ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ทำไม เกมบนมือถือ ส่วนใหญ่ มักดูแย่ มากกว่าดูดี ? (Why mobile games are so bad rather than good ?)

ทำไม เกมบนมือถือ ส่วนใหญ่ มักดูแย่ มากกว่าดูดี ? (Why mobile games are so bad rather than good ?)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-psd/little-boy-playing-mobile-game-against-his-sister_3574698.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 6,853
เขียนโดย :
0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88+%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%88+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F+%28Why+mobile+games+are+so+bad+rather+than+good+%3F%29
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

6 เหตุผลที่เกมมือถือส่วนใหญ่ มักดูแย่มากกว่าดูดี
(6 Reasons Why Mobile Gaming Actually Sucks)

มีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวางในวงการเทคโนโลยีตลอดเวลาที่ผ่านมาว่า อนาคตของเกมมือถือจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต ซึ่งในตอนนี้ ถึงแม้ว่าเกมที่ติดอันดับท็อปชาร์ตบนแอปสโตร์ของแพลตฟอร์มยอดนิยม จะดูไม่ค่อยเป็นแรงกระเพื่อมที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในอนาคตเท่าไหร่ อย่างดีที่สุด เราก็แค่ได้เกมที่ดีพอที่จะมาเล่นฆ่าเวลาได้หลายนาทีก็เท่านั้น แต่ถ้าจะให้ถึงขั้นที่ว่า ดื่มด่ำไปกับอรรถรสของเกมอย่างลึกซึ้งไปกับเนื้อเรื่องหรือเกมเพลย์เลย นั่นคงเป็นไปไม่ได้

แต่เพราะอะไร เราถึงบอกว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ ทั้ง ๆ ที่เกมมือถือก็ถูกบรรจุให้มาเป็นหนึ่งในบรรทัดฐานของการผลิตฮาร์ดแวร์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ อยู่ตลอด เราจะมาลองไล่เรียงกันไปทีละประเด็นกัน

เนื้อหาภายในบทความ

  1. เกมมือถือประเภทเสียเงิน ขายได้ไม่ดีเท่าไหร่
    (Paid mobile games not selling well)
  2. อัลกอริธึมของแอปสโตร์ มักเอาใจพวกฮิตติดชาร์ต มากกว่า
    (App Store algorithms tend to favor chart-topping hits)
  3. ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคได้น้อย
    (Low consumer expectations)
  4. การบังคับด้วยทัชสกรีนที่ไม่ดีพอ
    ​​​​​​​(Poor touchscreen controls)
  5. ไม่มีพื้นที่พอสำหรับเกม
    (Not enough space for games)
  6. ไม่มีแพลตฟอร์มที่มีมาตรฐานเพียงพอ
    ​​​​​​​(Lack of standardized platforms)

 

 

 

 

 

หนึ่งในสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงระหว่างตลาดเกมคอนโซลและตลาดเกมมือถือ นั่นก็คือโมเดลธุรกิจ ในขณะที่ตลาดคอนโซลมาพร้อมกับค่าเกมที่ต้องจ่ายก่อนถึงจะได้เล่น ตลาดมือถือกลับเลือกที่จะเป็นเกมแบบ ฟรีเมี่ยม (Freemium) หรือเล่นฟรี แล้วจ่ายเงินไปกับของในเกมแทน จากรายงานสถิติของ เว็บไซต์ Statista.com มีเพียง 3% ของเกมมือถือทั้งหมดที่เปิดให้ดาวน์โหลดกันบน Google Play Store เท่านั้นที่ต้องเสียตังค์ก่อนถึงจะได้เล่น Apple App Store ก็เช่นกัน

เกมมือถือประเภทเสียเงิน ขายได้ไม่ดีเท่าไหร่ (Paid mobile games not selling well)

ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ โมเดลธุรกิจแบบ Freemium นั้น ไม่เหมาะกับเกมที่ใช้ต้นทุนสูงและอยู่ในระดับเกมคอนโซล เพราะมีความเสี่ยงมากเกินไปสำหรับนักพัฒนาทั้งในส่วนของเวลาที่ต้องใช้ และเงินที่ต้องลงทุนเพื่อสร้างเกมมือถือระดับไฮเอนด์ขึ้นมาสักเกม เพื่อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีคนมาจ่ายเงินให้ในอนาคตหลังจากที่เล่นฟรีไปแล้ว...

2. อัลกอริธึมของแอปสโตร์ มักเอาใจพวกฮิตติดชาร์ต มากกว่า
(App Store algorithms tend to favor chart-topping hits)

จากสถิติของเว็บไซต์ Statista.com เผยว่า มีแอปฯ อยู่บน Apple App Store ทั้งหมดราว 2 ล้านแอปฯ มี 11 - 13.5% เป็นเกม และบน Google Play Store อีก 2.7 ล้านแอปฯ ที่มี 477,877 แอปเป็นเกมเช่นกัน (ข้อมูลอ้างอิงเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021))

นั่นหมายความว่า ถ้าคุณเป็นนักพัฒนาเกมแล้ว โดยเฉพาะนักพัฒนาหน้าใหม่ มีโอกาสที่เกมของคุณจะประสบความสำเร็จในอัตราที่ต่ำมาก ลืมเรื่องการได้ออกมาเชิดหน้าชูตาเหนือแอปฯ อื่น ๆ ไปได้เลย เพราะนั่นจะนับเป็นปาฏิหาริย์มาก ๆ ถ้าเกิดว่าคุณถูกค้นพบโดยผู้เล่นแล้วมีคนถามมาถูกใจ ดาวน์โหลด จนดันขึ้นหน้าแนะนำได้ และบรรดาแอปสโตร์ก็ช่วยบรรดานักพัฒนาหน้าใหม่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อัลกอริธึมของแอปสโตร์ มักเอาใจพวกฮิตติดชาร์ต มากกว่า (App Store algorithms tend to favor chart-topping hits)
เครดิตภาพ : https://www.apple.com/lae/itunes/working-itunes/sell-content/apps/

เมื่อคุณค้นหาแอปฯ คนส่วนใหญ่จะเลือกเล่นเกมจากลิสต์ที่มีคนจัดอันดับไว้ให้ และเพราะเหตุนี้ เลยทำให้แอปฯ ไหนที่เป็นที่นิยมอยู่แล้ว ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีก ส่วนบรรดาที่เป็นผู้แพ้ทั้งหลาย ก็เป็นผู้แพ้อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ทำให้บรรดานักพัฒนาหน้าใหม่ หมดกำลังใจที่จะแบกรับความเสี่ยงเรื่องการพัฒนาแอปมือถือให้ดีขึ้นไปโดยปริยาย

3. ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคได้น้อย
​​​​​​​(Low consumer expectations)

ในบางมุมมอง เหล่าผู้ใช้งาน หรือเหล่าผู้เล่น ก็ถือว่ามีส่วนที่จะต้องรับผิดชอบกับชื่อเสียงของเกมมือถือด้วยเหมือนกันที่ทำให้ภาพลักษณ์ของเกมมือถือไม่ดี เว้นเสียแต่ว่าคุณจะไม่เคยเป็นหนึ่งในผู้ที่สิงสถิตอยู่ในคอมมูนิตี้เกมมือถือมาก่อน เพราะอย่างที่ทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่า คนทั่วไปมักวิจารณ์เกมมือถือว่า "ไม่ได้เป็นเกมอย่างแท้จริง" เพราะเหตุผลที่มันถูกเพิกเฉยได้ง่าย (แค่วางมือถือลงแล้วไปทำอะไรอย่างอื่นก็ได้แล้ว) ดังนั้น เหล่าเกมเมอร์ก็เลยไม่เคยคาดหวังว่าเกมมือถือมันจะต้องออกมาดี ก็เลยไม่เซอร์ไพรส์เท่าไหร่ถ้าเกิดว่าเกมมันจะออกมาแย่ (ไม่คาดหวังก็ไม่ผิดหวัง)

ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคได้น้อย ​​​​​​​(Low consumer expectations)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/person-playing-sudoku-game-smartphone_17660416.htm#query=playing%20mobile%20game&position=17&from_view=search

ปัจจุบัน เกมมือถือถูกมองว่าเป็นแหล่งความบันเทิงเสริม ที่คุณสามารถหันไปทำอะไรอย่างอื่นแทนการเล่นเกมมือถือได้ทุกเมื่อ ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้ว ผู้ใช้ก็เลยมักจะไม่ได้บ่นอะไรกันเท่าไหร่ถ้าเกมจะออกมาแย่ (เมื่อเปรียบเทียบกับเกมคอนโซลหรือเกม PC) ในอีกแง่หนึ่งก็คือ เพราะเหตุผลดังกล่าว ก็เลยทำให้ไม่มีกลไกที่ทำให้ผู้ใช้หันมาให้ฟีดแบคกับมันอย่างจริงจัง ถ้าไม่ชอบหรือไม่อยากเล่นอีกต่อไปแล้ว แค่ลบเกมลบแอปฯ ทิ้งไปก็แค่นั้น ไม่ได้รู้สึกผิดหวังอะไรมากมาย

4. การบังคับด้วยทัชสกรีนที่ไม่ดีพอ
​​​​​​​(Poor touchscreen controls)

ถ้าคุณไม่ได้ซื้อมือถือแบบ ที่ออกแบบมาสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ (Gaming Phone) ชนิดที่ว่ามีปุ่มเสริมมาสำหรับเล่นเกม หรือมี Joy Controller Extension แถมมาให้ สมาร์ทโฟนทั่วไปย่อมเทียบไม่ได้กับการเล่นกับคอนโทรลเลอร์โดยตรงอยู่แล้ว เพราะการบังคับทุกอย่างที่เป็นไปภายในเกม ถูกจำกัดไว้เพียงแค่พื้นที่หน้าจอมือถือของคุณเท่านั้น

การบังคับด้วยทัชสกรีนที่ไม่ดีพอ ​​​​​​​(Poor touchscreen controls)
เครดิตภาพ : https://www.makeuseof.com/why-mobile-gaming-sucks/

ด้วยความจำกัดในด้านการบังคับนี้ จึงทำให้การควบคุมมักจบลงที่การที่นิ้วเราเบียดบังมุมมองหน้าจอ และลดคุณภาพในการเล่นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้บรรดาผู้พัฒนา มักต้องคิดค้นหาทางให้เกมของตัวเองสามารถควบคุมได้ง่าย และลดความยุ่งยากในการต้องไปยุ่งกับหน้าจอให้มากที่สุดไปโดยปริยาย

5. ไม่มีพื้นที่พอสำหรับเกม
(Not enough space for games)

เมื่อเทียบกับเกมคอนโซล ที่มีพื้นที่ไว้เก็บเกมเป็นหลักแล้ว (ไม่นับคนที่ซื้อคอนโซลมาดูหนังนะ) สมาร์ทโฟนนั้นไม่ได้มีพื้นที่ไว้เก็บเพียงแค่เกมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีพื้นที่ไว้สำหรับรูปภาพ, วิดีโอ, เพลง, หนัง, เอกสาร, แอปพลิเคชันอื่น ๆ อีกเพียบ ดังนั้น พื้นที่จัดเก็บจึงมักเป็นปัญหาอยู่เสมอ ทำให้เราเห็นว่า ปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่เขยิบรุ่นพื้นที่ไปจนถึง 1 TB. แล้วก็มี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้น

ไม่มีพื้นที่พอสำหรับเกม (Not enough space for games)
เครดิตภาพ : https://support.apple.com/en-ae/HT203097

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงราคาที่สูงขึ้นตาม และมือถือที่จะได้เปรียบในเรื่องนี้ก็คือบรรดารุ่นเรือธงทั้งหลาย เมื่อมือถือส่วนใหญ่ไม่ใช่รุ่นเรือธง มักจะเป็นรุ่นบัดเจ็ตหรือสเปกกลาง ๆ เอาใจตลาดโดยรวมมากกว่า ปัญหาเรื่องพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลีกเลี่ยงไม่ได้

6. ไม่มีแพลตฟอร์มที่มีมาตรฐานเพียงพอ
(Lack of standardized platforms)

ไม่เหมือนกับเครื่องคอนโซลอย่าง Playstation และ Xbox ที่มีรุ่นและความจุที่ตายตัว เพราะบรรดาสมาร์ทโฟนนั้นมีความหลากหลายมากทั้งรุ่น ขนาด รูปร่าง และการตั้งค่าเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดามือถือ Android เพราะ iPhone ถึงแม้จะมีหลายรุ่น แต่ถ้านับรวมมือถือแอนดรอยด์ (Android Phone) ทั้งตลาด อย่างไรก็เทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว ทำให้การพัฒนาแอปฯ ลง iPhone นั้นง่ายกว่ามาก นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำให้นักพัฒนาถึงเลือกที่จะพัฒนาแอปฯ ลง iOS ก่อน Android

ข้อมูลเพิ่มเติม : ทำไมผู้พัฒนาแอปพลิเคชันส่วนมาก ถึงมักเลือกเปิดตัวแอปฯ ลง iOS ก่อน Android ?

และเพราะเหตุนี้ เลยทำให้เหลือตัวเลือกแค่สองตัว ระหว่างทำเกมง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดและเข้าถึงได้ง่าย หรือสร้างเกมดี ๆ สักเกมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้โหลดมาเล่นกัน ซึ่งก็อย่างที่ทุกคนพอคาดเดาได้ ว่าตัวเลือกแรกมักได้คะแนนเสียงในที่ประชุมเพื่อพัฒนาเกมมือถือเป็นส่วนใหญ่


ที่มา : www.makeuseof.com , www.statista.com

0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88+%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%88+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F+%28Why+mobile+games+are+so+bad+rather+than+good+%3F%29
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น