ไบออส (BIOS) หรือที่ย่อมาจาก "Basic Input / Output System" เป็นโปรแกรมตัวหนึ่งที่ทำงานอยู่บน เมนบอร์ด (Mainboard) หรือ แผงวงจรหลัก ของคอมพิวเตอร์ มันทำหน้าที่ตรวจสอบ และควบคุมการเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่อง ทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไบออสจะทำงานก่อนเป็นอันดับแรก ที่คอมพิวเตอร์สามารถบูตเข้าสู่ ระบบปฏิบัติการ Windows ได้ ก็เพราะ BIOS นี่แหละที่ทำหน้าที่เรียกข้อมูลจากฮาร์ดไดร์ฟให้ทำงาน
รูปแบบของ BIOS ของระบบปฏิบัติการ Windows ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ UEFI Boot Mode (ภาพฝั่งซ้าย) และ Legacy BIOS Boot Mode (ภาพฝั่งขวา)
ภาพจาก : https://www.bitcoinminershashrate.com/how-to-change-from-legacy-bios-to-uefi-in-windows-10/
Legacy Bios Boot Mode (แบบโบราณ หรือ แบบดั้งเดิม) ก็มักจะมีหน้าจอสีเทา หรือไม่ก็สีฟ้า จะดูออกโบราณ ๆ หน่อย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะมันถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) โน่นเลยทีเดียว
ส่วน UEFI Boot Mode ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) จะมีหน้าตาที่สวยงามกว่า ใช้งานง่าย รองรับการใช้เมาส์ในการควบคุมเมนูต่าง ๆ และมีคุณสมบัติที่ทันสมัย
ข้อควรรู้ : UEFI Boot Mode ย่อมาจากคำว่า "Unified Extensible Firmware Interface"
และที่สำคัญที่สุด คือ UEFI Boot Mode นั้นรองรับฮาร์ดไดร์ฟความจุได้สูงกว่า 2.1 TB. แถมยังสามารถแบ่งพาร์ทิชันได้จำนวนไม่จำกัดอีกด้วย ในยุคที่ภาพถ่าย และวิดีโอมีความละเอียดสูง ไฟล์วิดีโอเกมก็มีขนาดใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ไดร์ฟแค่ 2.1 TB. ของ Legacy BIOS Boot Mode ก็อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในปัจจุบันได้อีกแล้ว
อีกทั้งการมาของ ระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่ทาง Microsoft ได้ระบุความต้องการ เอาไว้ด้วยว่า จะต้องใช้งาน BIOS แบบ UEFI Boot Mode แล้วเท่านั้น
โชคดีที่ว่า เราสามารถเปลี่ยนโหมดการทำงานของ Legacy BIOS Boot Mode ให้เป็น UEFI Boot Mode ได้นะ ส่วนจะทำอย่างไรนั้น มาอ่านกันเลย ...
คุณผู้อ่านอาจจะมีคำถามว่า ทำไมเราต้องอยากจะเปลี่ยน BIOS จาก Legacy BIOS Mode ไปเป็น UEFI Boot Mode ด้วยล่ะ ในเมื่อที่ผ่านมามันก็ใช้งานได้ดีตามปกตินี่ ?
อันที่จริงแล้ว BIOS แบบ Legacy BIOS Mode และ UEFI Boot Mode ก็มีรูปแบบการทำงานที่เหมือนกัน คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในชิปบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์, ตั้งค่าลำดับการบูต, ปรับความเร็วพัดลม, เปิดปิดไฟ, ตั้งค่านาฬิกาของระบบ รวมไปถึงการปรับแรงดันไฟ และการโอเวอร์คล็อก CPU ได้ด้วย
แต่ UEFI Boot Mode นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า มันทำงานเหมือนกัน แต่ทำได้ดีกว่า ด้วย UEFI Boot Mode ระบบคอมพิวเตอร์จะบูตได้เร็วขึ้น (อย่างเห็นได้ชัด), รองรับไดร์ฟได้มากกว่า, ระบบอัปเดตที่ง่าย สะดวกกว่าเดิม และทำงานแบบ 64 บิต (Bits) ในขณะที่ Legacy BIOS Boot Mode ทำงานแบบ 16 บิต (Bits) เท่านั้น
กล่าวได้ว่า การเปลี่ยนมาใช้ UEFI Boot Mode เป็นการอัปเกรดนั่นเอง แม้ในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันจะยังเรียกซอฟต์แวร์ของเมนบอร์ดว่า BIOS เหมือนเดิม แต่ในทางเทคนิคแล้ว มันก็หมายถึง UEFI Boot Mode นั่นเอง
และอีกเหตุผลที่สำคัญ คือ Microsoft ประกาศแล้วว่า คอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows 11 จะต้องใช้ UEFI Boot Mode ด้วยเช่นกัน หากคุณมีแผนจะอัปเดตเพื่อใช้งานในอนาคต มันก็เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่ดี
แม้การแปลงจาก BIOS แบบ Legacy BIOS Mode เป็น UEFI Boot Mode ใน ระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะเป็นเรื่องง่าย แต่มันก็มีสิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะเริ่มลงมือแปลงที่อยากแจ้งให้ทราบก่อน คือ
ถ้าคุณอ่านจนเข้าใจแล้วว่าสิ่งที่ทำในบทความนี้คืออะไร ? และยืนยันที่จะแปลงจาก Legacy BIOS Boot Mode เป็น UEFI Boot Mode ล่ะก็ เชิญอ่านวิธีการทำต่อได้เลยครับ
ภาพจาก : https://www.maketecheasier.com/convert-legacy-bios-uefi-windows10/
เท่านี้ คอมพิวเตอร์ของเราก็จะเปลี่ยนเป็นระบบ UEFI พร้อมรับมือกับการอัปเดตใหม่ ๆ รวมถึงสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่กำลังจะมาได้แล้วครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
3 กันยายน 2564 19:59:33
|
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||