รู้จักกับ แผ่นดินไหว
ที่มาของภาพ https://www.seismology.tmd.go.th/eqp.html
ภัยแผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่ยัง ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้น ตอนนี้สิ่งที่ทำได้ก็คือ การเฝ้าระวัง ด้วยการใช้เทคโนโลยี และความรู้ในการตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐาน ปัจจุบันหน่วยงานที่มีระบบเครื่อข่ายตรวจความสั่นสะเทือนในระดับชาติและเป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ในการตรวจและวิเคราะห์แผ่นดินไหวทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล
การเฝ้าระวังผ่านเว็บไซต์
ข้อความจากเว็บไซต์ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ย้ำว่า แม้ว่าจากสถิติในอดีตประเทศไทยจัดว่าอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ ของโลก แต่มิได้หมายความว่า ประเทศไทยปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหว ยิ่งเกิดแผ่นดินไหวช่วงนี้ ทำให้เราตื่นตัวเรื่องแผ่นดินไหวเพราะเห็นภาพความเสียหายมากมาย
สิ่งที่เราทำได้ ก็คือการ "เฝ้าระวัง" ผ่านเว็บไซต์ และแอป ซึ่งไม่ใช่การแจ้งเตือน แต่เป็นการเฝ้าระวัง โดยดูจากสถานที่เกิดเหตุแผ่นดิวไหวล่าสุด ระยะห่างของที่เกิดเหตุกับสถานที่เราอยู่ เพื่อเฝ้าระวังแผ่นดินไหว เพราะเรารู้แล้วว่า แผ่นดินไหวไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้
ในหน้า FAQ ของ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าไว้ตามภาพครับ
อ้างอิง https://www.seismology.tmd.go.th/home.html และ https://www.seismology.tmd.go.th/faq.html
ที่มาของภาพ https://www.seismology.tmd.go.th/inform.html
จากการค้นหาข้อมูลพบว่า ในประเทศไทยนั้นก็มีการตื่นตัวเรื่องการเฝ้าระวังแผ่นดินไหว เพราะบ้านเราก็เคยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวแบบรู้สึกถึงความสั่นไหวมาแล้วในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด โดยมีเว็บไซต์แจ้งข้อมูลรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน ที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหว มีการตั้ง TMD Call Center โทร. 1182 กด 0 กด 4
สายด่วนแผ่นดินไหว โทร. 02-366-9410 , 02-399-0969 , 02-399-4547 และมี Facebook & Twitter ให้ติดตาม facebook.com/EarthquakeTMD
เทคโนโลยีการตรวจวัดโดยใช้เสียงบอกขนาดหรือ Magnitude Alert แจ้งเหตุแผ่นดินไหว สังเกตในภาพจะมี เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เอกวาดอร์ และญี่ปุ่น
อีกเว็บไซต์คือ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สอบถามเรื่องแผ่นดินไหวโทร : 0-2399-4114 , 0-2399-1128 เว็บไซต์ www.ndwc.go.th
อีกเว็บไซต์เป็นลักษณะ Blog แต่ที่น่าเชื่อถือเพราะเขาใช้ twitter ในการรายงานมาหลายปีแล้ว ผ่านเหตุการณ์ สึนามิ และแผ่นดินไหวมากมาย twitter @mrvop แนะนำติดตามบน Twitter จะไวกว่า และมีการรวบรวมอัพเดตไว้ที่ เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com
การเฝ้าระวังผ่านแอปฯ
การเฝ้าระวังผ่านแอปพลิเคชัน "ปลาอานนท์" (แอปของคนไทย)
ทางภาควิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำ แอปพลิเคชันแจ้งเตือนเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย สำหรับอุปกรณ์ Android ใช้ชื่อว่า “ปลาอานนท์แอปพลิเคชัน” หรือ “Earthquake Thailand” ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาโดยตรง จากภาพจะเห็นจุดที่เกิดแผ่นดินไหวที่พม่า ระบุตำแหน่งระยะทางห่างจากจุดที่เราอยู่
แอป NDWC แจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ รวมไปถึงการเฝ้าระวังแผ่นดินไหว จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
นอกจากนี้มีฟีเจอร์บนสมาร์ทโฟน (ไม่ใช่แอป) ชื่อ Geo News บน Samsung Galaxy S5 เมื่อหลายปีก่อน
บริการนี้อยู่ในกลุ่ม Safety assistance สามารถแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ ได้ ค้นหาข้อมูลพบว่า Safety assistance มีบน Samsung Galaxy S4 / Galaxy S5 / Note 3 / Grand 2 Duos / Samsung Galaxy Alpha และ Samsung Galaxy Note Edge ส่วน Note 5, S6, S7 & S7 edge ไม่พบคุณสมบัตินี้) โปรดตรวจสอบรุ่นของโทรศัพท์ที่รองรับจากผู้ผลิตอีกครั้ง
อ้างอิง https://www.samsung.com/ca/support/skp/faq/1072920
และ https://www.samsung.com/ie/support/skp/faq/1061356
นอกจากนี้ยังมีสมาร์ทโฟนบางแบรนด์อย่างเช่น i-mobile ที่มีระบบแจ้งเตือนภัยผ่านมือถือ
และนี่คือช่องทางในการ ติดตาม เฝ้าระวัง แผ่นดินไหว ทั่วโลก และในประเทศไทยครับ สะดวกช่องทางไหนก็เลือกใช้งานตามสะดวกได้เลยจ้า
|