขาดจากการอัปเดตซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันด้วย
เพราะไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยจาก Google แล้วนั่นเอง แม้แอปพลิเคชันอื่น ๆ จะมีระบบรักษาความปลอดภัยเฉพาะตัว แต่ก็ไม่ใช่ทุกแอปฯ ยิ่งใครที่มีการใช้งานเฉพาะทาง อาจต้องแก้ปัญหาด้วยแอปพลิเคชัน .apk ที่เสี่ยงต่อการเจออันตราย มัลแวร์ (Malware) หรือแอปพลิเคชันปลอม ยิ่งไปกว่านั้น หากไปเจอแอปพลิเคชันที่นำพามัลแวร์ ช่องโหว่จนเกิดปัญหาขณะใช้งาน ก็ยิ่งทำให้ความปลอดภัยน้อยลงทุกที ๆ
หากคุณเป็นคนที่ทำงาน ติดต่อสื่อสาร หรือความบันเทิงในชีวิตอยู่กับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งวิดีโอและเพลงทั้งหลาย การใช้งานแบบตัดขาดจาก Google อาจไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะแพลตฟอร์มโซเชียลทั้งหลายต่างก็อยู่ในมือผู้ใช้บริการ Apple และ Google และนั่นทำให้คุณต้องหาผู้คนในสังคมใหม่ ๆ มาเป็นเพื่อนกัน ยิ่งบางแพลตฟอร์มที่ต้องรวมกลุ่มเพื่อหารค่าใช้จ่าย เช่น Netflix, Spotify คงเป็นเรื่องยากที่เพื่อนคุณจะยอมสมัครแพลตฟอร์มใหม่เพื่อหารค่าใช้จ่ายใหม่ ๆ เพิ่ม
จริง ๆ แล้ว นี่ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ต้องแลกมากับข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ความปลอดภัยที่ลดลง แอปพลิเคชันที่อาจไม่ครอบคลุมการใช้งานของผู้ใช้ทุกคน และยังมีข้อเสียอื่น ๆ ที่ตามมาอีกในอนาคต หากใครอยากรู้ อยากลองก็สามารถค้นหาวิธีทำได้ แต่ถ้าใครคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ก็ใช้งานมือถือแอนดรอยด์ในแบบฉบับปกติกันต่อไป
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |