ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ระหว่าง eMMC กับ SSD ต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูล แบบไหนดี ?

ระหว่าง eMMC กับ SSD ต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูล แบบไหนดี ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 7,501
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87+eMMC+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+SSD+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

eMMC กับ SSD เลือกใช้งานไดร์ฟเก็บข้อมูลแบบไหนดี ?

การเก็บข้อมูลดิจิทัล เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนาน จากกระดาษเจาะรู Binary Punched card ที่แสนเรียบง่าย จนถึงตอนนี้ที่มีการนำ DNA มาทำเป็นไดร์ฟเก็บข้อมูลดิจิทัลกันแล้วด้วยซ้ำแม้จะยังเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นตอนการวิจัยภายในห้องแล็ปเท่านั้น แต่ถ้ากล่าวถึงเฉพาะเทคโนโลยีที่นิยมใช้เก็บข้อมูลดิจิทัลสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมกันในปัจจุบันนี้ ก็จะมี ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD), อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD และ eMMC เป็นต้น

บทความเกี่ยวกับ SSD อื่นๆ

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่า HDD อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC ก็เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ยังนิยมใช้งานกันอยู่ และบ่อยครั้งที่มีการใช้งานร่วมกับ SSD ด้วย ซึ่ง SSD และ eMMC นั้นเป็นเทคโนโลยีทีคล้ายคลึงกันมาก เราเลยอยากจะมาอธิบายความแตกต่างของ 2 เทคโนโลยีนี้ว่ามันต่างกันอย่างไร ? และควรเลือกซื้อแบบไหนมาใช้งานดี

หน่วยความจำแบบ MultiMediaCard (MMC) เป็นเทคโนโลยีเก็บข้อมูลที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท SanDisk และ Siemens พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) เดิมทีมันถูกเรียกว่า "Secure Digital (SD)" โดย MMC นั้นมีการพัฒนาออกมาหลายแพลตฟอร์ม เช่น MMC, RS-MMC, MMCplus, MMCmobile ฯลฯ กล่าวได้ว่ามันเป็นบรรพบุรุษของการ์ดความจำที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้

ระหว่าง eMMC กับ SSD ต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูล แบบไหนดี ?
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/MultiMediaCard

ในปัจจุบันนี้ เราจะไม่ค่อยเห็น MMC ในรูปแบบของการ์ดอีกต่อไป เพราะมันถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี SD และ UFS แต่ MMC ก็ยังมีการใช้งานอยู่ไม่หายไปไหน เพียงแต่ส่วนใหญ่มันจะอยู่ในแพลตฟอร์มแบบ "embedded MultiMediaCard (eMMC)" คือเป็นหน่วยความจำที่ฝังเอาไว้ในตัวฮาร์ดแวร์โดยตรง ไม่ใช่หน่วยความจำที่ถอดเข้าออกได้อีกต่อไป

สำหรับการเก็บข้อมูลของ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC จะใช้ "เทคโนโลยี NAND Flash Memory" ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่ใช้ในแฟลชไดร์ฟ, หรือการ์ดเก็บข้อมูลแบบ SD (SD Card) และอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD นั่นเอง

เนื่องจาก eMMC ในปัจจุบันนี้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก มันจึงนิยมใช้เป็นหน่วยความจำภายใน แฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive), สมาร์ทโฟน, แท็ปเล็ต หรือโน้ตบุ๊กรุ่นประหยัด แต่ก็ไม่เสมอไป อย่างเช่น Surface Go 3 หรือ Steam Deck ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ราคาค่อนข้างสูง หากเลือกรุ่นที่มีความจุเริ่มต้น 64 GB. ก็จะได้หน่วยจำแบบ eMMC

เนื้อหาภายในบทความ

ระหว่าง eMMC กับ SSD ต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูล แบบไหนดี ?
อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC ใน Steam Deck ขนาด 64 GB.
ภาพจาก : https://www.theverge.com/2022/2/15/22935171/valve-steam-deck-replacement-parts-teardown-ifixit

อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC คืออะไร ? (What is eMMC Storage ?)

สำหรับในบทความนี้ เราขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD ให้มากนัก เนื่องจากเราได้กล่าวถึงมันไปหลายครั้งแล้ว สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้ก่อนได้

เทคโนโลยีของ SSD นั้น ความจริงก็ใช้ชิป NAND Flash Memory ในการเก็บข้อมูล ซึ่งก็เหมือนกันกับที่ใช้ใน อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC หรือ SD Card เพียงแต่ว่าใน SSD จะมีจำนวนชิป NAND มากกว่า และเป็นชิปที่มีคุณภาพ และความเร็วในการทำงานสูงกว่าด้วย

นอกจากนี้ SSD ยังมีตัวควบคุม และเฟิร์มแวร์ควบคุมที่มีคุณสมบัติในการทำงานซับซ้อนกว่าด้วย อย่างเช่น SSD controller จะทำการแบ่งการเขียน/อ่านข้อมูลไปยังชิปทั้งหมดที่มี คล้ายกับการทำ RAID ซึ่งช่วยให้การอ่าน และเขียนข้อมูลทำได้เร็วกว่าเดิมมาก เฟิร์มแวร์ของ SSD ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น TRIM ที่จะช่วยยืดอายุการทำงานของชิป NAND Flash Memory ได้

ในด้านการเชื่อมต่อ SSD มีทางเลือกในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่หลายรูปแบบ เช่น SATA 3, mSATA, SATA Express, NVMe (PCIe) ฯลฯ ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟสที่สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงกว่าช่องอินเทอร์เฟสของแฟลชไดร์ฟส่วนใหญ่ แต่ที่เร็วที่สุดจะเป็น NVMe SSD ที่เชื่อมต่อผ่าน PCIe x4 

ความแตกต่างระหว่าง eMMC กับ SSD (The difference between eMMC and SSD)

ความเร็ว

eMMC

ตัวอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC เองก็มีอยู่หลายเวอร์ชัน โดยเวอร์ชันล่าสุดคือ eMMC 5.1 ที่มีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 250 MB/s และเขียนข้อมูลได้เร็วสุดที่ 125 MB/s 

มาตรฐาน ปีที่เปิดตัว Sequential
read (MB/s)
Sequential
write (MB/s)
Random
Read (IO/s)

Random
Write (IO/s)

UFS 4.0

2022 ~ 4,200 ~ 2,800 n/a n/a

UFS 3.1

2020 ~ 2,100 ~ 1,200 ~ 100,000 ~ 70,000

UFS 3.0

2019 ~ 2,100 ~ 410 ~ 63,000 ~ 68,000

UFS 2.1

2019 ~ 1,000 ~ 260 ~ 58,000 ~ 50,000
UFS 2.0 2014 ~ 350 ~ 150 ~ 19,000

~ 14,000

eMMC 5.1 2015 ~ 250 ~ 125 ~ 11,000

~ 13,000

eMMC 5.0 2013 ~ 250 ~ 90 ~ 7,000

~ 13,000

eMMC 4.5

2012 ~ 140 ~ 50 ~ 7,000 ~ 2,000

จากในตาราง เราจะเห็นว่ามีมาตรฐาน UFS เพิ่มเข้ามาด้วย UFS เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของหน่วยความจำแบบ Flash memory มันได้รับการปรับปรุงให้มีความเร็วสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับความเร็วของ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD เป็นที่นิยมใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ระดับเรือธงในปัจจุบันนี้ 

SSD

อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD เองก็มีการเชื่อมต่ออยู่หลายอินเทอร์เฟส ซึ่งแต่ละแบบก็มีความในการทำงานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ความเร็วของ SSD ยังมีความแตกต่างไปตามความจุ และประเภทของ Nand flash ที่ใช้อีกด้วย แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็จะมีค่าเฉลี่ยดังนี้

มาตรฐาน Sequential
read (MB/s)
Sequential
write (MB/s)
Random
Read (IO/s)

Random
Write (IO/s)

SATA SSD ~ 550 ~ 550 ~ 90,000

~ 100,000

M.2 SATA SSD ~ 550 ~ 550 ~ 90,000

~ 100,000

NVMe PCIe 3 ~ 3,500 ~ 3,300 ~ 620,000

~ 560,000

NVMe PCIe 4 ~ 7,500 ~ 7,000 ~1,400,000

~ 1,500,000

NVMe PCIe 5 ~ 13,000 ~ 12,000

~1,500,000

~ 1,500,000

จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกันแล้ว eMMC 5.1 ที่เร็วที่สุด ก็ยังอ่านเขียนข้อมูลได้ช้ากว่า SATA SSD ที่มีความเร็วต่ำสุดอยู่ดี 

ความจุ (Capacity)

ความจุเป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่ทำให้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC

โดย eMMC ที่ถูกผลิตขึ้นมาจะอยู่ที่ประมาณ 32 - 512 GB. แต่ที่มีให้เลือกส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 64 GB. และ 128 GB. เท่านั้น ในทางเทคนิคแล้ว มันสามารถผลิตความจุให้สูงกว่านั้นได้ก็จริง แต่เนื่องจากจำนวนชิปที่มีอยู่น้อยมาก จะทำให้เกิดปัญหาคอขวดต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูล ทำให้ eMMC นั้น ความจุยิ่งน้อยยิ่งดี

แต่ SSD จะไม่มีปัญหาดังกล่าว เพราะจากมีชิป NAND หลายตัวที่ถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมการทำงาน (Controller) พร้อมกันแบบขนาน ทำให้การเพิ่มความจุสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหาคอขวด ความจุของ SSD ที่มีการวางจำหน่ายแล้ว จึงมีตั้งแต่ 128 GB. ไปจนถึง 15.36 TB. เลยทีเดียว

ราคา (Cost)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC นั้นมีราคาค่อนข้างถูกมาก เริ่มต้นอยู่ที่หลักสิบถึงหลักร้อยเท่านั้น ในขณะที่ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD นั้นตามปกติแล้วก็จะมีราคาสูงกว่าเล็กน้อย

การใช้งาน

ตามปกติแล้ว อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD จะนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลแบบถาวร อย่างในคอมพิวเตอร์, เครื่องเกมคอนโซล หรือฮาร์ดไดร์ฟภายนอก แต่ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC นั้น มักจะพบในคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด หรือในแฟลชไดร์ฟ ด้วยความจุที่ค่อนข้างน้อย เลยมักถูกใช้เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลแบบชั่วคราวเท่านั้น


สุดท้ายแล้ว จะเลือกใช้งานอะไรก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ eMMC อาจจะมีคุณสมบัติที่แย่กว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD ก็จริง แต่ในแง่ของราคามันก็เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้ว หากเลือกได้ SSD ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะ eMMC มักจะติดตั้งฝังมากับตัวเมนบอร์ดเลย ทำให้ยากต่อการอัปเกรดเพิ่มความจุในภายหลัง ในขณะที่ SSD นั้นมักจะออกแบบมาถอดเปลี่ยนได้ง่าย ๆ


ที่มา : www.makeuseof.com , www.windowscentral.com , www.cdw.com , www.differencebetween.info , www.howtogeek.com , www.dignited.com , www.techtarget.com , en.wikipedia.org , news.samsung.com , th.mouser.com , www.utmel.com , www.gamingpcbuilder.com

0 %E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87+eMMC+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+SSD+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น