ในเวลาที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไปนาน ๆ ก็อาจจะเกิดปัญหาเรื่องของ แผงวงจร (Circuit Board) เกิดมีสิ่งสกปรก หรือการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จาก พัดลมระบายความร้อน, จากฝุ่นผงต่าง ๆ, ฯลฯ ซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขัดข้องในการใช้งานขึ้นได้ โดยแผงวงจรเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น เมนบอร์ด (Mainboard) หรือ การ์ดจอ (Graphic Card) เป็นต้น
การเกิดปัญหาดังกล่าวนั้น ในบางครั้ง เราไม่จำเป็นจะต้องเสียเงินหรือเสียเวลาส่งซ่อมแผงวงจรเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้เสมอไป แต่อาจสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการทำความสะอาดเท่านั้น ซึ่งเราจะมี วิธีการทำความสะอาดแผงวงจร ได้อย่างไรบ้าง ไปอ่านต่อด้านล่างได้เลย
แผงวงจร (Circuit Board) เป็นสิ่งที่สามารถพบได้ทั่วไป ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไป ก็มีโอกาสที่น้ำ, ฝุ่น, หรือแม้แต่สิ่งสกปรกอื่น ๆ จะเริ่มเข้าไปเกาะอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ว่ามา และเริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่เราต้องจัดการทำความสะอาดเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ได้
เครดิตรูปภาพ : https://pcbthailand.com/pcb-ที่สกปรก.html
โดยปกติแล้ว พัดลมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (และอุปกรณ์อื่น ๆ) สำหรับรักษาอุณหภูมิให้เย็นพอกับการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ ก็มักจะดูดฝุ่นละอองขนาดเล็กต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศ ให้เข้าไปเกาะกับพื้นผิวใกล้เคียงด้วย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนที่พุ่งสูงเกินไป หรือทำให้การทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งทำงานล้มเหลวได้
และอย่างที่ทุกคนน่าจะรู้กันดี ก็คือเรื่องของของเหลวที่เป็นตัวสร้างปฏิกิริยาชั้นดีกับอุปกรณ์ที่กำลังทำงานอยู่ หรือกำลังมีกระแสไฟฟ้าเดินทางอยู่ ซึ่งถ้าหากของเหลวใด ๆ เช่น น้ำเปล่า สามารถเล็ดรอดเข้าไปยังแผงวงจรได้ ก็จะสามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) ขึ้นมาได้ และมีโอกาสสูง ที่อุปกรณ์จะเสียหายตามมา
เราควรที่จะพึงระวังไว้เสมอว่า การถอดชิ้นส่วนของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ ดังนั้น โปรดแน่ใจว่าตัวคุณเองมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะจัดการกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง และสามารถประกอบกลับคืนเข้าไปให้สามารถใช้งานตามปกติได้ด้วย
เครดิตรูปภาพ : https://duino4projects.com/pcb-boards-the-thing-that-changed-the-world-of-electronics/
การทำความสะอาดแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards) หรือที่นิยมเรียกกันว่า แผ่น PCB, แผ่นปรินท์ จะต้องใช้เครื่องมือและวิธีที่ถูกต้องในการทำความสะอาด ไม่สามารถใช้น้ำทั่วไป, หรือสารทำความสะอาดที่ใช้กันโดยทั่วไปมาทำความสะอาดได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้กันหลัก ๆ ได้แก่
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับทำความสะอาดแผงวงจร โดยทั่วไปแล้ว หากไม่ได้มีคราบหนัก หรือความสกปรกที่เกรอะกรัง ก็สามารถใช้เพียงแปรงปัดฝุ่นที่มีขนนิ่ม และมีขนาดเล็กเพียงพอที่จะสามารถเข้าซอกซอนซอกเล็ก ๆ บนแผงวงจรได้ และใช้ผ้าแห้งที่ไม่เป็นขุย เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไปบนแผงวงจรได้เลย
เครดิตรูปภาพ : https://www.instructables.com/Cleaning-up-your-PCB/
สำหรับการซ่อมแซมแบบง่าย ๆ เพียงแค่ใช้สเปรย์ลมที่มีลักษณะคล้าย ๆ อากาศอัดกระป๋อง มาฉีดขจัดฝุ่นที่เกาะหนาหรือสิ่งตกค้างขนาดเล็กก็เพียงพอ โดยให้ใช้การฉีดสั้น ๆ ไปยังบริเวณช่องที่เป็นที่ไหลเวียนของอากาศ แต่ถ้าหากคุณยังไม่พอใจกับผลลัพธ์ ก็สามารถใช้ไขควงเพื่อถอดชิ้นส่วนออกมาฉีดเลยก็ได้
เครดิตรูปภาพ : https://gesrepair.com/clean-circuit-board/
เบคกิ้งโซดา หรือชื่อทางเคมีว่า โซเดียม ไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) เป็นอีกทางเลือกสำหรับการขจัดสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนบอร์ดโดยมีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับบอร์ดของเรา โดยเบคกิ้งโซดา มีฤทธิ์กัดกร่อนอ่อน ๆ ที่สามารถขจัดคราบหรือสารตกค้างที่ไม่สามารถเอาออกด้วยแปรงหรือน้ำกลั่นได้ มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งสำหรับจัดการกับปัญหาการกัดกร่อนที่มาจากกรด หรือสารอื่น ๆ ที่เป็นกรด เพราะเบคกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับสมดุลบริเวณที่เกิดปัญหาขึ้นได้
เครดิตรูปภาพ : https://www.ourpcb.com/clean-circuit-board.html
น้ำกลั่น ถือเป็นของเหลวที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดแผงวงจรได้เมื่อถูกผสมเข้ากับสารทำความสะอาดอื่น ๆ เนื่องจากน้ำกลั่นนั้นไม่นำประจุไฟฟ้า นอกจากนี้ น้ำกลั่นบริสุทธิ์ยังไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสื่อมลง เพราะความเป็นตัวนำไฟฟ้าต่ำนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากคราบสกปรกที่ติดอยู่กับมือของเรา หรือจากฝุ่นที่ฟุ้งกระจายในอากาศ อย่าลืมปิดฝาน้ำกลั่นทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมือเปล่าโดยตรง
เครดิตรูปภาพ : https://www.ourpcb.com/clean-circuit-board.html
ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol) คือสารทำความสะอาดแผงวงจรที่ดีที่สุด เพราะมีราคาไม่แพง และสามารถระเหยได้ไวเมื่อเทียบกับการทำความสะอาดด้วยวิธีอื่น ๆ ทั่วไป อีกทั้งแอลกอฮอล์ ยังประกอบด้วยจำนวนสารเคมีน้อยกว่า ซึ่งถ้าหากคุณใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ที่มีจำนวนเปอร์เซ็นต์สูง อาจส่งผลต่อร่างการและผิวหนัง ดังนั้น อย่าลืมหยิบจับด้วยถุงมือยางและสวมใส่แว่นตากันลมก่อนการใช้งาน
เครดิตรูปภาพ : https://www.allpcb.com/sns/how-to-clean-pcbs_26145.html
บรรดาน้ำยาทำความสะอาดทั้งหลายที่เราใช้กันภายในครัวเรือน และปราศจากสารฟอสเฟต (Phosphate) สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าฟอสเฟตจะเป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดกร่อนและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการทำความสะอาดด้วย แต่เนื่องจากปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นจากฟอสฟอรัสในทะเลสาบ กลายเป็นปัญหาที่ทางสหรัฐอเมริกาต้องหันมาจัดการอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) และหลังจากนั้น บรรดาผู้ผลิตหลายรายก็เลิกใส่ฟอสเฟตลงไปในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไป
เครดิตรูปภาพ : https://shoponline.tescolotus.com/groceries/en-GB/products/6000669059?selectedUrl=https%3A%2F%2Fsecure.ap-tescoassets.com%2Fassets%2FTH%2F323%2F8850002850323%2FShotType1_540x540.jpg
เครดิตรูปภาพ : https://www.freepik.com/premium-photo/laptop-computer-motherboard-dust-cleaning-electronics-maintenance-service_4358772.htm
ถ้าหากว่าสุดท้ายแล้ว แผงวงจรของเรายังคงไม่สามารถใช้งานได้ และยังมีร่องรอยของการกัดกร่อนหลงเหลืออยู่ ให้ลองใช้ยางลบเพื่อลบคราบที่เหลือออกดู ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลดีสำหรับการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนที่เป็นทองแดง
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |
ความคิดเห็นที่ 1
18 ตุลาคม 2564 05:31:58
|
||
เจ็บนี้อีกนานเจ็บจนระบบพัง
|
||