ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Software License หรือ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ คืออะไร และ มีกี่ชนิด ?

Software License หรือ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ คืออะไร และ มีกี่ชนิด ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 487,370
เขียนโดย :
0 Software+License+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Software License หรือ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ คืออะไร และมีกี่ชนิด ?

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนเพื่อให้ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือศัพท์เทคนิคเรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งโดยปกติซอฟต์แวร์ทั้งหมดล้วนมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การจะนำมาใช้งานต้องเกิดจากการยินยอมของผู้พัฒนา ซึ่งผู้พัฒนาจะมอบสัญญาอนุญาตให้สิทธิ์การใช้งานแก่ผู้ใช้ โดยสัญญาเหล่านั้นมักเรียกทับศัพท์กันว่า ซอฟต์แวร์ไลเซนซ์ (Software License) 

บทความเกี่ยวกับ Software อื่นๆ

สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ หรือ Software License คือเอกสิทธิ์ที่ให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีสิทธิ์ควบคุมการใช้ หรือเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่เป็นเจ้าของได้ ซึ่งผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา ไม่สามารถนำไปทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลงเพื่อหากำไรได้ หรือการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่มีเอกสิทธิ์สามารถกำหนดข้อจำกัด และข้อตกลงกับผู้ใช้ได้ (License Agreement) เช่นมีไว้ขายให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ (Commercial Software) หรือมีไว้ให้ใช้ฟรี (Freeware) เป็นต้น

โดยซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างเดียว เพราะบางซอฟต์แวร์ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี แต่บางซอฟต์แวร์ก็มีข้อจำกัดเรื่องการใช้งาน หรืออายุการใช้ที่ถูกจำกัดไว้โดยผู้พัฒนา ซึ่งประเภทของสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ มีอยู่หลายตัวมาก แต่ละ License ก็ยังไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงสามารถแบ่งได้เป็นประเภทหลักๆ ตามเงื่อนไขการใช้งานดังต่อไปนี้

เนื้อหาภายในบทความ

  1. Public-domain Software (ซอฟต์แวร์สาธารณะ)
  2. Proprietary Software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์)
  3. Commercial Software (ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์)
  4. Demo (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้)
  5. Freeware (ซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์แจกฟรี)
  6. Shareware (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้อีกรูปแบบ)
  7. Open Source Software (ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด)

Public-domain Software (ซอฟต์แวร์สาธารณะ)

Public-domain software (ซอฟต์แวร์สาธารณะ) เป็นหนึ่งในประเภทสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือหมดอายุการคุ้มครองสิทธิ์ไปแล้ว เป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่สามารถแก้ไข แจกจ่าย หรือจำหน่ายได้โดยไม่ต้องอ้างอิงที่มา ส่วนมากเป็นโปรแกรมที่เก่า ถูกเผยแพร่ในยุคที่กฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่มีการคุ้มครองเรื่องของซอฟต์แวร์ หรือประเทศที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่นพวกโปรแกรม "ELIZA" ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) หรือเกม "Spacewar!" ในปี ค.ค. 1962 (พ.ศ. 2505)

สไลด์รูปภาพ

 Public-domain softwarePublic-domain software

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/

Proprietary Software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์)

Proprietary Software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์) เป็นซอฟต์แวร์ใดก็ตามที่มีลิขสิทธิ์ และมีข้อจำกัดในการใช้งาน, แจกจ่าย หรือดัดแปลง ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาและผู้ขายจะเป็นผู้กำหนด เพราะซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์นั้นยังเป็นทรัพย์สินของเจ้าของโดยตรง โดยผู้ใช้งานหรือองค์กรต้องใช้ซอฟต์แวร์ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น

ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ ส่วนมากจะมีลักษณะเหมือนซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ที่สามารถเช่า ซื้อ หรือ ขายไลเซนส์ได้ และจะไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดให้แก่ผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์ดัง ๆ ส่วนมากจัดอยู่ในประเภทซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ทั้งนั้น เช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRAR หรือ โปรแกรมพูดคุย Skype และระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เป็นต้น

ซึ่งข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ถูกกำหนดโดยผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์นั้น จะมีอธิบายไว้ในข้อตกลงสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้ หรือ End-user license agreement (EULA) และ Terms of service agreement (TOS) ที่เราไม่เคยได้อ่านระหว่างกำลังจะติดตั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ นั่นเอง และถ้าเราละเมิดข้อตกลงเหล่านั้นก็ถือเป็นการทำผิดสัญญาอนุญาต หรือ ไลเซนส์ ที่ได้รับนั่นเอง

Commercial Software (ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์)

Commercial Software (ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์) คือซอฟต์แวร์ที่จัดทำเพื่อขาย หรือวัตถุประสงค์ทางการค้าเท่านั้น เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถเช่า หรือซื้อไลเซนส์จากทั้งตัวแทนขาย และผู้พัฒนาได้ โดยที่ผู้พัฒนาหรือผู้ขายมักจะออกแบบเงื่อนไขของการใช้งานให้กับผู้ซื้อว่าจะให้นำไปใช้ทำอะไร, จำกัดจำนวนผู้ใช้เท่าไหร่ ,ตัดทอนฟีเจอร์อะไรบ้าง หรือถ้าเป็นชุดซอฟต์แวร์ ก็จะมีการจำกัดจำนวนซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้ นอกจากนี้แต่ละไลเซนส์ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป และแน่นอนว่าไม่สามารถทำซ้ำ หรือแจกจ่ายได้

สำหรับตัวอย่างที่เราเห็นก็มีอยู่ในซอฟต์แวร์ดังๆ เช่น สินค้า Microsoft อย่าง โปรแกรม Microsoft 365 (ชื่อเดิม : Office 365) และ ระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เหล่านี้มักทำออกมาขายเป็นแพ็กเกจสำเร็จรูป เช่น

  • สำหรับใช้คนทั่วไป (For Home or Personal Use)
  • สำหรับใช้ในองค์กรธุรกิจ (For Business or Organization Use)
  • สำหรับใช้ในสถาบันการศึกษา (For Education or Academic Use)

อย่างพวก โปรแกรมขายหน้าร้าน (POS Software) หรือ โปรแกรมบัญชี (Accounting Software) และโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) ก็ถือเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ เช่นกัน 

บางรายงานบอกว่า ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ จริง ๆ ก็คือซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกต่างกันไปแล้วแต่บริษัท อย่างที่ Microsoft เองก็เรียกซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ ของตัวเองว่าเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ เพื่ออธิบายถึงโมเดลธุรกิจซอฟต์แวร์ของตัวเองว่าเป็นการจัดทำเพื่อเชิงพาณิชย์นั่นเอง

Commercial Software

Demo (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้แบบจำกัดความสามารถ)

Demo (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้) คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ ไม่จำกัดเวลา แต่ฟังก์ชันบางอย่างจะถูกปิดเอาไว้ ก่อนเราจะซื้อตัวเต็มมาใช้ ซึ่งในเวอร์ชัน Demo จะไม่จำกัดฟังก์ชันการใช้งานที่น่าเกลียดเกินไป เรายังสามารถใช้ฟังก์ชันหลักๆ ของโปรแกรมได้ไม่จำกัด เช่นพวก โปรแกรมจำลองไดร์ฟ Daemon Tool หรือโปรแกรมจำลอง Drive แผ่น DVD/CD เป็นต้น

แต่ถ้า Demo มาในรูปแบบของเกม ก็จะถูกจำกัดในเรื่องของด่านเอาไว้ เช่นเกมนี้มี 10 ด่าน แต่ตัว Demo อาจจะออกมาให้เล่นเรียกน้ำย่อยกันก่อนแค่ 2 ด่านแรก และถ้าอยากเล่นด่านที่เหลืออีก 8 ด่าน ก็ต้องเสียเงินซื้อเกมตัวจริง เป็นต้น

Freeware (ซอฟต์แวร์เสรี)

Freeware (ซอฟต์แวร์เสรี) คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ซึ่งผู้ใช้ไม่ได้รับอนุญาตให้ดัดแปลง แก้ไข หรือนำไปขายเพื่อหากำไร แต่ส่วนมากผู้พัฒนามักทำ Freeware ออกมาคู่ขนานกับซอฟต์แวร์ตัวเดียวกับที่เป็น เวอร์ชันเสียเงิน พูดง่ายๆ ก็คือ ทำมาล่อให้เราติดใจเพื่อจ่ายเงินซื้อของที่ดีกว่าหลายเท่าตัว โดยเรามักเห็นได้ในพวกโปรแกรม แอนตี้ไวรัส หรือ โปรแกรมดูหนังฟังเพลง GOM Player หรืออื่นๆ  

ข้อมูลเพิ่มเติม : Freeware คืออะไร ? Freeware คือโปรแกรมฟรี จริงหรือไม่ และ มีข้อตกลงการใช้งานอย่างไร ?

Shareware (ซอฟต์แวร์ทดลองแบบจำกัดการใช้งาน)

Shareware (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้อีกรูปแบบ) คือ โปรแกรมที่ผู้พัฒนา สามารถแจกจ่ายได้ทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ก้ำกึ่งระหว่าง Freeware และ Commercial อาจจะคล้ายกับ Demo คือให้ใช้ได้ฟรี แต่จะมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา เช่น 15 วัน หรือ 30 วัน และบางซอฟต์แวร์อาจมีจำนวนฟังก์ชันที่ไม่ครบ และอาจจะมีโฆษณาเข้ามากวนใจด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม : Shareware คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? และ Shareware มีประโยชน์อย่างไรกับผู้ใช้งานบ้าง ?

Shareware
รูปจาก https://www.123rf.com/stock-photo/shareware.html

ซึ่งถ้าอยากจะใช้แบบไม่ติดเงื่อนไข ก็ต้องซื้อตัวเต็ม ส่วนมากจะพบเห็นได้ในโปรแกรม อย่าง โปรแกรมดูหนัง PowerDVD หรือ โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด Internet Download Manager (IDM) จุดสังเกตที่เราดูได้ว่าเป็น Shareware คือหน้าดาวน์โหลด ผู้พัฒนามักเขียนไว้ว่า Trial Free (หรือ Trial Version) ซึ่งก็แสดงว่าเป็น Shareware ไม่ใช่ Demo ที่จำกัดฟีเจอร์

Open-Source Software (ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด)

Open-Source Software (ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด) คือ ซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรีเช่นเดียวกับ Freeware แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ซอร์สโค้ดของโปรแกรมได้อย่างอิสระ จะเอาไปต้มยำทำแกงอะไรก็ได้ เช่น นำโค้ดไปสร้างโปรแกรมใหม่อีกโปรแกรมหนึ่งและแจกจ่ายหรือขายต่อ เป็นต้น (ระบบ Android ก็เป็น Open Source) 

แต่ทั้งนี้การนำไปเสริมแต่ง และใช้งานต้องอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกันกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ เพราะซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักมีองค์กรคอยควบคุม ในการรวบรวมพัฒนาการที่ผู้ใช้ทำเอาไว้ และจับมารวมกันเป็นเวอร์ชันใหม่ นั่นเอง เขาก็ไม่ได้ปล่อยให้ใช้ตามใจชอบทุกอย่าง

ข้อมูลเพิ่มเติม : Open-Source Software คืออะไร ? โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ ต่างจาก ซอฟต์แวร์ ชนิดอื่นๆ อย่างไร ?

ตัวอย่างของ Open Source Software ที่เราเห็นคือ ระบบปฏิบัติการ Linux หรือ โปรแกรมบีบอัดไฟล์ 7-Zip และ โปรแกรมรับส่งไฟล์ FileZilla เป็นต้น 

นอกจากนี้สัญญาของ Open Source ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายแบบด้วยกัน ซึ่งในแต่ละแบบ ความแตกต่างอยู่ที่เงื่อนไขของการปรับแต่งซอร์สโค้ดที่ต้องอยู่ภายใต้สัญญาเดียวกัน ถ้ามีการส่งต่อ เช่น

  • GPL-GNU (General Public License) เอามาใช้ได้ฟรี ปรับแต่งแล้วเอามาขายได้ แต่ต้องให้ Source code กับลูกค้า
  • LGPL (Lesser General Public License) ใช้ได้ฟรี ปรับแต่งแล้วไปขายต่อ ไม่จำเป็นต้องแจก source code ในส่วนที่เราพัฒนาเอง แต่ของเดิมต้องเปิดเผยให้ลูกค้า
  • BSD (Berkeley Software Distribution License) และ MIT (Massachusetts Institute of Technology License)
    • สามารถใช้ได้ฟรี
    • ขายต่อ ไม่จำเป็นต้องแจก Source code
    • ต้องมีการระบุ License Agreement ลงไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของงานด้วย

Open Source Software
ภาพจาก https://soldecom.com/why-open-source-matters/

สรุปเกี่ยวกับ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ 

สุดท้ายแล้วการทำความเข้าใจเรื่องของสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคน คงสับสนกันอยู่มากมาย เพราะเรื่องของกฎหมายมีความซับซ้อนและมีข้อกำหนดที่ละเอียดยิบย่อยเต็มไปหมด แต่อย่างน้อยวันนี้ก็หวังว่าทุกคนจะสามารถทำความเข้าใจกับซอฟต์แวร์ที่ตัวเองใช้อยู่ได้บ้าง ว่าตอนนี้ใครใช้ซอฟต์แวร์อะไรอยู่ และซอฟต์แวร์ของทุกคนที่ใช้อยู่นั้น ตรงตามเงื่อนไขสัญญาอนุญาตที่ผู้พัฒนากำหนดไว้ให้หรือเปล่า


ที่มา : en.wikipedia.org , www.upcounsel.com , sites.google.com , rsjattheopenuniversity.altervista.org , en.wikipedia.org , soldecom.com , www.techopedia.com , www.it.miami.edu , myopensourcevsproprietarysoftware.blogspot.com

0 Software+License+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7
30 พฤษภาคม 2564 23:48:27
GUEST
Comment Bubble Triangle
สมชาบ
ฟังเพลง
11 มิถุนายน 2564 15:55:02
GUEST
Comment Bubble Triangle
sunthri
อยากพิมพ์งาน
 
 
ความคิดเห็นที่ 6
29 พฤษภาคม 2564 01:57:17
GUEST
Comment Bubble Triangle
boy
ขอบคุณครับ
 
ความคิดเห็นที่ 5
1 กุมภาพันธ์ 2564 14:09:39
GUEST
Comment Bubble Triangle
chet
ขอขอบคุณครับ ที่นำความรู้สาระ มาลงให้ได้รับทราบ ครับ"
 
ความคิดเห็นที่ 4
17 มกราคม 2564 15:05:52
GUEST
Comment Bubble Triangle
wirach
ดีมากครับ
ขอบคุญครับ
21 กันยายน 2564 18:36:28
GUEST
Comment Bubble Triangle
เต้ย
ดีมากครับ
 
5 ธันวาคม 2565 12:05:26
GUEST
Comment Bubble Triangle
เล็กคะ
วันหยุดหาเพื่อนคุยคะ
 
 
ความคิดเห็นที่ 3
15 มกราคม 2564 22:06:14
GUEST
Comment Bubble Triangle
สัญยา
ขอบคุณครับ
 
ความคิดเห็นที่ 2
30 พฤษภาคม 2563 12:46:58
Profile Pictureสมาชิก : Member
Comment Bubble Triangle
30 พฤษภาคม 2563 12:47:18
Profile Pictureสมาชิก : Member
Comment Bubble Triangle
SALABSRI PHATTANAVIB
 
30 พฤษภาคม 2563 17:37:01
GUEST
Comment Bubble Triangle
ปิยะชาติ
ขอบคุณคับ
 
20 ธันวาคม 2563 16:47:46
Profile Pictureสมาชิก : Member
Comment Bubble Triangle
 
 
ความคิดเห็นที่ 1
30 พฤษภาคม 2563 12:23:57
GUEST
Comment Bubble Triangle
SALABSRI PHATTANAVIB
OKAY
30 พฤษภาคม 2563 12:48:02
Profile Pictureสมาชิก : Member
Comment Bubble Triangle
best solfware
 
7 มิถุนายน 2563 19:14:14
GUEST
Comment Bubble Triangle
ปภากร ฤทธิ์รักษา
ชอบ
 
12 กรกฎาคม 2563 09:12:31
GUEST
Comment Bubble Triangle
0993170928
ครับ
 
10 ตุลาคม 2565 07:58:24
GUEST
Comment Bubble Triangle
da
ดีครับ