ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

IoT คืออะไร ? อุปกรณ์แบบไหนเรียก IoT (Internet of Things) ?

IoT คืออะไร ? อุปกรณ์แบบไหนเรียก IoT (Internet of Things) ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 78,119
เขียนโดย :
0 IoT+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81+IoT+%28Internet+of+Things%29+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

IoT คืออะไร ? อุปกรณ์แบบไหนเรียก IoT ?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นและคุ้นเคยกับคำว่า "IoT (Internet of Things)" กันมาบ้างแล้ว เพราะทุกวันนี้อุปกรณ์ IoT ก็ได้เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตและการทำงานของเราจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่แน่ใจว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้งานกันอยู่เป็นประจำนั้นเป็นอุปกรณ์ IoT หรือไม่ ? และเจ้าอุปกรณ์ IoT ที่ว่านี้มีกี่ประเภทและมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ดังนั้นเราจึงรวบรวมคำตอบของสิ่งที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ IoT มาไว้ในบทความนี้แล้ว

บทความเกี่ยวกับ IoT อื่นๆ

เนื้อหาภายในบทความ

 

IoT คืออะไร ? มีหลักการทำงานอย่างไร ?

IoT หรือที่ย่อมาจากคำว่า “Internet of Things” ในภาษาไทย ถ้าแปลตรง ๆ เลยก็คือ "อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หรือ "อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง" (แล้วแต่จะเรียก) นั้นคำอธิบายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีตัวประมวลผล, ตัวรับสัญญาณ, ซอฟต์แวร์ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อุปกรณ์ IoT คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.tibco.com/reference-center/what-is-the-internet-of-things-iot

และเนื่องจากแกนหลักของการควบคุมและใช้งานอุปกรณ์ IoTนั้นอยู่ที่ I หรือ Internet ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงต้องพึ่งพาสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการรับ - ส่ง, จัดเก็บ หรือประมวลผลและจัดการข้อมูลต่าง ๆ ภายในระบบตามคำสั่งที่มนุษย์ป้อนลงไป โดยอาจมีการทำงานแบบ M2M (Machine to Machine) หรือ M2H (Machine to Human) ก็ได้ และอุปกรณ์ IoT บางอย่างก็รองรับการสั่งงานจากระยะไกล (Remote) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกันได้ด้วยเช่นกัน

โดยอุปกรณ์ IoT แต่ละตัวจะมี “เซนเซอร์ (Sensor)” เพื่อตรวจจับ, รับ และปล่อยสัญญาณของข้อมูลไปยังระบบ Cloud ผ่านทางบลูทูธ, Wi-Fi, สัญญาณดาวเทียม, สัญญาณมือถือ หรือ LPWAN (Low Power Wide Area Networks) หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยตรง

และเมื่อได้รับ “ข้อมูล” เป็นที่เรียบร้อย ซอฟต์แวร์ภายในก็จะทำการประมวลผลสิ่งที่ได้รับและแสดงผลต่าง ๆ ออกมาตามที่ระบบได้ประมวลผลไว้ เช่น การสแกน รหัสคิวอาร์ (QR Code) เพื่อชำระเงินผ่านตู้สินค้า หากไปซื้อของและเลือกชำระเงินแบบ Self-Checkout ที่ตู้คิดเงิน เมื่อยิงบาร์โค้ดสินค้าทั้งหมดแล้วกดชำระเงินโดยการจ่ายด้วย QR Code ระบบก็จะประมวลผลและแสดงผล QR Code ที่สามารถยกมือถือขึ้นมาสแกนเพื่อชำระเงินได้ เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม : Barcode และ QR Code คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?

หลักการทำงานของ IoT
ภาพจาก : https://internetofthingsagenda.techtarget.com/definition/Internet-of-Things-IoT

อุปกรณ์ IoT มีกี่ประเภท ? และอุปกรณ์แบบไหนเรียกว่าอุปกรณ์ IoT ?

อุปกรณ์ IoT ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Smart Devices หรือ Connected Devices ดังนั้นแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีชื่อคำว่า “Smart” รวมอยู่ในชื่ออุปกรณ์ก็นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์ IoT ทั้งสั้น ซึ่งเราจะสามารถแบ่งประเภทของอุปกรณ์ IoT ได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

1. อุปกรณ์ IoT ที่นิยมใช้งานในหมู่ผู้ใช้ทั่วไป
(Consumer Internet of Things)

หรืออุปกรณ์ IoT สำหรับการใช้งานส่วนตัวหรือการใช้สอยภายในบ้าน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของเราเป็นไปด้วยความราบรื่นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยส่วนมากแล้วอุปกรณ์ IoT ชนิดนี้มักมีอายุการใช้งานที่สั้นและมีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ

 อุปกรณ์ IoT ที่นิยมใช้งานในหมู่ผู้ใช้ทั่วไป (Consumer IoT)
ภาพจาก : https://www.venafi.com/sites/default/files/styles/823x390/public/content/blog/2021-03/Top%2010%20IoT%20Vulnerabilties%20.jpg?itok=FLmpp7TU

ตัวอย่างอุปกรณ์ Consumer IoT เช่น PC, Tablet, Smartphone, Smart Watch, Gadget, Router Wi-Fi, Smart TV, Smart Car รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในตระกูล Smart Home หลอดไฟ, ตู้เย็น, แอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านชนิดอื่น ๆ ที่สามารถสั่งการผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือเองก็นับเป็นอุปกรณ์ IoT ด้วยเช่นกัน

2. อุปกรณ์ IoT เชิงพาณิชย์
(Commercial Internet of Things)

เป็นอีกหนึ่งประเภทของอุปกรณ์ IoT ที่พบได้บ่อย โดยมันจะต่างจาก Consumer IoT ตรงที่มันจะเป็นอุปกรณ์ที่เราพบเห็นได้ภายนอกบ้าน เช่น ภายในห้างร้าน, โรงแรม, โรงพยาบาล, หรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ มักเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตภายนอกบ้าน

ตัวอย่างอุปกรณ์ Commercial IoT ได้แก่ ป้ายไฟ/จอทีวีโฆษณา, ไฟจราจร, ระบบการจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน, ระบบขนส่งสาธารณะที่รองรับการใช้งาน Smart Card, อุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์เสริมความงามที่นำเอาเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจวินิจฉัยและรักษาคนไข้ รวมไปกล้องตรวจจับความเร็วและกล้องวงจรปิดเองก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ IoT ด้วย

Commercial IoT (อุปกรณ์ IoT เชิงพาณิชย์)
ภาพจาก : https://ubidots.com/blog/iot-consumer-vs-commercial-vs-industrial-main-overview/

3. อุปกรณ์ IoT ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
(Industrial Internet of Things)

สำหรับ IIoT หรืออุปกรณ์ IoT ที่ใช้ในภาตอุตสาหกรรม นั้นเป็นอุปกรณ์ IoT ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเชื่อมต่อและควบคุมเครื่องจักรต่าง ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการทำงานและลดปัญหาจุกจิกที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แรงงานมนุษย์ในการผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ช่วยทุ่นแรงมนุษย์และควบคุมคุณภาพสินค้า ทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

และนอกจากนี้ยังมีการใช้งาน ระบบคลาวด์ (Cloud Computing) เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบและสามารถเรียกใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย อุปกรณ์ IoT ประเภทนี้มักมีขนาดใหญ่และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าอุปกรณ์ IoT รูปแบบอื่น ๆ 

IIoT (อุปกรณ์ IoT ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม)
ภาพจาก : https://www.passionateinmarketing.com/wp-content/uploads/2021/08/Industrial-IOT.png

ตัวอย่างอุปกรณ์ IIoT เช่น แขนกลที่ใช้ในโรงงานผลิต, สายพาน, เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ, ระบบ Cloud, ระบบจัดการเครื่องจักรต่าง ๆ ภายในโรงงาน เป็นต้น

ข้อดี - ข้อเสียของอุปกรณ์ IoT

ข้อดีของอุปกรณ์ IoT

  1. ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต เพิ่มทางเลือกในการใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
  2. อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้แบบอัตโนมัติ ไม่เสียเวลาในการโอนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์
  3. การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ลดความผิดพลาดที่อาจเกินจากการทำงานของมนุษย์เพราะใช้งานเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวเพราะเครื่องจักรสามารถทำงานได้แบบไม่หยุดพัก

ข้อดี - ข้อเสียของอุปกรณ์ IoT
ภาพจาก : https://cdn.ttgtmedia.com/rms/onlineimages/iota-advantages_and_disadvantages-f_mobile.png

ข้อเสียของอุปกรณ์ IoT

  1. สามารถใช้งานได้เฉพาะบนพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมทั่วถึงเท่านั้น
  2. ความปลอดภัยของข้อมูลตำ เนื่องจากข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บเอาไว้บนระบบ Cloud ทำให้เสี่ยงต่อการถูก Hack ข้อมูลหากไม่ได้มีการเข้ารหัสข้อมูลที่ซับซ้อน

ที่มา : www.zdnet.com , www.electronicdesign.com , www.oracle.com , us.norton.com , optiware.com , behrtech.com , ubidots.com

0 IoT+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81+IoT+%28Internet+of+Things%29+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
22 พฤศจิกายน 2566 14:46:02
GUEST
Comment Bubble Triangle
B - COM
กกก