เชื่อว่าแทบทุกคนน่าจะเคยสงสัยว่าโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้นทราบได้อย่างไรว่าควรจะแสดงผล "โฆษณา" อะไรขึ้นมาบนหน้าฟีดของเรา ซึ่งถ้าใครชอบเข้าเว็บบอร์ดอย่างพันทิป, เรดดิต (Reddit) หรือ ควอรา (Quora) ก็น่าจะต้องเคยเห็นคำถามที่ว่า "โทรศัพท์ของเราแอบส่อง / ดักฟังการใช้งานของเรารึเปล่า ?" ผ่านตากันมาบ้างละ
ข้อมูลเพิ่มเติม : Social Media และ Social Network คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?
เพราะคำถามนี้ก็เป็นข้อสงสัยในใจของคนเกือบทั่วทั้งโลกเลยก็ว่าได้ และถ้ากดเข้าไปอ่านคำตอบก็มักพบว่าคนส่วนใหญ่ก็ "เชื่อ" ว่า สมาร์ทโฟนที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำทุกวันนั้นมีการ "แอบฟัง" และ "แอบเก็บข้อมูล" ของเราไปขายให้กับบริษัทอื่น ๆ อยู่อย่างแน่นอน !
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/tag/your-smartphone-listening-or-coincidence/
หลายคนก็อาจทราบดีว่าโฆษณาที่เราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ นั้นเป็นโฆษณาที่แสดงขึ้นมาตาม "ความสนใจ" ของเรา (Personal Ads) ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ข้อมูลมาจากการเก็บข้อมูลการใช้งานของเรา ซึ่งผู้ใช้เองก็เป็นคน "อนุญาต" ให้เก็บข้อมูลด้วยตัวเอง
เพราะเมื่อเราทำการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหรือเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็จะมี "ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน" ปรากฏขึ้นมาให้พิจารณาก่อนตัดสินใจใช้งาน แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ (รวมทั้งเราด้วย) ก็มักจะมองข้ามมันไปและกด "ยอมรับ" หรือ "อนุญาต" ให้ใช้งานและเข้าถึงข้อมูลของเราไปโดยไม่ได้หยุดอ่านให้ละเอียดก่อน
ภาพจาก : https://ghiencongnghe.info/wp-content/uploads/2021/07/ios14-setup-apple-id-06.jpg
ซึ่งใน "ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน" ส่วนใหญ่ก็จะมีการแจกแจงเกี่ยวกับการเก็บและใช้งานข้อมูลของเรา เช่น มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อนับสถิติและวิเคราะห์การแสดงผลโฆษณา, จดจำข้อมูลผู้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานและปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น และเมื่อผู้ใช้เป็นฝ่ายกดยอมรับและอนุญาตให้บริการนั้น ๆ สามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลบางส่วนของเราด้วยตนเอง การจะกล่าวหาว่าระบบของสมาร์ทโฟนนั้นทำการ "แอบเก็บข้อมูล" ก็ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก
มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะงงว่าทำไมฟีเจอร์ที่ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างการแอบดักฟังถึงเป็นฟีเจอร์ที่มีคนชอบ แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนคำพูดจาก "ฟีเจอร์ดักฟัง" ไปเป็น "ฟีเจอร์การสั่งงานด้วยเสียง (Voice Assistant หรือ Voice Control) แล้วละก็ เชื่อว่าหลายคนก็น่าจะต้องเคยใช้งานและชื่นชอบในความสะดวกสบายของมันที่ช่วยให้เราสามารถตอบข้อความหรือโทรหาคนที่ต้องการผ่านการสั่งงานด้วยเสียงโดยไม่จำเป็นต้องแตะโทรศัพท์เลยแม้แต่นิดเดียว
ภาพจาก : https://www.progress.com/blogs/nativechat-integrates-with-amazon-alexa-voice-assistant
โดยหลังจากที่ทางบริษัท Apple ได้เปิดตัว "Siri" เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการมือถือด้วยการเสนอความ "สะดวกสบาย" ในการใช้งานแบบ Hand-Free และได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากจนทำให้บริษัทต่าง ๆ ก็ได้ทยอยเปิดตัว "ผู้ช่วย" ของตัวเองออกมาตาม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น Google Assistant, Alexa ของ Amazon, Cortana ของ Microsoft (ที่ตอนนี้ทางบริษัทประกาศหยุดพัฒนาต่อไปแล้ว) หรือ Bixby ของ Samsung และผู้ช่วยของบริษัทอื่น ๆ อีกมากมาย
และอย่างที่เราทราบดีว่าข้อกำหนดในการใช้งาน Voice Assistant เบื้องต้นนั้นผู้ใช้จะต้องทำการ "อนุญาต" ให้เข้าถึงไมโครโฟนของตัวเครื่องเสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานด้วยคำสั่งเสียงได้ เพราะหากปิดการเข้าถึงและใช้งานไมโครโฟน เมื่อเราพูดว่า "Hey, Siri" หรือ "OK, Google" ระบบ Voice Assistant ก็จะ "ไม่ได้ยิน" สิ่งที่เราพูดและไม่สามารถทำงานได้
ภาพจาก : https://www.blog.google/products/assistant/hey-google-turn-love/
ถ้าเห็นโฆษณาขึ้นมาหลังจากหาข้อมูลบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันช้อปปิ้งออนไลน์ก็ยังพอเข้าใจได้ว่าโทรศัพท์อาจเก็บข้อมูลการใช้งานของเราเพื่อแสดงผลโฆษณาที่เกี่ยวข้องในภายหลัง แต่หลาย ๆ ครั้งเราก็มักพบเห็นโฆษณาของสิ่งที่เราได้พูดคุยกับเพื่อนไปว่ารู้สึกสนใจ หรือกำลังพิจารณาตัดสินใจซื้ออยู่ ปรากฏขึ้นมาบนหน้าฟีดทั้งที่ยังไม่เคยกด "ค้นหา" เลยแม้แต่ครั้งเดียวจนอดสงสัยไม่ได้ว่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องบังเอิญหรือโทรศัพท์ของเราทำการ "ดักฟัง" สิ่งที่เราพูดและเอาไปขายต่อให้บริษัทอื่นกันแน่นะ ?
สำหรับคำถามข้อนี้ทาง Apple ก็ได้ออกมา "ยอมรับ" ว่าแอปพลิเคชันหรือบริษัท 3rd Party อื่น ๆ นั้นสามารถได้ยินบทสนทนาของผู้ใช้ได้จริงในช่วงเวลาที่ผู้ใช้เปิดใช้งาน Siri
ภาพจาก : https://www.spiralytics.com/blog/mobile-ads-can-phone-hear-conversations-infographic/
ส่วนทาง Google และ Facebook ก็ได้ออกมาประกาศว่าทางบริษัท "ไม่เคย" ใช้งานไมโครโฟนเพื่อการ "โฆษณา" แต่อย่างใด
โดยทาง Facebook ระบุว่าได้ทำการบล็อกระบบไม่ให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถใช้งานไมโครโฟนของผู้ใช้เพื่อการโฆษณาได้
ในขณะที่ทางด้าน Google ก็ปฏิเสธว่าไม่อนุญาตให้บริษัทอื่นเข้าถึงข้อมูลไมโครโฟนของผู้ใช้งานผ่านบริการของ Google เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าแอปพลิเคชันนั้นจะสามารถเข้าถึงและสั่งงานผ่าน Google Assistant ได้ แต่ทางผู้พัฒนาของแอปพลิเคชันนั้น ๆ ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของ Google ว่าจะ "ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้" ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านระบบ Google Assistant
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำการ "ค้นหา" สิ่งที่เราต้องการผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่หากทำการเชื่อมต่อแอคเคาท์ (Sync Account) หรือ Log In เข้าใช้งานบัญชีเดียวกันบนหลาย ๆ อุปกรณ์และเคยได้ "ค้นหา" ผ่านอุปกรณ์อื่น ๆ เมื่อสลับมาใช้งานโทรศัพท์อีกครั้งหนึ่งมันก็จะดึงเอา "ประวัติการใช้งาน" มาด้วย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมโฆษณาของสิ่งที่เราได้ทำการค้นหาบน "คอมพิวเตอร์" ถึงตามมาหลอกหลอนในหน้าจอโทรศัพท์ตามไปด้วย
ภาพจาก : https://www.omnisend.com/features/subscribers/audience-sync-for-ads/
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันการแอบฟังของโทรศัพท์ก็ได้แก่ "เลิกใช้ฟีเจอร์การสั่งงานด้วยเสียง" และ "ปิดการทำงานของ Voice Assistant" ดังนี้
ภาพจาก : https://www.astucesmobiles.com/en/siri-ne-fonctionne-pas-sur-liphone/
ภาพจาก : https://clario.co/blog/stop-phone-from-listening-you/#&gid=1&pid=1
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |