หลังจากที่ทาง Wi-Fi Alliance ได้ประกาศใช้งาน “Wi-Fi Certified 6” หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า Wi-Fi 6 ไปตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) นั้น หลาย ๆ คนก็น่าจะได้ทดลองเล่นกันไปจนเริ่มชินมือและรู้สึกเบื่อกันขึ้นมาบ้างแล้ว รวมไปถึงบางคนก็เกิดคำถามสงสัยขึ้นมาว่าแล้วถัดจาก Wi-Fi 6 แล้วจะมี Wi-Fi 7 ออกมาให้ได้เล่นกันเมื่อไร ? และมันจะมีอะไรต่างไปจาก Wi-Fi 6 กันบ้างนะ ? ดังนั้นเราจึงจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Wi-Fi 7 กันในบทความนี้เลย
Wi-Fi 7 หรือที่บางคนเรียกว่า “EHT” (Extremely High Throughput) นั้นมีชื่อทางเทคนิคว่า “IEEE 802.11be” เป็นมาตรฐานการใช้งาน Wi-Fi รูปแบบใหม่ที่ได้พัฒนาและปรับปรุงจาก Wi-Fi 6 (802.11ax) ทำให้มันสามารถทำงานได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Wi-Fi 7 will be showcased at CES 2022. According to MediaTek, Wi-Fi 7 is 2.4x times faster than Wi-Fi 6E, which can bring faster speed, lower latency, and stronger anti-interference ability.#Wifi7 #Wifi #Mediatek pic.twitter.com/KFX4GiyWfp
— Râmãn Sîñgh (@TECH_roiter) November 20, 2021
นอกจากจะปรับปรุงประสิทธิภาพของคลื่นความถี่ (Wi-Fi Spectrum) เดิมที่ 2.4 GHz และ 5 GHz แล้ว เทคโนโลยีใหม่อย่าง Wi-Fi 7 ก็ยังสามารถทำงานบนคลื่นความถี่ 6 GHz ได้อีกด้วย แต่ในส่วนนี้อาจเป็นปัญหากับอุปกรณ์ Smart Home รุ่นเก่า ๆ บ้างเล็กน้อย
อ่านบทความ คลื่นความถี่ Wi-Fi 2.4 GHz, 5GHz และ 6GHz ต่างกันอย่างไร ? ได้ที่นี่
โดยมันจะทำให้ Router สามารถส่งสัญญาณเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ได้มากขึ้น เพิ่มการทำงานของ MU-MIMO (Multi-user Multiple Input Multiple Output) จากเดิมที่ 8x8 MU-MIMO ไปเป็น 16x16 MU-MIMO ทำให้ APs (Access Point) หลาย ๆ จุดสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นบนคลื่นความถี่และช่องสัญญาณหลายช่องในเวลาเดียวกัน (Multi-link Operation) ช่วยลดปัญหาสัญญาณคอขวดลงไปได้
ภาพจาก : https://blazetrends.com/wifi-7-everything-you-need-to-know-about-the-new-standard/
สำหรับใน Wi-Fi 7 นี้จะรองรับ Bandwidth มากกว่า 320 MHz (5,925 - 7,125 MHz) และน่าจะส่งผลให้ผู้ใช้สามารถรับชมสรีมมิงหรือเล่นเกมระดับ 4K ได้อย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าประเด็นที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจกันอย่างเรื่องของ “ความเร็วการรับส่งข้อมูล หรือ ความเร็วอินเทอร์เน็ต” นั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในเบื้องต้นยังไม่มีการระบุแน่ชัดถึงความเร็วสูงสุดของ Wi-Fi 7 ที่ชัดเจนออกมา เพราะบางเจ้าก็ระบุว่ามันจะทำความเร็วสูงสุดที่ 30Gbps ในขณะที่บางเจ้าก็คาดว่าน่าจะมีความเร็วสูงสุดถึง 46 Gbps เลยทีเดียว
ซึ่งจากเดิมที่ Wi-Fi 6 สามารถรับ - ส่งสัญญาณข้อมูลได้ 1024-QAM ที่ 10 bits บน Wi-Fi 7 จะทำได้ถึง 4096-QAM ที่ 12 bits ซึ่งก็นับว่าทำงานได้ดีกว่าเดิมถึง 20% ทำให้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ในที่ที่มีการแย่งสัญญาณกันสูงเป็นไปได้ราบรื่นมากขึ้น
มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนก็น่าจะอยากทราบกันแล้วว่าเราจะได้ใช้งาน Wi-Fi 7 กันเมื่อไรนะ ? ซึ่งจากการคาดการณ์คร่าว ๆ ก็ระบุว่ามันน่าจะพร้อมใช้งานราวช่วงปี ค.ศ.2024 (พ.ศ. 2567) ซึ่งเมื่อดูจากช่วงเวลาการปล่อยใช้งาน Wi-Fi ที่ผ่าน ๆ มาแล้วก็ถือว่ามีการพัฒนาที่เร็วกว่าปกติถึง 1 ปีเต็มเลยทีเดียว
IEEE | 802.11ac Wave 2 | 802.11ax | 802.11be | |
ชื่อ | (Wi-Fi 5) | (Wi-Fi 6) | (Wi-Fi 6E) | Wi-Fi 7 |
ปีที่เปิดตัว | 2013 (2556) | 2019 (2562) | 2020 (2563) | 2024 (2567) |
ความถี่ | 5 GHz | 2.4 GHz & 5 GHz | 6 GHz | 6GHz |
Channel Bandwidth | 20MHz, 40MHz, 80MHz, 80+80MHz & 160MHz | 20MHz/40MHz @2.4 GHz, 80MHz, 80+80MHz & 160MHz @5 GHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz,80+80MHz & 160MHz @6 GHz | 20MHz, 40MHz, 80MHz,80+80MHz, 160MHz & 320MHz @6 GHz |
Modulation Mode | 256-QAM | 1024-QAM | 4096-QAM | |
Maximum Transmission Rate | 3.5Gb/s | 9.6Gb/s (1.5Gb/s ต่ออุปกรณ์) | 9.6Gb/s (2.3Gb/s ต่ออุปกรณ์) | 30 - 46 Gbps |
SU/MU-MIMO-OFDM/A | SU-MIMO-OFDM Wave 1, | 8x8 UL/DL | 16x16 UL/DL MU-MIMO-OFDMA |
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |