หากพูดถึง เทคโนโลยี 5G นั้น ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการสื่อสาร และการเชื่อมต่อแบบไร้สายอย่างมหาศาล นำเสนอความเร็ว และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น แต่การพัฒนาเทคโนโลยีไม่เคยจะหยุดนิ่ง 5G ที่เราใช้กันมาหลายปี ก็ถึงเวลาที่เราจะขยับไป 6G กันแล้ว แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น มันมีอีกก้าวที่สำคัญต่อการเปลี่ยนผ่าน และสิ่งนั้นก็คือเทคโนโลยี 5G-Advanced หรือว่า 5.5G
5G-Advanced มีคุณสมบัติใหม่อะไรที่น่าสนใจบ้าง ? และมันจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ? มาทำความรู้จักกับเครือข่ายนี้กัน ...
ก่อนจะพูดถึง 5G-Advanced คิดว่าเราควรมาทำความรู้จักกับกลุ่ม 3GPP กันก่อน
สมาคมมาตรฐาน 3rd Generation Partnership Project (3GPP) เป็นพันธมิตรองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารรายใหญ่ 7 องค์กร จากทั่วทุกมุมโลก ประกอบไปด้วย
ชื่อองค์กร | ประเทศ |
---|---|
Association of Radio Industries and Businesses (ARIB) | ญี่ปุ่น |
Alliance for Telecommunications Industry Solutions (ATIS) | สหรัฐอเมริกา |
China Communications Standards Association (CCSA) | จีน |
European Telecommunications Standards Institute (ETSI) | ยุโรป |
Telecommunications Standards Development Society (TSDSI) | อินเดีย |
Telecommunications Technology Association (TTA) | เกาหลีใต้ |
Telecommunication Technology Committee (TTC) | ญี่ปุ่น |
องค์กรนี้เป็นผู้ที่คอยควบคุมดูแลมาตรฐานการสื่อสารของอุปกรณ์พกพา โปรโตคอล (Protocol) หลายตัวที่เราใช้งานกันในปัจจุบันนี้ ก็มาจากการพัฒนา และกำกับดูแลโดยกลุ่ม 3GPP นี่แหละ ที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น
มาตรฐานจาก 3GPP ได้มีการ "Release" (ปล่อย) ออกมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมาตรฐาน 5G นั้นมาใน Release 15 ตอนช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ในช่วงเริ่มต้นมันอนุญาตให้ระบบวิทยุ (Radio System) ทำงานร่วมกับเครือข่ายยุคก่อนหน้าอย่าง LTE ได้ เพื่อให้สัญญาณ 5G มีพื้นที่ครอบคลุม รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ LTE ให้ดีขึ้น
ภาพจาก : https://www.3gpp.org/specifications-technologies/releases/release-15
จากนั้นก็มีการ Release 16 และ Release 17 ตามมา ที่มีการปรับปรุงการทำงานหลายอย่าง เช่น Multimedia Priority Service, เข้าถึงดาวเทียม 5G ได้, รองรับ เครือข่าย LAN , โปรโตคอลด้านความปลอดภัย ฯลฯ
คำว่า "5G-Advanced" ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) โดยทาง 3GPP เรียกมันว่าเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างมาตรฐาน 5G กับมาตรฐาน 6G ในการอัปเดต Release 18
หลังจากนั้นไม่นาน บริษัท Huawei ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย 5G รายใหญ่ ได้ออกมาประกาศความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี 5G-Advanced อย่าง Extremely Large Antenna Arrays (ELAAs) ที่รองรับความเร็วสูงถึง 10 Gigabit, รองรับ Flexible Spectrum และ Passive IoT
ภายในงานสัมมนา 5G-Advanced ที่งาน MWC Shanghai 2023 ประธาน ICT Products & Solutions ของ Huawei จะเริ่มเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G ในเชิงพาณิชย์แบบครบวงจร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานเครือข่าย 5.5G ในอนาคต
ซึ่งก็ไม่ได้แค่บริษัท Huawei เท่านั้น ยังมี Nokia, Ericsson, Samsung, ZTE, Cisco, Qualcomm และ Intel ต่างก็เข้ามาแข่งขันในตลาดที่กำลังเติบโตนี้อย่างดุเดือด
ความเปลี่ยนแปลงจาก 5G เป็น 5G-Advanced สิ่งที่ผู้ใช้จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนคือ วิธีการส่งสัญญาณแบบใหม่ที่ส่งผลให้อัตราการส่งข้อมูลสำหรับการอัปโหลด และดาวน์โหลดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดเวลาการขัดจังหวะเมื่อมีการเปลี่ยนเสาสัญญาณ หรือสูญเสียสัญญาณชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุง Massive MIMO ที่ช่วยเพิ่มการรองรับของเครือข่ายโดยรวม
Massive MIMO (Massive Multiple Input Multiple Output) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักในเครือข่าย 5G ที่ช่วยให้ความจุของเครือข่ายมือถือขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เสาอากาศขนาดใหญ่สามารถรองรับการเชื่อมต่อพร้อมกันจำนวนมากได้สูงขึ้น ช่วยรับมือกับจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5G-Advanced ยังช่วยให้การทำงานของ เทคโนโลยี XR (Extended Reality) ดีขึ้น การเชื่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพ และโลกดิจิทัลจะมีความต่อเนื่องราบรื่นกว่าเดิม อื่น ๆ ที่น่าสนใจก็อย่างเช่น
คุณสมบัติ | 5G | 5G-Advanced |
---|---|---|
ความเร็วดาวน์โหลด | สูงสุด 1 Gbps | สูงสุด 10 Gbps |
ความเร็วอัปโหลด | สูงสุด 1 Gbps | สูงสุด 1 Gbps (ค่าเฉลี่ยสูงขึ้น) |
ต่ำ | ต่ำมาก | |
การเชื่อมต่อ | รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมาก | รองรับการเชื่อมต่อมากขึ้นกว่าเดิม |
ความครอบคลุม | ระยะห่างจากเสาสัญญาณต่ำ | กว้างขึ้นเพราะรองรับสัญญาณจาก |
ประสิทธิภาพพลังงาน | มาตรฐานปกติ | "0 บิต 0 วัตต์" ประหยัดพลังงานขึ้น |
การสตรีมมิ่ง | 4K | 8K โดยไม่ต้องรอบัฟเฟอร์ |
ประสิทธิภาพการเล่นเกม | รองรับ เทคโนโลยีคลาวด์ | ดีเลย์น้อยกว่าเดิม |
มาตรฐานเทคโนโลยี | 3GPP Release 15-17 | 3GPP Release 18 |
การเปลี่ยนผ่าน | ต้องอัปเกรดอุปกรณ์ | ปรับคลื่นอัตโนมัติหากว่าอุปกรณ์ |
ในขณะที่เขียนบทความนี้ มีสมาร์ทโฟนที่รองรับเครือข่าย 5.5G ได้แล้ว แต่ก็ยังมีเพียงแค่ไม่กี่รุ่นเท่านั้น เช่น
|
|
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ VIVO X Fold 3, VIVO X100 Series และ iQOO 12 ไม่ได้รองรับคลื่น 5.5G ตั้งแต่แรก แต่ว่าฮาร์ดแวร์รองรับ และสามารถใช้งานได้ในภายหลังจากที่อัปเดตผ่าน OTA
บางรุ่นอย่าง OnePlus 13 และ 13R ก็ใช้งาน 5.5G ได้เฉพาะในเครื่องเวอร์ชัน Global เท่านั้น ในขณะที่ OPPO Find X7, X7 Ultra และ HONOR Magic 6 series ใช้งานได้เฉพาะเครื่องที่ขายในประเทศจีนเท่านั้น
สำหรับประเทศไทย นี่ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่ต้องรอนาน เพราะ กสทช. เตรียมประมูลคลื่นใหม่เพื่อนำมาใช้ทำ 5.5G หรือ 5G-Advanced แล้ว เรามีสิทธิ์ได้ใช้งานมันภายในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568)
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |