ปัจจุบัน การใช้งานแอปพลิเคชันเป็นสิ่งที่อยู่คู่ชีวิตประจำวันของทุกคน แต่จริง ๆ แล้วยังมีแอปอีกประเภทหนึ่งที่อยู่คู่กับทุกคนมานาน นั่นก็คือ เว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) หรือ เว็บแอปฯ นั่นเอง แล้วเจ้าเว็บแอปฯ นี้คืออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? แตกต่างจากแอปพลิเคชันทั่ว ๆ ไปอย่างไร แล้วเว็บไหนที่ถือว่าเป็นเว็บแอปฯ บ้าง อ่านต่อกันได้เลย
เว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) เป็น ซอฟต์แวร์ (Software) ชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ โดยตัวแอปพลิเคชันถูกจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ ใช้งานผ่านทาง โปรแกรมเปิดเว็บ หรือ เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) (ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมี อินเทอร์เน็ต ในการใช้งานด้วย) บนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ ไม่ว่าเว็บไซต์นั้น ๆ จะถูกใช้งานเพื่อจุดประสงค์ใด ๆ แต่ถ้าเว็บไซต์ใช้งานได้มากกว่าการอ่านเนื้อหาทั่วไป เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร แต่งภาพและเซฟเป็นไฟล์ได้ ก็ถูกจัดว่าเป็นเว็บแอปฯ
โดยเว็บแอปฯ ทั้งหลายจะถูกเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ใช้งานได้ มีอินเตอร์เฟซหรือหน้าตาของเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานโดยเฉพาะ และสามารถเข้าถึงได้ด้วย URL ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเว็บแอปฯ แบ่งตามการใช้งานได้หลายประเภทมาก ๆ บางคนอาจไม่รู้เลยว่ากำลังใช้งานเว็บแอปฯ อยู่
สำหรับ เว็บแอปพลิเคชัน นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีทั้ง เว็บแอปฯ และแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ควบคู่กันไป ส่วนใครที่สงสัยว่า เว็บแอปฯ หน้าตาเป็นแบบไหน ใช้ยังไง เราขอยกตัวอย่าง เว็บแอปฯ ที่น่าจะคุ้นหูคุ้นตากัน หรือบางคนก็ใช้งานเป็นประจำ หรือถ้าไม่เคยลองเว็บไหนก็ไปลองได้ตามสะดวก
ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชัน เช่น Google Drive, Google Docs, Canva, Wolframalpha
หากพูดถึง การทำงานของ เว็บแอปพลิเคชัน นั้น จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
ส่วนการทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ภาพจาก : https://reinvently.com/blog/fundamentals-web-application-architecture/
แต่ก่อนจะมาเป็นเว็บแอปพลิเคชันสัก 1 เว็บ เริ่มต้นจากนักพัฒนาเว็บไซต์เขียนเว็บแอปฯ ขึ้นมาด้วยสคริปต์ 2 แบบ ได้แก่
โดยสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บและเรียกข้อมูล มักใช้ภาษา Python หรือ Java ในการเขียน ส่วนสคริปต์ของฝั่ง Client มักใช้ Java, Cascading Style Sheets (CSS) และ HTML5 เพื่อสร้างหน้าอินเตอร์เฟซของเว็บแอปฯ ขึ้นมา และเป็นภาษาที่ เว็บเบราว์เซอร์ทั่วไปรองรับ
ในปัจจุบันนี้ ก็ได้มีเว็บไซต์ อยู่บนโลกออนไลน์ ที่มากมายเต็มไปหมด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเรียกว่าเว็บไซต์ ? แบบไหนเรียกว่าเว็บแอปฯ ? ซึ่งจริง ๆ แล้วก็แยกออกได้ไม่ยาก เนื่องจากเว็บแอปฯ มีการใช้งานที่เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ปกตินั่นเอง
เว็บแอปพลิเคชัน | เว็บไซต์ปกติ |
|
|
แม้จะเห็นชัดเจนแล้วว่าเว็บแอปพลิเคชัน นั้นแตกต่างจาก แอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile Application) หรือ แอปพลิเคชันบน PC ที่ติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั่ว ๆ นั้นอย่างไร ? ซึ่งมันก็แตกต่างในส่วนของ ช่องทางการใช้งานเป็นหลักอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายจุดที่แตกต่าง และสามารถแยกออกได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
เว็บแอปพลิเคชัน | แอปพลิเคชันทั่วไป |
|
|
จะเห็นได้ว่าเว็บแอปพลิเคชันและแอปพลิเคชันทั่วไปมีช่องทางการเข้าถึงที่แตกต่าง แต่การใช้งานก็ยังเหมือน ๆ กัน (เมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันที่รองรับทั้ง 2 แบบ) เช่น แอปพลิเคชันสร้างกราฟิกอย่าง Canva ที่ไม่ว่าจะดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้หรือทำงานบนเว็บไซต์ก็ให้ลักษณะการใช้งานที่เหมือนกัน อินเตอร์เฟซใช้งานง่ายเหมือนกัน
ประโยชน์ของ เว็บแอปพลิเคชัน อย่างแรกเลยก็คือ ความสะดวกคล่องตัว ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งให้ยุ่งยาก เพียงมีอินเทอร์เน็ต URL เว็บไซต์ และเว็บเบราว์เซอร์ ก็เข้าถึงเว็บแอปฯ ได้แล้ว เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่มีพื้นที่ความจุไม่มากนัก แต่จำเป็นต้องใช้งานบางโปรแกรม และมั่นใจได้ว่าจะได้ใช้งานเวอร์ชันล่าสุดแน่นอน เพราะทางผู้พัฒนาต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บแอปฯ อยู่เสมอ
อีกหนึ่งประโยชน์ที่น่าสนใจของเว็บแอปฯ ก็คือ สามารถทำงานได้ทุกที่ที่มี อินเทอร์เน็ต (Internet) บางคนอาจลืมไฟล์ไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ลืมดาวน์โหลดโปรแกรมใส่ไว้ที่เครื่องใหม่ แต่บางโปรแกรมสามารถทดแทนได้ด้วยเว็บแอปฯ เพราะว่า เว็บแอปฯ จะสามารถใช้งานได้กับแทบทุก เว็บเบราว์เซอร์ เว็บแอปฯ บางประเภทสามารถเซฟไฟล์งานแบบออนไลน์ได้ด้วย และบางเว็บเปิดให้ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ เข้ามาทำงานร่วมกับผลงานของเราได้ด้วย
ภาพจาก : https://www.pxfuel.com/en/free-photo-orzuo/download
ส่วนประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้งาน ก็คือ "ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม" เนื่องจากบางโปรแกรมทดแทนด้วยเว็บแอปพลิเคชันได้ และเว็บแอปฯ ส่วนใหญ่ฟรี แต่ถ้าโปรแกรมบางประเภทยังไม่มีเว็บแอปฯ ทดแทน ก็ยังมี ฟรีแวร์ (Freeware) หรือ แชร์แวร์ (Shareware) เข้ามาเป็นตัวช่วย
แต่ข้อสังเกตหรือโทษจากเว็บแอปพลิเคชันนั้น ถือว่ามีน้อยและเบาบางเมื่อเทียบกับข้อดีทั้งหลาย เช่น ไม่สามารถใช้งานได้หากไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, ความสามารถของเว็บแอปฯ ไม่สามารถทดแทนบางโปรแกรมที่มีความสามารถระดับสูงได้ เช่น การตัดต่อวิดีโอที่ทำได้เพียงการใส่คลิป เสียง บน Template ที่โปรแกรมมีให้ แต่อาจไม่ถึงขั้นเพิ่มลูกเล่นอย่างละเอียดแบบการตัดต่อผ่านโปรแกรม
อย่างไรก็ตาม การใช้งานเว็บแอปพลิเคชันถือว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย บางบริษัทหันมาทำงานผ่านเว็บแอปฯ พลิเคชัน แทนที่การทำงานผ่านโปรแกรมในคอมพิวเตอร์กันแล้ว เพราะช่วยลดต้นทุนค่าโปรแกรม ได้ใช้งานแบบถูกลิขสิทธิ์แน่นอน แต่การใช้งานผ่านทั้งสองสิ่งนี้ก็ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |