ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

วิธีแก้ปัญหาไม่สามารถอัปเดต และติดตั้ง Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ได้

วิธีแก้ปัญหาไม่สามารถอัปเดต และติดตั้ง Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ได้

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 22,905
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%95+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87+Windows+11+%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99+22H2+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

วิธีแก้ปัญหาไม่สามารถอัปเดต และติดตั้ง Windows 11 เวอร์ชัน 22H2

ทาง Microsoft ได้ปล่อย ระบบปฏิบัติการ Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ออกมาให้อัปเดตกันได้แล้ว โดยในเวอร์ชันนี้ได้มีการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ๆ เข้ามามากมาย แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากผู้ใช้หลายคนที่ประสบปัญหาไม่สามารถอัปเดตเพื่อติดตั้งได้ โดยจะได้การแจ้งเตือนเป็นรหัสข้อผิดพลาด 0x80246019 หรือไม่ก็ 0x800f0806 เป็นต้น

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

หากกดอัปเดต Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 แล้วเจอปัญหาแบบนี้จะมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง ? มาอ่านกัน

เนื้อหาภายในบทความ

  1. ใช้ตัวแก้ไขปัญหา Windows Update
    (Use Windows Update Troubleshooter)
  2. ใช้เครื่องมือ System File Checker
    (Use System File Checker Tool)
  3. ตรวจสอบพื้นที่ว่างในไดร์ฟ C:
    (Check C: Drive Available Space)
  4. ตรวจสอบการทำงานของ ตัวติดตั้งโมดูลของ Windows
    (Check Windows Module Installer)
  5. ตรวจสอบสถานะของ .NET Framework 3.5
    (Check .NET Framework 3.5 Status)
  6. รีเซ็ตการทำงาน ของส่วนประกอบ ที่ใช้ในการอัปเดต Windows
    (Reset Windows Update Components)
  7. ปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสบุคคลที่สาม
    (Disable 3rd-Party Anitivirus Software)
  8. ปิดการทำงานของ Kernel DMA Protection
    (Disable Kernel DMA Protection)
  9. อัปเดตผ่าน เครื่องมือที่ช่วยการติดตั้ง
    (Update via Installation Assistant Tool)

1. ใช้ตัวแก้ไขปัญหา Windows Update
(Use Windows Update Troubleshooter)

เริ่มต้นวิธีแรกด้วยการใช้เครื่องมือช่วยเหลือที่ Microsoft ใส่มาให้ใช้แก้ไขเวลาที่มีปัญหา นั่นก็คือ เครื่องมือ Windows Update Troubleshooter โดยสามารถเรียกใช้งานได้ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows + i" เพื่อเปิด "หน้าต่าง Settings"
  2. ในพาเนลด้านซ้าย คลิกที่ "เมนู System"
  3. ในพาเนลด้านขวา คลิกที่ "เมนู Troubleshoot" ตามด้วย "เมนู Other Troubleshooters"
  4. ตรง "เมนู Windows Update" ให้เราคลิกที่ "ปุ่ม Run"

ระบบจะเริ่มทำการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาให้เราโดยอัตโนมัติ

ใช้ตัวแก้ไขปัญหา Windows Update (Use Windows Update Troubleshooter)

2. ใช้เครื่องมือ System File Checker
(Use System File Checker Tool)

ถ้าหากไฟล์ระบบของ ระบบปฏิบัติการ Windows เกิดความเสียหาย มันก็สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาต่อ Windows Update ได้เช่นกัน เราสามารถสแกน และซ่อมแซมได้ด้วยการใช้คำสั่ง System File Checker ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกขวาที่ "เมนู Start" แล้วเลือก "Windows Terminal (Admin)"
  2. พิมพ์คำสั่ง
    DISM.exe /Online /Cleanup-image /Restorehealth
    แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  3. รอมันอัปเดตข้อมูลสักครู่

ใช้เครื่องมือ System File Checker (Use System File Checker Tool)

  1. จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง
    sfc /scannow
    แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  2. รอจนมันทำการสแกนจนเสร็จ แล้วลองอัปเดต Windows อีกครั้งหนึ่ง

3. ตรวจสอบพื้นที่ว่างในไดร์ฟ C:
(Check C: Drive Available Space)

โดย Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 จัดว่าเป็นเมเจอร์อัปเดตครั้งใหญ่ ทำให้ต้องการพื้นที่ว่างในการอัปเดตค่อนข้างเยอะ โดยในขณะที่อัปเดตไดร์ฟควรจะมีพื้นที่ว่างเหลืออย่างน้อย 64 GB หากไดร์ฟของเรามีพื้นที่เหลือไม่พอ ให้ย้ายไฟล์ไปเก็บไว้ที่อื่น และใช้เครื่องมือทำความสะอาดไดร์ฟเพื่อล้างไฟล์ขยะออกจากระบบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows+i" เพื่อเปิดหน้าต่าง Settings
  2. ในพาเนลด้านซ้าย คลิกที่ "เมนู System"
  3. ในพาเนลด้านขวา คลิกที่ "เมนู Storage" ตามด้วย "เมนู Cleanup recommendations"
  4. คลิกเลือกข้อมูลที่จะลบ แล้วคลิก "ปุ่ม Clean up"

ตรวจสอบพื้นที่ว่างในไดร์ฟ C: (Check C: Drive Available Space)

4. ตรวจสอบการทำงานของ ตัวติดตั้งโมดูลของ Windows
(Check Windows Module Installer)

ในการอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows นั้น จะมี Services หลายตัวที่เกี่ยวข้อง ให้เราเข้าไปตรวจสอบ Services ที่จำเป็นต่อการอัปเดตด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows + r" เพื่อเปิด "หน้าต่าง Run" ขึ้นมา
  2. พิมพ์ลงไปในช่องค้นหาว่า "sevices.msc" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  3. ดับเบิลคลิก ที่ "เมนู Windows Module Installer"
  4. ตรง "หัวข้อ Startup Type" เลือกเป็น "Automatic" แล้วคลิก "ปุ่ม OK"
  5. ตรง "หัวข้อ Service Status" ถ้าหากมันขึ้นว่า "Stop" ให้คลิกที่ "ปุ่ม Start"
  6. คลิก "ปุ่ม OK" เพื่อยืนยันการตั้งค่า

ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3-6 อีกครั้ง กับเมนู Background Intelligent Transfer Service, Cryptographic Service และ Windows Update services

ตรวจสอบการทำงานของ ตัวติดตั้งโมดูลของ Windows (Check Windows Module Installer)

5. ตรวจสอบสถานะของ .NET Framework 3.5
(Check .NET Framework 3.5 Status)

สำหรับ .NET Framework 3.5 เป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทาง Microsoft สร้างขึ้นมา มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งโดยปกติมันก็จะถูกเปิดใช้งานเอาไว้อยู่แล้ว แต่ด้วยเหตุผลที่ไม่คาดคิดมันอาจจะถูกปิดเอาไว้ ซึ่งส่งผลให้ Windows ไม่สามารถอัปเดตได้ ดังนั้น ให้เราเข้าไปตรวจสอบสถานะการทำงานของ .NET Framework 3.5 ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows + i" เพื่อเปิด "หน้าต่าง Settings"
  2. ในพาเนลด้านซ้าย คลิกที่ "เมนู Apps"
  3. ในพาเนลด้านขวา คลิกที่ "เมนู Opional Features" เลื่อนลงมาด้านล่างสุด แล้วคลิกที่ "เมนู More Windows Features"
  4. คลิกเลือก ⊟ ที่ "เมนู .NET Framework 3.5" และ "เมนู .NET Framework 4.8" ตามด้วย "ปุ่ม OK"

ตรวจสอบสถานะของ .NET Framework 3.5 

6. รีเซ็ตการทำงาน ของส่วนประกอบ ที่ใช้ในการอัปเดต Windows
(Reset Windows Update Components)

ในการอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows มันจะอาศัยส่วนประกอบ (Components) หลายส่วนร่วมกันทำงาน หากส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อการอัปเดตได้เช่นกัน หากมีปัญหาในการอัปเดตก็ให้ลองรีเซ็ตส่วนประกอบเหล่านั้นดู ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows + r" เพื่อเปิด "หน้าต่าง Run" ขึ้นมา
  2. พิมพ์ลงไปว่า "cmd" แล้วกด "ปุ่ม Ctrl+Shift+Enter"
  3. ที่ "หน้าต่าง Command Prompt" ใน "โหมด Admin" ก็จะถูกเปิดขึ้นมา
  4. พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงไป
    net stop wuauserv
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net stop bits
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net stop cryptSvc
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net stop msiserver
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    ren C:\Windows\SoftwareDistribution SoftwareDistribution.old
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    ren C:\Windows\System32\catroot2 Catroot2.old
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net start wuauserv
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net start bits
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net start cryptSvc
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
    net start msiserver
    ตามด้วย "ปุ่ม Enter"
  5. รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ แล้วลองอัปเดต Windows ดูอีกครั้ง

รีเซ็ตการทำงาน ของส่วนประกอบ ที่ใช้ในการอัปเดต Windows (Reset Windows Update Components)

7. ปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสบุคคลที่สาม
(Disable 3rd-Party Anitivirus Software)

การทำงานของ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบ บุคคลที่สาม (3rd-Party) บางค่าย ส่งผลต่อการอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการตั้งค่าปิดการทำงานของคุณสมบัติ Real-time Scanning ไปก่อน เมื่ออัปเดตเสร็จค่อยเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง

จากรายงานพบว่าปัญหามักจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน โปรแกรมแอนตี้ไวรัส AVG และ Avast ซึ่งอันที่จริงก็มีปัญหากับการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ Windows มาตั้งแต่ Windows 10 แล้ว ใครที่ใช้ 2 ยี่ห้อนี้อยู่ แล้วพบปัญหาบ่อย อาจจะพิจารณาย้ายไปค่ายอื่นเลยก็ได้นะ

8. ปิดการทำงานของ Kernel DMA Protection
(Disable Kernel DMA Protection)

มีรายงานจากผู้ใช้บางรายที่ประสบปัญหาในการอัปเดต Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ที่ระบุว่าสามารถแก้ไขได้ด้วยการปิดคุณสมบัติ Kernel DMA Protection ไปก่อนชั่วคราว

เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของ Kernel DMA Protection ได้ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. กด "ปุ่ม Windows+r" เพื่อเปิด "หน้าต่าง Run" ขึ้นมา
  2. พิมพ์ลงไปว่า "msinfo32" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  3. และ "หน้าต่าง System Information" ก็จะแสดงขึ้นมา
  4. ตรวจสอบ "หัวข้อ Kernel DMA Protection" หากเป็น On ให้เราเข้าไปปิดมันใน BIOS โดยส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลือกหนึ่งใน "เมนู Security"
  5. อ่านวิธีเข้า BIOW ได้ที่ https://tips.thaiware.com/1108.html

ปิดการทำงานของ Kernel DMA Protection (Disable Kernel DMA Protection)

9. อัปเดตผ่าน เครื่องมือที่ช่วยการติดตั้ง
(Update via Installation Assistant Tool)

มาถึงท่าสุดท้าย แทนที่เราจะพยายามแก้ไข ระบบปฏิบัติการ Windows ให้สามารถอัปเดตผ่าน "แอป Settings " ได้ เราสามารถเลือกอัปเดตผ่าน "เครื่องมือ Installation Assistant" ได้เช่นกัน ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. ไปที่เว็บไซต์ : https://www.microsoft.com/en-au/software-download/windows11
  2. ใต้หัวข้อ Windows 11 Installation Assistant คลิกที่ "ปุ่ม Download Now"

อัปเดตผ่าน เครื่องมือที่ช่วยการติดตั้ง (Update via Installation Assistant Tool)

  1. เราจะได้ไฟล์ "Windows11InstallationAssistant.exe" มา ดับเบิลคลิกเปิดมันขึ้นมา
  2. คลิกที่ "ปุ่ม Accept and Install" มันจะเริ่มดาวน์โหลด จากนั้นให้เราทำตามขั้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนจบได้เลย

อัปเดตผ่าน เครื่องมือที่ช่วยการติดตั้ง (Update via Installation Assistant Tool)


หวังว่าจะอัปเดต Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 กันได้เป็น ชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไร ? ในการอัปเดตครั้งนี้บ้าง ลองแบ่งปันความคิดเห็นกันได้นะ


ที่มา : www.makeuseof.com

0 %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%95+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87+Windows+11+%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99+22H2+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น