ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

มาตรฐาน IEEE 802 คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

มาตรฐาน IEEE 802 คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 28,403
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99+IEEE+802+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97+%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

มาตรฐาน IEEE 802 คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

สินค้าต่าง ๆ ล้วนต้องมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ เพื่อให้สินค้าเหล่านั้นดูน่าไว้วางใจที่จะใช้งาน เช่นเดียวกับระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าหากัน ก็ต้องมีมาตรฐานเป็นตัวกำหนด

บทความเกี่ยวกับ Wi-Fi อื่นๆ

ถ้าพูดถึง มาตรฐาน IEEE 802 บางคนอาจจะนึกไปถึงระบบ Wi-Fi (IEEE 802.11) ที่เราเห็นในอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค มือถือ หรือ เราเตอร์ และหลายคนอาจสงสัยว่า IEEE 802 นั้นคืออะไร ? ทำไมถึงมีเลขต่อท้ายเป็นเลข 11 แล้ว IEEE 802.1 / IEEE 802.2 หรือ IEEE 802.3 มีหรือไม่ ? ดังนั้นบทความนี้เราไม่จะมาพูดถึงมาตรฐาน Wi-Fi ที่หลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เราจะพามารู้จักมาตรฐาน IEEE 802 ต้นตระกูลของมันกันครับ

 

เนื้อหาภายในบทความ

 

มาตรฐาน IEEE 802 คืออะไร ? 

มาตรฐาน IEEE 802 คืออะไร ?

IEEE อ่านว่า "ไอ-ทริปเปิล-อี" ย่อมาจากคำว่า "The Institute of Electrical and Electronics Engineers" หรือ สมาคมวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระดับนานาชาติ มีสมาชิกกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) และมีชื่อเสียงในเรื่องของการกำกับดูแลมาตรฐานเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงระบบโทรคมนาคม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายไร้สายต่าง ๆ 

ซึ่งมาตรฐาน IEEE 802 ก็เป็นมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยสมาคมและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ครอบคลุมอุปกรณ์และระบบที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลระดับ "Physical Layer" และ "Data-Link Layer" หรือ ระดับการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และระหว่างจุดเชื่อมต่อ (Node) ภายในเครือข่ายต่าง ๆ โดยจะประกอบด้วยเทคโนโลยีจำพวก อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (WLAN), เครือข่ายท้องถิ่น (LAN),เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN), เครือข่ายบลูทูธ Bluetooth0 ตลอดจนเครือข่ายที่ครอบคลุมในเมือง หรือ Metropolitan Area Networks (MAN)

และคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ก็จะมีชื่อเรียกเหมือนกันว่า IEEE 802 LAN/MAN Standards Committee (LMSC) เป็นที่มาของชื่อมาตรฐาน IEEE 802 นั่นเอง ซึ่งคณะทำงานเหล่านี้ก็จะแบ่งความดูแลในการทำหนดมาตรฐานต่างกันไปจนแยกหน่วยย่อยได้เป็น IEEE 802.1 / IEEE 802.2 ..... หรือ IEEE 802.11 เป็นต้น หมายความว่าสมาชิกใน LMSC ก็จะมีการแบ่งผู้ดูแลเพื่อกำหนดคุณภาพแต่ละประเภทของระบบไปนั่นเอง

มาตรฐาน IEEE 802 มีกี่ประเภท และมีระบบอะไรบ้าง ?

มาตรฐาน IEEE 802 มีกี่ประเภท และมีระบบอะไรบ้าง ?

ตลอดช่วงการทำงานที่ผ่านมาของคณะทำงาน LMSC มีการประกาศ มาตรฐานตระกูล IEEE 802 ออกมามากถึง 70 มาตรฐานเลยทีเดียวบางอันไม่ได้ใช้จริงก็มี หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาก็มี ทำให้ปัจจุบันมีข้อมูลมาตรฐานของ IEEE 802 ที่หลงเหลืออยู่ 20 กว่าประเภทเท่านั้น แถมบางอันยังเลิกใช้ไปแล้ว เนื่องจากต้องยอมรับว่าบางครั้งก็มีมาตรฐานใหม่กว่า และได้รับการยอมรับมากกว่า ทำให้คณะทำงานบางส่วนได้ถอนตัว หรือ ถูกยุบไปก่อนและนี่คือตระกูลมาตรฐาน "IEEE 802" ที่พบเห็นได้

802 Overview รายละเอียด สถานะ
802.1 Bridging มาตรฐานระบบจัดการเครือข่าย  LAN / MAN / WAN ใช้จัดการ IP ที่เข้ามาเชื่อมต่อในวงเครือข่าย ปัจจุบันพัฒนารุ่นย่อยมากมายถึง 25 รุ่น พัฒนาอยู่
802.2 LLC เกี่ยวกับระบบ ที่ทำงานในชั้นของ LLC (Logical Link Control) Sub layer ของ Data Link Layer (ดาต้าลิงค์เลเยอร์) ถูกยกเลิก
802.3 Ethernet มาตรฐานของระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน พัฒนาอยู่
802.4 Token Bus ระบบเครือข่าย LAN อีกชนิดที่เลิกใช้ไปแล้ว ถูกยกเลิก
802.5 Token Ring ระบบเครือข่าย LAN ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณเป็นวงแหวน ถูกยกเลิก
802.6 MANs (DQDB)

มาตรฐานเครือข่ายระบบ MAN (Metropolitan Area Network) หรือเครือข่ายในระดับเขตเมือง มักใช้ในเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไฟเบอร์แบบกระจาย สุดท้ายล้มเหลว เพราะแพงและเข้าไม่ได้กับระบบ LAN ในปัจจุบัน

ถูกยกเลิก
802.7 Broadband LAN using Coaxial Cable มาตรฐาน Broadband ในยุคที่ใช้สายเคเบิลโคเอ๊กเชี่ยล (Coaxial Cable) ปัจจุบันล้าสมัยไปแล้ว ถูกยกเลิก
802.8 Fiber Optic TAG

มาตรฐานที่คณะให้คำปรึกษาด้านเทคนิคไฟเบอร์ออปติก หรือ The Fiber Optic Technical Advisory Group สร้างไว้


เทคโนโลยีที่ใช้มาตรฐานนี้ เช่น เครือข่าย FDDI (Fiber Distributed Data Interface) ปัจจุบันคณะทำงานโดนยกเลิกไปแล้ว

ถูกยกเลิก
802.9 Integrated Services LAN มาตรฐานการใช้กำหนดคุณภาพ การรวมเสียงและข้อมูลที่ส่งผ่านสายเคเบิลในเครือข่ายที่รองรับ โดยที่ไม่ลดทอนคุณภาพลง เช่น IsoEthernet หรือ ISLAN (อารมณ์พวก Cable TV) ถูกยกเลิก
802.10 Interoperable LAN Security มาตรฐานใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย LAN ถูกยกเลิก
802.11  Wi-Fi (WLAN) & Mesh (Wi-Fi certification) มาตรฐานสำหรับ Wi-Fi (WLAN) ทั่วไป พัฒนาอยู่
802.12 Demand Priority Protocol (100BaseVG) เป็นมาตรฐานที่ใช้กำหนดลำดับความสำคัญในการเชื่อมต่อ และสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ LAN จุดประสงค์หลักคือให้เทคโนโลยีสามารถส่งข้อมูลกันได้เร็วขึ้น (ขั้นต่ำ 100 Mb/s) ถูกยกเลิก
802.13 ไม่มีการใช้งาน
802.14 Cable modems มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ Cable Modem ที่เชื่อมต่อเน็ตด้วยสายเคเบิล ถูกยกเลิก
802.15  Wireless PAN มาตรฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายระยะใกล้ส่วนบุคคล เช่น Bluetooth  พัฒนาอยู่
802.15.1 Bluetooth certification อุปกรณ์ไร้สายเช่น เมาส์ คีย์บอร์ด เชื่อมต่อผ่านบลูทูธ พัฒนาอยู่
802.15.2 IEEE 802.15 and IEEE 802.11 coexistence มาตรฐานที่ใช้กำหนดผลกระทบระหว่างเครือข่าย WPAN และ WLAN พัฒนาอยู่
802.15.3 High-Rate WPAN มาตรฐานของการเชื่อมต่อไร้สายส่วนบุคคลแบบ High Bandwidth เช่นเทคโนโลยี Ultra-Wideband  พัฒนาอยู่
802.15.4 Low-Rate WPAN มาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอัตตราส่งข้อมูลไม่สูงมาก เช่น ZigBee, Thread, 6LoWPAN, WirelessHART พัฒนาอยู่
802.15.5 Mesh Network for WPAN มาตรฐานการขยายความครอบคลุมเครือข่าย โดยไม่เพิ่มกำลังส่ง หรือ ความไว ของระบบไร้สายระยะใกล้ (เหมือน Mesh Wi-Fi) พัฒนาอยู่
802.16 Broadband Wireless Accesss (WiMAX certification) มาตรฐาน โครงสร้างเครือข่ายไร้สายที่วางระบบพื้นที่ครอบคลุมขนาดใหญ่ (WMAN) เช่น โรงงานขนาดใหญ่ หรือ อาคารที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเดียวกัน มาตรฐานเดียวกับ WiMAX certification พัฒนาอยู่
802.17 Resilient Packet Ring

มาตรฐานกำหนดเครือข่ายสำหรับระบบ Fiber Optic แบบเครือข่ายวงแหวน (Resilient Packet Ring)

หยุดพัฒนาเป็นการชั่วคราว
802.18 Radio Regulatory TAG

มาตรฐานระบบวิทยุ

พัฒนาอยู่
802.19 Coexistence TAG

เป็นมาตรฐานที่สร้างขึ้นในการกำหนดการอยู่ร่วมกันระหว่างเครือข่ายไร้สายที่ย่านความถี่อิสระ โดยให้แยกกันใช้ไม่ปะปนกับย่านความถี่ที่ได้รับการจัดสรร 

?
802.20 Mobile Broadband Wireless Access (iBurst)

เป็นมาตรฐานรูปแบบเดียวกับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่เราเห็นในปัจจุบัน (3G, 5G) โดยมีบริษัท ArrayComm เปิดตัวเครือข่ายแบรนด์ iBurst ออกมาและเสนอมาตรฐานนี้เพื่อใช้งาน แต่เนื่องจากคณะทำงานโดนฟ้อง ภายหลังมาตรฐานนี้ได้ถูกยกเลิกไป 

ถูกยกเลิก
802.21 Media Independent Handover

มาตรฐานของรูปแบบเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายจากชั้น Data Link Layer ไประดับ Network โดยมีฟังก์ชัน Media Independent Handover Framework ช่วยให้การส่งต่อระหว่างเครือข่ายมีความราบรื่นมากขึ้น

หยุดพัฒนาเป็นการชั่วคราว
802.22 Wireless Regional Area Network 

มาตรฐานเครือข่ายไร้สายระดับภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่มากกว่า WMAN

หยุดพัฒนาเป็นการชั่วคราว
 
802.23 Emergency Services Working Group มาตรฐานที่ร่างเพื่อกำหนดเกี่ยวกับบริการติดต่อฉุกเฉินผ่านเครือข่ายในระบบที่เกี่ยวกับมาตรฐาน IEEE 802 
คล้าย ๆ กับเทคโนโลยี VoIP หรือโทรผ่านอินเทอร์เน็ตที่ใช้กับการโทรเบอร์ฉุกเฉินได้ (191, 112) 
ถูกยกเลิก
802.24 Vertical Applications Technical Advisory Group (TAG)

มาตรฐานกำหนดสำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ระบบ LAN หรือ WLAN ในการสื่อสาร เช่น Smart Grid, ระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS), บ้านอัจฉริยะ, เมืองอัจฉริยะ, eHealth

พัฒนาอยู่

รายการมาตรฐานในตระกูล IEEE 802 เหล่านี้มีไม่กี่ตัวที่ได้รับการยอมรับและยังคงพัฒนาใช้งานต่อไป ตัวอย่างที่เราเห็น ๆ ก็คือ Wi-Fi หรือ IEEE 802.11 ที่พัฒนาต่อเนื่องมาแล้วหลายรุ่น ส่วนใหญ่มาตรฐานที่ถูกยกเลิกไปเพราะว่าตัวผู้พัฒนาเทคโนโลยีเลือกจะใช้มาตรฐานอื่น ๆ ที่ใหม่กว่า และ ถูกยอมรับในระดับโลกมากกว่า เราเลยไม่ค่อยได้เห็นมาตรฐาน iEEE 802 ในโลกของระบบอื่น ๆ 

ทำไมมาตรฐาน IEEE 802 ถึงสำคัญ ?

เป้าหมายของ LMSC ที่สร้าง มาตรฐาน IEEE 802 โดยพื้นฐานแล้วถูกสร้างมาเพื่อวางแนวทางให้อุตสาหกรรมสามารถผลิตอุปกรณ์ หรือทำระบบที่เข้ากันได้ หากต่างคนต่างทำการใช้งานร่วมกันก็มีความเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้มาตรฐานเองก็เป็นตัวช่วยในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ไปในตัว ยกตัวอย่างง่ายก็ Wi-Fi ถ้าวันนี้เราเห็นเราเตอร์ตัวใหม่เป็น IEEE 802.11be (Wi-Fi 7) เราก็คงรู้สึกอยากใช้งาน ใช่ไหมล่ะครับ เพราะมันคือรุ่นใหม่ไงล่ะ และเราก็คงอยากลองว่ามันจะดีแค่ไหน 


ที่มา : www.techtarget.com , en.wikipedia.org , standards.ieee.org , en.wikipedia.org , mentor.ieee.org , en.wikipedia.org , ieee802.org

0 %E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99+IEEE+802+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97+%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น