ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์นั้นมีตัวเลือกอยู่มากมาย ให้ผู้บริโภคได้มีอิสระในการเลือกชิ้นส่วนที่ต้องการใช้งานได้ หนึ่งในการตัดสินใจที่มักจะสร้างความลังเลก็คือ "จะซื้ออุปกรณ์เก้บข้อมูลแบบ SSD แบบไหนมาใช้งานดี ?" โดยตัวเลือกยอดนิยมก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ SATA และ NVMe นั่นเอง
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ว่าแบบไหนมันดีกว่ากัน ? แบบไหนที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ? มาหาคำตอบกัน
แต่ก่อนที่เราจะไปตอบคำถามว่า SATA หรือ NVMe นั้นทนทานมากกว่ากัน เรามาทำความรู้จักกับพวกมันกันก่อนสักเล็กน้อยดีกว่า
สำหรับ SSD SATA เป็น อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ โปรโตคอล (Protocol) เชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) ในการรับส่งข้อมูล ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง SSD กับ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) คือการทำงานของไดร์ฟแบบ SSD นั้นจะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว (Moving Mechanism) ทำให้มันทนทานต่อการตกหล่น และแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า แถมความเร็วในการทำงานก็สูงกว่าหลายเท่า
ฟอร์มแฟคเตอร์ของ SSD SATA ก็มีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่เห็นกันบ่อย ๆ ก็จะเป็นขนาด 2.5 นิ้ว และแบบ M.2 ความจุสูงสุดที่สำรวจเจอคือ 8 TB. ซึ่ง SSD SATA นิยมใช้เป็นไดร์ฟหลักบน แล็ปท็อป (Laptop) กับ โน้ตบุ๊ค (Notebook) ต่างกันอย่างไร ? เรียกอย่างไรดี ? และ เครื่อง PC สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS)
ภาพจาก : https://servers-options.com/index.php/memory-ram/micron-harddisk-ssd/mtfddak240tdt-1aw15abyy
SSD SATA มีความเร็วในการอ่านเขียนที่สูงกว่า HDD พอสมควร โดยเฉลี่ยแล้ว SSD SATA จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 550 MB/s และเขียนข้อมูลได้สูงสุดที่ 520 MB/s อย่างไรก็ตาม หากนำมันไปเทียบกับ SSD NVMe ก็ต้องยอมรับตามตรงว่า SSD SATA นั้นช้ากว่ามาก
SSD NVMe เป็น SSD อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ มันใช้โปรโตคอล NVM Express (NVMe) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งโปรโตคอลตัวนี้เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับ SSD โดยเฉพาะ หากเปรียบเทียบเทคโนโลยี NVMe กับเทคโนโลยีเดิมอย่าง SATA แล้ว ทาง NVMe จะมีข้อดีเพิ่มขึ้นมาหลายด้าน เช่น
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ช่วยให้ SSD NVMe เร็วกว่า SSD SATA มาก อย่างเช่น SSD ของ Crucial รุ่น T700 สามารถอ่านข้อมูลได้เร็วสูงสุดถึง 12,400 MB/s และเขียนข้อมูลได้ที่ 11,800 MB/s เลยทีเดียว ซึ่งความเร็วนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ดียิ่งกว่าเดิม
นอกจากนี้ มันยังมีเสถียรภาพ และอัตราการใช้พลังงานที่เหนือกว่า อย่างไรก็ตาม ความแรงก็มาพร้อมกับราคา (ในปัจจุบันนี้ราคาเริ่มจับต้องได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้ว) ทางผู้ผลิตจึงนิยมใส่มาให้ในคอมพิวเตอร์ระดับกลางค่อนไปทางระดับบนเท่านั้น เพื่อลดต้นุทนการผลิต ทำให้ตั้งราคาขายได้ต่ำลง
ถึงบรรทัดนี้ คุณผู้อ่านน่าจะเข้าใจแล้วว่า ความแตกต่างระหว่าง SATA และ NVMe ในแง่ของการใช้งานแล้ว มันก็แตกต่างกันที่โปรโตคอลที่ใช้ซึ่งส่งผลต่อความเร็วในการทำงานของมัน แต่ถ้ามองในแง่ของอายุการใช้งานแล้ว ต้องบอกเลยว่า "มันไม่แตกต่างกันเลย"
ในการประเมินว่า SSD จะมีอายุการใช้งานได้นานขนาดไหน จะใช้ตัวชี้วัดที่เรียกว่า Terabytes Written (TBW) โดยมันใช้ในการประเมินว่าไดร์ฟ SSD ตัวนั้นจะเก็บข้อมูลเอาไว้อย่างปลอดภัยได้มากขนาดไหนตลอดช่วงชีวิตอายุการทำงานของมัน ยิ่งค่า TBW สูงมากเท่าไหร่ ตัว SSD ก็จะใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในตอนที่เราเลือกซื้อ SSD นอกจากความจุ และความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลแล้ว ค่า TBW ก็เป็นค่าที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่าง การตรวจสอบค่า TBW จะช่วยให้คุณประเมินความทนทานของมันได้แม่นยำกว่าการมโนเอาเองว่า หากราคายิ่งแพง มันก็ยิ่งทน ถึงมันจะมีแนวโน้มที่จะเป็นจริงก็ตาม
ภาพจาก : https://www.corsair.com/us/en/p/data-storage/cssd-f2000gbmp700r2/mp700-2tb-pcie-5-0-gen-5-x4-NVMe-m-2-ssd-cssd-f2000gbmp700r2
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความทนทานคือ ประเภทของ NAND Flash Memory ที่ตัว SSD นั้นใช้ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น Single Level Cell (SLC), Multi-Level Cell (MLC), Triple Level Cell (TLC) และ Quad Level Cell (QLC) ซึ่ง SLC นั้นมีอายุขัยที่สูงที่สุด แต่ราคาก็แพงที่สุดด้วยเช่นกัน โดยไล่ลำดับความทนทาน และราคาไปตามลำดับ
ภาพจาก : https://www.teamgroupinc.com/en/blogs/qlc-ssd-en
SLC นั้นจะเก็บข้อมูล 1 บิต ต่อ 1 เซลล์, MLC เก็บข้อมูล 2 บิต ต่อ 2 เซลล์, TLC เก็บข้อมูล 3 บิต ต่อ 3 เซล และ QLC เก็บข้อมูล 4 บิต ต่อ 4 เซล การที่หนึ่งเซลล์สามารถเก็บข้อมูลบิตได้มากขึ้น ช่วยให้ต้นทุนการผลิตไดร์ฟ SSD ลดลงไปมาก แต่ก็แลกมาด้วยอายุการใช้งานที่สั้นลง
ในการเลือก SSD มาใช้งาน หลายคนจึงเลือกที่จะใช้ SSD แบบ SLC หรือ MLC เป็นไดร์ฟหลักในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ และใช้ไดร์ฟ TLC และ QLC ไว้ติดตั้งโปรแกรม และข้อมูล
เนื่องจาก SSD มีขีดจำกัดจำนวนรอบที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ และ NAND Flash memory ก็มีการเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา ดังนั้น หากคุณมีการอ่าน-เขียนข้อมูล ปริมาณมากเป็นประจำ อายุขัยของมันก็จะสั้นลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะ SSD ในปัจจุบันนี้ทนมาก ส่วนใหญ่ค่า TBW จะอยู่ที่ประมาณ 600 TBW นั่นหมายความว่า หากคุณเขียนข้อมูลวันละ 1 TB. ทุกวัน จะใช้งานได้ถึง 600 วัน แต่ในการใช้งานตามปกติ เราคงใช้ไม่ถึงขนาดนั้นแน่ ๆ
SSD ก็มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิเฉกเช่นเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ โดยถ้าชิปภายในไดร์ฟ SSD อยู่ในอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้ NAND Flash memory เสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานของ SSD จะอยู่ที่ระหว่าง 0°C ถึง 70°C ดังนั้น การลดอุณหภูมิของตัวไดร์ฟจึงช่วยยืดอายุของ SSD ได้ ซึ่งก็ทำได้อยู่ 2 วิธีหลัก ๆ
ภาพจาก : https://www.ebay.com/itm/284450197645?
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบบไหนก็ตาม มันก็สามารถสร้างความเสื่อมสภาพให้กับไดร์ฟ SSD ได้ทั้งนั้น แต่ว่ามันจะมีข้อมูลบางประเภทที่ทำร้ายไดร์ฟได้มากกว่าไฟล์ชนิดอื่น ๆ เช่น ไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่จะมีอัตราการอ่านเขียนที่ถี่กว่าไฟล์วิดีโอขนาดเล็ก
รวมไปถึงไฟล์ที่มีการเขียนซ้ำเป็นประจำ อย่างพวกไฟล์ ล็อกของระบบ (System Log) หรือไฟล์ชั่วคราว (Temp File) ก็สามารถส่งผลเสียต่ออายุของ SSD ได้เช่นกัน
สำหรับการดูแลไดร์ฟ SSD ให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน อันที่จริง ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการดูแลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ แต่สำหรับ SSD อาจจะมีข้อควรระวังบางอย่างเพิ่มเติมขึ้น
ตอนนี้ คุณผู้อ่านก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็น SSD แบบไหน จะ SATA หรือ NVMe ก็ตาม อายุการใช้งานของมันก็ไม่แตกต่างกัน อายุขัยของมันขึ้นอยู่กับคุณภาพการผลิต, การดูแลรักษา และรูปแบบการใช้งานมากกว่า
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
15 สิงหาคม 2566 19:49:53
|
||
มีประโยชน์มากครับ
|
||